• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    15,990 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    15,135 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,512 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,358 view(s)
  • ISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืนISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืน
    10,208 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction IEC Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure UN water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | — เมษายน 24, 2020 8:00 am
มาตรฐานไอเอสโอกับวันอนามัยโลก
Posted by Phunphen Waicharern with 1931 reads
0
  

world-health-day2020องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ได้กำหนดให้วันที่ 7 เมษายนของทุกปี เป็นวันอนามัยโลก (World Health Day) เพื่อรณรงค์ให้พลเมืองโลกและภาคีเครือข่ายตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพ และได้รับการส่งเสริมด้านสุขภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ซึ่งในปี 2563 นี้ องค์การอนามัยโลกได้กำหนดให้ปี 2563 เป็นปีแห่ง “การสนับสนุนพยาบาลและผดุงครรภ์” (Support Nurses and Midwives)

จากเหตุการณ์ปกติทั่วไป นอกเหนือจากแพทย์แล้ว พยาบาลและผดุงครรภ์เป็นบุคลากรอีกกลุ่มหนึ่งที่ทำงานด้านสาธารณสุขอยู่ในแนวหน้าในการดูแลผู้ป่วย ไม่ใช่แค่ช่วงที่เกิดโรคระบาดอย่างไวรัสโคโรนา หรือ Covid-19 เท่านั้น ผู้ป่วยยังต้องการบริการทางการแพทย์ในด้านอื่นรวมทั้งหญิงตั้งครรภ์ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลสุขภาพและการดูแลครรภ์ก่อนและหลังคลอด และการที่บุคลากรเหล่านี้จะทำงานได้อย่างเต็มศักยภาพ จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนเพื่อให้การทำงานครอบคลุมถึงการสาธารณสุขระดับสากล

ไอเอสโอมีมาตรฐานสากลที่จะช่วยสนับสนุนแนวคิดขององค์การอนามัยโลกในการให้การศึกษาพยาบาลและผดุงครรภ์ผ่านทางมาตรฐานสากลซึ่งเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องทำและจะส่งผลในเชิงเศรษฐกิจด้วย

การที่พยาบาลและผดุงครรภ์สามารถทำงานจะงานได้อย่างเต็มศักยภาพนั้น จำเป็นต้องมีการปรับปรุงเรื่องสาธารณสุข การส่งเสริมความเท่าเทียมกันทางเพศ และการสนับสนุนความแข็งแกร่งทางการเงินของเศรษฐกิจ

ในขณะที่เราเฉลิมฉลองวันอนามัยโลกด้วยเป้าหมายที่มีอยู่ในใจนั้น ไอเอสโอเพิ่งอนุมัติโครงการพัฒนาข้อกำหนดการประชุมเชิงปฏิบัติการสากล (International Workshop Agreement: IWA) ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อปรับปรุงคุณภาพของสภาพแวดล้อมด้านการเรียนรู้ทางคลินิก

IWA ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้คือ IWA 35, Quality of clinical learning environments for healthcare professionals – Requirements ทั้งนี้ เพื่อเสนอแนวทางสากลในการทำให้มั่นใจในด้านสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ด้านคลินิกสำหรับผู้ที่กำลังฝึกฝนปฏิบัติงานด้านการดูแลสุขภาพทั่วโลก รวมทั้งพยาบาลและผดุงครรภ์

แซลลี่ สวินจ์วูด ผู้ประสานงานของกลุ่มงานไอเอสโอที่พัฒนาเอกสารดังกล่าวระบุว่างานด้านพยาบาลและผดุงครรภ์นับเป็นจำนวนครึ่งหนึ่งของแรงงานด้านการดูแลสุขภาพในหลายประเทศ ซึ่งเมื่อประกอบกับการขาดแคลนมืออาชีพด้านการดูแลสุขภาพก็หมายความว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีบุคลากรที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับประสบการณ์ด้านคลินิกซึ่งต้องมีอุปกรณ์ที่ดีเพื่อปรับใช้ตามความต้องการของคนไข้ที่มีอยู่หลากหลายอย่างกว้างขวาง

แซลลี่ สวินจ์วูด ได้ทำการปรับปรุงการฝึกฝนด้านการจัดให้มีการศึกษาเกี่ยวกับการพยาบาล แต่การอพยพเคลื่อนย้ายที่เพิ่มมากขึ้นทำให้มีความต้องการบุคลากรมืออาชีพด้านการดูแลสุขภาพมากขึ้นในวงกว้าง

ไอเอสโอยังได้พัฒนามาตรฐานอีกฉบับหนึ่งที่มีเป้าหมายในการสนับสนุนพยาบาลและผดุงครรภ์ระดับบริหารด้วย ได้แก่ มาตรฐาน ISO 22956, Healthcare organization management – Guidelines for patient-centered staffing ซึ่งมีเป้าหมายในการช่วยให้องค์กรด้านการดูแลสุขภาพมีการพิจารณาที่ดีที่สุดและเตรียมการด้านความสามารถของผู้ปฏิบัติงานด้านนี้รวมทั้งทรัพยากรที่จำเป็นซึ่งเกี่ยวข้องกับความต้องการของคนไข้

ดร.เวอโรนิกา มัสควิส เอ็ดเวิร์ดส์ ประธานคณะกรรมการวิชาการไอเอสโอที่รับผิดชอบมาตรฐานดังกล่าวระบุว่า COVID-19 ได้รับการประกาศว่าเป็นโรคระบาดระดับโลกซึ่งทั่วโลกมีความชื่นชมบุคลากรที่เป็นพยาบาลและผดุงครรภ์ผู้ซึ่งอุทิศตนและเสียสละในการทำงานเพื่อส่วนรวมและให้ความสำคัญในการดูแลคนไข้ในช่วงเวลาของการเกิดโรคระบาดนี้

มาตรฐานนี้ยอมรับว่าพยาบาลและผดุงครรภ์จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนด้านต่างๆ รวมทั้งทรัพยากรอย่างเพียงพอเพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิผลซึ่งแนวทางที่ให้ความสำคัญกับคนไข้เป็นหลักนั้นจะมีส่งผลดีต่อการดูแลคนไข้อย่างมีคุณภาพด้วยความปลอดภัย

เมื่อ IWA และ ISO 22956 ได้รับการเผยแพร่แล้ว เอกสารทั้งสองฉบับนั้นจะมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมการดูแลสุขภาพร่วมกับมาตรฐานไอเอสโอฉบับอื่นต่อไป

มาตรฐาน ISO 22956 ได้รับการพัฒนาโดยคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 304, Healthcare organization management โดยมีเลขานุการคือ ANSI ซึ่งเป็นสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา

ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2499.html



Related posts

  • หนทางสร้างเมืองอัจฉริยะ ตอนที่ 2หนทางสร้างเมืองอัจฉริยะ ตอนที่ 2
  • จับตามอง 8 อาชีพในโลกอนาคตของสุขภาพดิจิตอลจับตามอง 8 อาชีพในโลกอนาคตของสุขภาพดิจิตอล
  • วันเอดส์โลกวันเอดส์โลก
  • ไอเอสโอหนุนท่องเที่ยว พัฒนามาตรฐานใหม่ ISO 22483ไอเอสโอหนุนท่องเที่ยว พัฒนามาตรฐานใหม่ ISO 22483
  • ประเทศจีนพัฒนามาตรฐาน “ศูนย์ดูแลผู้สูงวัย”ประเทศจีนพัฒนามาตรฐาน “ศูนย์ดูแลผู้สูงวัย”

Tags: Health, Healthcare Equipment & Services, Standardization

กดที่นี่เพื่อยกเลิกการตอบ

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

ความเห็นล่าสุด

  • Phunphen Waicharern บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak บน นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑