วันที่ 8 มีนาคม ตรงกับวันสตรีสากล แต่เดิมเรียกกันว่าวันสตรีแรงงานสากลเนื่องจากเป็นวันที่กรรมกรสตรีโรงงานทอผ้าในประเทศสหรัฐอเมริกาได้ลุกขึ้นมาเดินขบวนประท้วงนายจ้างที่เอาเปรียบและให้ความสำคัญกับผลผลิตมากกว่าชีวิตคนเมื่อ 380 ปีที่แล้ว (พ.ศ 2400 หรือ ค.ศ.1857) ต่อมามีการประท้วงเช่นเดียวกันในปี 2450 (ค.ศ.1907) และปี 2451 (ค.ศ.1908) ในวันที่ 8 มีนาคมเช่นกัน และในปี 1910 ในวันเดียวกันนั้นเอง มีตัวแทนสตรีจาก 17 ประเทศได้เข้าร่วมประชุมสมัชชาสตรีสังคมนิยมครั้งที่ 2 องค์การสหประชาชาติ จึงประกาศให้วันที่ 8 มีนาคมของทุกปีเป็นวันสตรีสากล
ในปีนี้ มีการเฉลิมฉลองผู้นำสตรีและเด็กผู้หญิงภายใต้หัวข้อหลักขององค์การสหประชาชาติ คือ “I am Generation Equality: Realizing Women’s Rights” (ฉันคือคนในยุคที่มีความเท่าเทียมกันซึ่งตระหนักถึงสิทธิของสตรี) อันเป็นการเรียกร้องให้ทุกคนผลักดันเพื่อก้าวไปสู่ความเท่าเทียมกันทางเพศอย่างสมบูรณ์ และไอเอสโอกำลังช่วยให้วาระนี้มีความก้าวหน้าด้วยโครงการจำนวนมากที่ส่งเสริมเรื่องของความเท่าเทียมกันดังกล่าว
ปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับความเท่าเทียมกันทางเพศของไอเอสโอเริ่มขึ้นเมื่อปี 2562 (ค.ศ.2019) โดยมีการวางเค้าโครงของความสำคัญไว้ในหัวข้อดังต่อไปนี้ตามลำดับความสำคัญโดยเริ่มจากการรวบรวมข้อมูล การสร้างเครือข่ายเพื่อแบ่งปันวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด การยกระดับความตระหนักเรื่องมาตรฐานเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมกันทางเพศ และการส่งเสริมให้ผู้หญิงมีสิทธิมีเสียงหรือมีพลังในสังคม
เลขาธิการไอเอสโอได้อธิบายว่า ที่องค์กรของไอเอสโอเองมีความตระหนักว่ามาตรฐานสากลเป็นเครื่องมือในการลดความไม่เท่าเทียมกันซึ่งมีการสร้างความยั่งยืนให้มากขึ้นและกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจแบบมีส่วนร่วม และทั้งหมดนี้มีส่วนสำคัญในการมีส่วนร่วมของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนในข้อ 5 เรื่องความเท่าเทียมกันทางเพศ (Gender Equality)
การส่งเสริมพลังให้กับผู้หญิงเพื่อให้มีความเท่าเทียมกันทางเพศเป็นหัวใจสำคัญประการหนึ่งในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมีความพยายามในหลายๆ ทางในองค์กรของไอเอสโอที่จะสนับสนุนโครงการปฏิบัติการต่างๆ เพื่อผู้หญิง ซึ่งในเร็วๆ นี้ จะมีการประชุมข้อตกลงปฏิบัติการสากลที่เรียกว่า International Workshop Agreement (IWA)
IWA มีเป้าหมายที่จะเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงของสาธารณชนและโอกาสในการจัดซื้อทั้งภาครัฐและภาคเอกชนสำหรับเจ้าของธุรกิจที่เป็นผู้หญิงและมีโครงการจูงใจต่างๆ รวมถึงการลดค่าใช้จ่ายด้านการรับรองให้กับโครงการสำหรับซัพพลายเออร์ ซึ่งผู้จัดงานก็คือ SIS สถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศสวีเดน ร่วมกับศูนย์กลางการค้าระหว่างประเทศ (International Trade Centre: ITC)
สังคมของเรากว่าจะก้าวมาถึงจุดที่ผู้หญิงได้รับการยอมรับมากขึ้นเช่นนี้ ได้ใช้เวลาไปหลายร้อยปีจนกระทั่งมีวันสตรีสากล แต่เมื่อมองไปข้างหน้า ก็ยังคงมีสิ่งกีดขวางที่จำเป็นต้องก้าวข้ามไปให้ได้
การส่งเสริมบทบาทให้กับผู้หญิงในงานด้านการมาตรฐานหมายความว่ามีการเน้นความจำเป็นเฉพาะสำหรับผู้หญิงและเด็กซึ่งในทางกลับกันจะช่วยพัฒนาการตอบสนองเรื่องของความเท่าเทียมกันทางเพศและมาตรฐานแบบมีส่วนร่วมสำหรับทุกคน และในที่สุดแล้ว การเน้นความรับผิดชอบที่เกี่ยวข้องกับความเท่าเทียมกันทางเพศจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงโลกขึ้นมาใหม่อย่างเท่าเทียมกันทั้งหมด
ผู้สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องโครงการที่เกี่ยวข้องกับความเท่าเทียมกันเรื่องเพศของไอเอส สามารถติดตามได้ที่Twitter, Facebook และ LinkedIn และร่วมบทสนทนาโดยติดแฮชแท็ก #ISOGenderAction
ที่มา: 1. https://www.iso.org/news/ref2484.html
2. https://www.thaiwomen.or.th/th/knowledge_women_inter
Related posts
Tags: ISO, Social, Standardization
ความเห็นล่าสุด