ท่ามกลางสถานการณ์ที่ทั่วโลกกำลังพยายามควบคุมโรคระบาดไวรัสโคโรนาไม่ให้แพร่กระจายในวงกว้าง ปรากฎว่าสิ่งที่เกิดขึ้นคือผลกระทบต่อสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมทั้งในด้านบวกและด้านลบ ซึ่งในด้านสิ่งแวดล้อมนั้น MASCIInnoversity เคยนำเสนอไปแล้วในบทความเรื่อง “ภาวะโลกร้อนกับไวรัสโคโรนา” ซึ่งกล่าวถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่ทำให้โรงงานอุตสาหกรรมทั่วโลกและอุตสาหกรรมการบินรวมถึงโลจิสติกส์ปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลง อย่างไรก็ตาม ผลกระทบของโรคระบาดนี้ยังย้อนกลับมาสู่โลกของเราในเรื่องของมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมที่เราคาดไม่ถึงอีกด้วย
เมื่อไม่นานมานี้ ก่อนเกิดภาวะโรคระบาดไวรัสโคโรนาในสหรัฐอเมริกา มีการประชุมประจำปี HealthPack 2020 ซึ่งเป็นการประชุมด้านความยั่งยืนของอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ที่เมืองชาร์ลอต ในมลรัฐนอร์ธแคโรไลนา เมื่อวันที่ 10 – 21 มีนาคม 2563
ในที่ประชุมดังกล่าวได้ให้ความสำคัญกับความสามารถในการดำเนินการอย่างยั่งยืนของอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ แต่ก็มีข้อจำกัดมากมายในการดำเนินการ เช่น ความท้าทายในด้านการควบคุมวัสดุรีไซเคิลเกี่ยวกับการสอบกลับถึงที่มาของบรรจุภัณฑ์ ความมั่นใจในด้านความเข้ากันได้ทางชีวภาพของบรรจุภัณฑ์ การขาดโครงสร้างสำหรับวัสดุบรรจุภัณฑ์ทางการแพทย์ถึงแม้ว่าบางแห่งได้ก้าวล้ำไปถึงเรื่องของวัสดุรีไซเคิลพร้อมใช้และมีน้ำหนักเบาแล้วก็ตาม
ในด้านการแข่งขันจากการทำและการตลาดของบรรจุภัณฑ์รีไซเคิลทางการแพทย์นั้น ดูเหมือนว่าจะมีความท้าทายในยุโรปมากกว่าสหรัฐอเมริกา เช่น ที่ Healthcare Plastics Recycling Council (HPRC) ได้นำโครงการพัฒนากลยุทธ์การปรับเปลี่ยนของเสียในโรงพยาบาลมาใช้ แต่พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งก็ยังคงมีบทบาทหลักในทางการแพทย์อยู่ดี และจากการคำนวณของเสียจากผลิตภัณฑ์พลาสติกและบรรจุภัณฑ์ในสหรัฐอเมริกา ส่วนใหญ่นำไปฝังกลบและเผา ในการประชุมดังกล่าวระบุว่า 85% ของของเสียจากโรงพยาบาลเป็นขยะไม่อันตราย หมายความว่าไม่มีการปนเปื้อนและไม่มีปัญหาจากการสัมผัสผู้ป่วย และหน่วยงาน HPRC ก็รับรู้ว่ามีความท้าทายที่มีนัยสำคัญเข้ามาเกี่ยวข้องคือต้องกระตุ้นให้ผู้ผลิตพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการออกแบบพลาสติกรีไซเคิลที่ใช้ทางการแพทย์ตั้งแต่เริ่มต้นออกแบบด้วย แต่เมื่อเกิดภาวะโรคระบาดไวรัสโคโรนาในสหรัฐอเมริกา ก็ยังคงเป็นแนวคิดที่สามารถนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมยิ่งขึ้นในสถานการณ์ปัจจุบันได้ อย่างไรก็ตาม คนส่วนใหญ่ไม่ได้คาดคิดมาก่อนว่าจะต้องเผชิญกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมตามมาในอีกด้านหนึ่งอย่างเห็นได้ชัด
จากสถานการณ์การแพร่หลายของโรคระบาดไวรัสโคโรนาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากขยะที่เพิ่มขึ้นจากการบริโภคสินค้าแล้ว ยังพบว่าในโรงพยาบาลในประเทศต่างๆ มีขยะทางการแพทย์เพิ่มขึ้นอย่างมากมาย จากวารสารเดอะเวิร์จซึ่งเป็นวารสารข่าวออนไลน์ด้านเทคโนโลยีของสหรัฐอเมริกา ระบุว่าที่เมืองอูฮั่นซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของไวรัสโคโรนา ไม่เพียงแต่จะต้องสร้างโรงพยาบาลขึ้นมาใหม่เพื่อรองรับผู้ป่วยเท่านั้น แต่ยังต้องสร้างโรงงานที่ใช้จัดการของเสียทางการแพทย์ขึ้นมาใหม่ด้วย โดยพบว่าขยะจากโรงพยาบาลมีปริมาณเพิ่มขึ้นถึง 6 เท่าก่อนที่จะเกิดวิกฤตโรคระบาดดังกล่าว โดยในแต่ละวัน มีขยะทางการแพทย์ถึง 240 เมตริกตันซึ่งเทียบเท่ากับน้ำหนักของปลาวาฬสีน้ำเงินตัวหนึ่งเลยทีเดียว
การสำรวจขยะจากอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลในสหรัฐอเมริกาของบริษัท สเตอรีไซเคิล ซึ่งมีการจัดการกับขยะทางการแพทย์ทั่วโลกราว 1.8 พันล้านปอนด์เมื่อปี 2561 (ค.ศ.2018) พบว่าขยะทางการแพทย์มีปริมาณเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยและพบว่าขยะจากโรงพยาบาลก็มีขยะบางประเภทก็ไม่ถือว่าเป็นขยะทางการแพทย์ด้วย เช่น เศษอาหารต่างๆ ซึ่งปัจจุบันนี้จำเป็นต้องจัดการอย่างระมัดระวังมากขึ้นหลังจากสัมผัสกับผู้ป่วย Covid-19 หรือไวรัสโคโรนา
ศูนย์ควบคุมโรคของสหรัฐอเมริกากล่าวว่า โดยทั่วไป วิธีการกำจัดขยะทางการแพทย์จาก Covid-19 ว่าสามารถทำได้เช่นเดียวกับการกำจัดขยะทางการแพทย์ปกติ กฎระเบียบก็แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่นและรัฐเป็นผู้ควบคุมทั้งในด้านการดูแลสุขภาพและการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
ทั่วโลกจะจัดการกับขยะทางการแพทย์อย่างไร แล้วโลกของเราจะพลิกวิกฤตโรคระบาดให้กลายเป็นโอกาสในการก้าวข้ามปัญหาต่างๆ ไปสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้อย่างไร โปรดติดตามได้ในตอนต่อไปค่ะ
2. https://www.environmentalleader.com/2020/03/healthcare-packaging-struggle/
Related posts
Tags: Environmental Management, Healthcare Equipment & Services, Sustainability Management
ความเห็นล่าสุด