จากรายงานของแมคคินซีย์ด้านการชำระเงินในปี 2563 พบว่าการดีสรัพท์ตลาดกำลังเพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมการเงินระดับโลกและมีมูลค่าถึงหนึ่งล้านล้านเหรียญสหรัฐ ความต้องการสำหรับผลิตภัณฑ์และบริการที่ดีขึ้นรวมทั้งระบบดิจิทัลที่มีมากขึ้นจึงทำให้ภาคส่วนธนาคารเกิดภาวะกดดันมากยิ่งขึ้น ทำให้องค์กรระหว่างประเทศร่วมมือกันปรับปรุงมาตรฐานสากลเพื่อใช้ในการกำกับดูแลตลาดการเงินของโลก
ต่อไปนี้เป็นมาตรฐาน 5 ฉบับที่เน้นเรื่องระบบการเงินระดับโลกและสนับสนุนการเปลี่ยนโฉมอุตสาหกรรมของโลกไปสู่ระบบใหม่เช่นระบบดิจิทัล
1. การรับส่งข้อความทางการเงิน (Financial Messaging)
มาตรฐาน ISO 20022, Financial services – Universal financial industry message scheme ได้รับการเผยแพร่ครั้งแรกเมื่อปี 2547 (ค.ศ.2004) และได้รับการยอมรับว่าเป็นมาตรฐานแห่งอนาคต
มาตรฐานนี้เป็นตัวแทนของความเห็นพ้องต้องกันในระดับสากลสำหรับวิธีที่การส่งข้อความทางการเงินซึ่งมีการทำเป็นโครงสร้างไว้เพื่อเป็นเครื่องมือของการเปลี่ยนแปลงระบบทางการเงินของโลกซึ่งแน้นเทคโนโลยีว่าเป็นแพล็ตฟอร์มการจ่ายเงินในทันที โดยประกอบด้วย 8 เรื่องในด้านการสร้าง XML (ภาษาสำหรับอธิบายข้อมูลไปพร้อมๆ กับการเก็บข้อมูล มีโครงสร้างคล้าย HTML) คุณลักษณะของการส่งข้อความและการลงทะเบียน
2. หมายเลขบัญชีธนาคารสากล (International Bank Account Number: IBAN)
IBAN เป็นเลขที่บัญชีของผู้รับเงินในรูปแบบมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลซึ่งใช้ร่วมกับรหัสตัวบ่งชี้ของ BIC (Bank Identifier Code) เพื่อใช้ในการชำระเงินระหว่างประเทศที่ดำเนินการโดยอัตโนมัติด้วยความรวดเร็วและปลอดภัย
IBAN เกิดขึ้นจากมาตรฐาน ISO 13616, Financial services – International Bank Account Number (IBAN) ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลที่ระบุทุกสิ่งที่จำเป็นเพื่ออำนวยความสะดวกในการผ่านกระบวนการข้อมูลของการแลกเปลี่ยนข้อมูลทั้งในสภาพแวดล้อมทางการเงินและในอุตสาหกรรมอื่นๆ หรือเรียกว่าเป็นรหัสสำหรับการแสดงชื่อประเทศและเขตปกครองนั่นเอง
3. โค้ดที่ใช้ในการโอนเงินข้ามประเทศ หรือ Swift Code (Business Identifier Codes)
Swift Code เป็นมาตรฐานขององค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) คือ มาตรฐาน ISO 9362, Banking telecommunication messages – Business identifier code (BIC) ซึ่งว่าด้วยรหัสที่ใช้สำหรับระบุธนาคาร และสาขาของธนาคารทั่วโลก หรือ BIC (Bank Identifier Code) เพื่อใช้ในการโอนเงินระหว่างธนาคาร โดยเฉพาะระหว่างประเทศ เพื่อความสะดวกรวดเร็ว และเมื่อปี 2552 (ค.ศ.2009) ได้มีการเปลี่ยนจากคำว่า Bank เป็น Business เพื่อให้ครอบคลุมสถาบันทางการเงินและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
สาเหตุที่เรียกรหัสของมาตรฐานนี้ว่า BIC code หรือ Swift Code เนื่องจากองค์กรที่มีชื่อว่า SWIFT (Society for Worldwide Interbank Financial Telecommunication) เป็นผู้รับผิดชอบในการลงทะเบียนรหัส ปัจจุบันมีสถาบันการเงินมากกว่า 8,100 แห่งใน 208 ประเทศและดินแดนที่ลงทะเบียนกับ SWIFT โดยมีการแลกเปลี่ยนข้อความต่อวันโดยเฉลี่ยมากกว่า 32 ล้านข้อความเมื่อปี 2558 (ค.ศ.2015) ดังนั้น จึงมีการใช้คำ 2 คำนี้แทนกันได้ คือ BIC และ Swift
4. รหัสการระบุตลาด หรือ MIC (Market Identification Codes)
การค้าตลาดหลักทรัพย์อย่างแนสแด็กซึ่งเป็นตลาดหลักทรัพย์ที่มีชื่อเสียงของสหรัฐอเมริกาและเป็นตลาดแห่งแรกที่ซื้อขายด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ สามารถเกิดขึ้นได้ก็ด้วยมาตรฐาน ISO 10383, Securities and related financial instruments – Codes for exchanges and market identification (MIC) ซึ่งเป็นรหัสที่ได้รับการยอมรับจากโลกการเงินอย่างกว้างขวาง รวมทั้งในรูปแบบของ FIX ซึ่งเป็นรูปแบบการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบเรียลไทม์ที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมด้านความมั่นคงปลอดภัยและตลาด
มาตรฐานนี้ระบุวิธีการสากลในการระบุการแลกเปลี่ยน แพล็ตฟอร์มทางการค้า ตลาดที่ไม่มีการออกกฎระเบียบและตลาดที่มีการออกกฎระเบียบและการอำนวยความสะดวกในการรายงานทางการค้าซึ่งเป็นแหล่งของข้อมูลด้านราคาและข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่ออำนวยความสะดวกในกระบวนการอัตโนมัติ
5. การรับส่งข้อความที่ใช้ในการทำธุรกรรม (Messaging in Securities)
ก่อนที่จะมีเรื่องของการมาตรฐาน การรับส่งข้อความที่ใช้ในการทำธุรกรรมระหว่างสถาบันทางการเงินเป็นเรื่องเฉพาะกิจและไม่มีอะไรที่เสมอต้นเสมอปลาย ทำให้เกิดความไม่มีประสิทธิภาพและความเสี่ยงที่จะเกิดข้อผิดพลาด
ดังนั้น ไอเอสโอจึงพัฒนามาตรฐาน ISO 15022, Securities – Scheme for messages (Data Field Dictionary) ขึ้นมา 2 ส่วน ทำให้ผู้ใช้งานมีหลักการที่จำเป็นในการเตรียมการของชุมชนต่างๆ และมีเครื่องมือสำหรับการออกแบบประเภทของข้อความเพื่อสนับสนุนการไหลเวียนของข้อมูลเฉพาะ ทำให้มีประสิทธิผลมากขึ้น มีความชัดเจนมากขึ้น และลดความเสี่ยงลง
มาตรฐาน 2 ส่วนนี้ครอบคลุมกฎและแนวทางการออกแบบข้อความรวมทั้งการดูแลรักษาข้อความและข้อมูลดังกล่าว มาตรฐานนี้มีการปรับปรุงให้ทันสมัยโดยเน้นไปที่การปรับปรุงความสามารถของกระบวนการอย่างตรงไปตรงมาและลดเวลาที่ใช้ในการส่งมอบข้อความประเภทต่างๆ ไปยังตลาดการเงิน
มาตรฐานการชำระเงิน 5 เรื่องดังกล่าว ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างยอมรับถึงความสำคัญว่ามาตรฐานการชำระเงินสากลนี้มีส่วนสำคัญในการทำให้โลกการเงินและธุรกิจต่างๆ สามารถดำเนินงานต่อไปได้ด้วยความรวดเร็ว ปลอดภัย สะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ที่มา:
1. https://www.iso.org/news/ref2483.html
4. https://www.programmerthailand.com/blog/view/14/dashboard-upload.html
Related posts
Tags: standard, Standardization, Technology
Recent Comments