คนทั่วโลกต่างตระหนักรู้ถึงผลกระทบของโรคระบาด Covid-19 ซึ่งไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ ในขณะที่คนบางคนหรือมีความเสี่ยงมากกว่า แต่ชุมชนจะรู้ได้อย่างไรว่าคนๆ นั้นหรือคนกลุ่มนั้นได้รับผลกระทบมากกว่าและจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลืออย่างทันท่วงที
คนๆ นั้นหรือกลุ่มคนเหล่านั้นอาจได้รับผลกระทบจากสุขภาพทางกายหรือสุขภาพทางใจหรือจากสถานการณ์ทางสังคมซึ่งก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของวิกฤตที่เกิดขึ้น และทำให้คนเหล่านั้นต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะด้านอย่างทันท่วงที
ไอเอสโอได้พัฒนามาตรฐานขึ้นมาฉบับหนึ่งซึ่งช่วยให้ชุมชุนมีแนวทางที่มีความยืดหยุ่นและสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการวางแผนของอาสาสมัคร (ซึ่งช่วยเหลือชุมชนโดยไม่รับค่าตอบแทน) ในการให้ความช่วยเหลือชุมชนในเชิงของการตอบสนองและการฟื้นฟูอันตรายที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยมีการระบุประเด็นที่ทำให้มั่นใจว่ามีการจัดลำดับความสำคัญแผนงานที่อยู่บนพื้นฐานของความเสี่ยงสำหรับอาสาสมัครที่เข้ามาช่วยเหลือชุมชน และทำให้มั่นใจว่าจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
มาตรฐาน ISO 22395, Security and resilience – Community resilience – Guidelines for supporting vulnerable persons in an emergency เป็นมาตรฐานที่ตอบโจทย์ในเรื่องดังกล่าวซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับชุมชนซึ่งทำให้องค์กรที่เกี่ยวข้อง เช่น รัฐบาลท้องถิ่น กลุ่มของชุมชน มีแนวทางในการสนับสนุนกลุ่มคนที่เปราะบางหรือกลุ่มคนที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษในสถานการณ์ฉุกเฉิน
ที่มาของมาตรฐานนี้เกิดจากกลุ่มงานวิชาการของไอเอสโอ ISO/TC 292 Security and Resilience โดยการริเริ่มของโครงการรัฐบาลประเทศสหราชอาณาจักร ได้พบว่าชุมชนและพลเมืองในประเทศต้องการได้รับการปกป้องและมีแนวทางในการทำให้อาสาสมัครที่มาช่วยเหลือชุมชนโดยไม่รับค่าตอบแทนสามารถทำงานเพื่อตอบสนองเหตุฉุกเฉินได้ และประเทศอื่นๆ ก็มีประสบการณ์อันยากลำบากในการที่จะรู้ว่าควรทำอะไรเมื่อมีอาสาสมัครเสนอตัวเข้ามาช่วยเหลือในระหว่างที่เกิดภัยพิบัติในอดีต
สำหรับมาตรฐาน ISO 22395 การระบุกลุ่มคนที่เปราะบางและมีความเสี่ยงมากที่สุดเป็นความท้าทายหลักอย่างแรก การมีกลยุทธ์ที่เหมาะสมในเรื่องนี้จะทำให้รู้ว่าอะไรที่คนเหล่านั้นมีความจำเป็นและต้องมีการเตรียมพร้อมเพื่อช่วยเหลือพวกเขาอย่างแท้จริง ซึ่งรวมถึงข่าวสารต่างๆ ที่พวกเขาต้องการเพื่อลดระดับความกังวลใจและเพื่อให้สามารถรับความช่วยเหลือที่มีการยื่นข้อเสนอได้มากขึ้น
การช่วยกลุ่มคนที่เปราะบางหรือกลุ่มคนที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษอย่างมีประสิทธิผลนั้น สิ่งสำคัญที่สุดคือความสามารถในการมองเห็นสมรรถนะที่พวกเขามีอยู่ในปัจจุบันและพวกเขาสามารถช่วยเหลือตัวเองได้อย่างไร ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็จำเป็นเมื่อทรัพยากรถูกใช้ไปอย่างจำกัด
ในเวลาที่ยากลำบากเช่นนี้เอง ใครๆ ก็อยากให้อาสาสมัครเข้ามาช่วย แต่ชุมชนก็จำเป็นจะต้องมีความยืดหยุ่นและความมั่นคงปลอดภัยด้วย นอกเหนือจากเรื่องของทักษะหรือประสบการณ์ของอาสาสมัคร
แนวทางที่บรรจุไว้ในมาตรฐาน ISO 22319 Security and resilience – Community resilience – Guidelines for planning the involvement of spontaneous volunteers สามารถช่วยให้องค์กรที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือในการช่วยจัดการกระบวนการของการเคลื่อนไหวของอาสาสมัคร มีแนวทางในการวางแผนงานเพื่อชุมชนและทำให้กิจกรรมของอาสาสมัครมีการตอบสนองอย่างมีประสิทธิผล
การอยู่รวมกันอย่างเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันเป็นหัวใจสำคัญเพื่อความอยู่รอดในเวลาแห่งวิกฤตเช่นในปัจจุบัน และการที่ชุมชนมีการวางแผนที่ดีและมีความยืดหยุ่นก็จะช่วยสร้างชุมชนให้มีแนวทางสำหรับการวางแผนเพื่อให้อาสาสมัครเข้ามาช่วยชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังแนวทางที่ปรากฏในมาตรฐาน ISO 22319 นั่นเอง
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2503.html
Related posts
Tags: Community resilience, COVID-19, ISO, Management Strategy, Security and resilience, Standardization, Vulnerable persons
Recent Comments