ประเทศต่างๆ ทั่วโลกถือว่าผู้บริโภคเป็นหัวใจสำคัญของการบริการ การคำนึงถึงความต้องการของผู้บริโภคจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ใช้ในการพิจารณากำหนดมาตรฐาน ซึ่งปัจจุบันไอเอสโอได้พัฒนาแนวทางสากลสำหรับผู้พัฒนามาตรฐานเพื่อผู้บริโภคแล้ว
ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์เกือบทุกอย่างมีองค์ประกอบของงานบริการอยู่ด้วยและอุตสาหกรรมเกือบทุกประเภทก็เกี่ยวข้องกับงานบริการด้วย นับตั้งแต่เรื่องของสุขภาพไปจนถึงวันหยุดสุดสัปดาห์ และการทำขนมอบไปจนถึงงานก่อสร้าง บริการที่มีคุณภาพดีทำให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจและมีผลลัพธ์ทางธุรกิจที่ดีขึ้น ด้วยเหตุนี้ มาตรฐานสากลจึงเข้าไปเกี่ยวข้องมากขึ้น การเข้าใจถึงแก่นของมาตรฐานพร้อมทั้งความต้องการและความคาดหวังที่หลากหลายจึงจำเป็นต้องนำมาพิจารณาเพื่อประโยชน์ของผู้ใช้งานด้วย
มาตรฐาน ISO/IEC Guide 76, Development of service standards – Recommendations for addressing consumer issues เป็นมาตรฐานที่ช่วยให้ผู้พัฒนามาตรฐานพิจารณาถึงความจำเป็นของผู้บริโภคในมาตรฐานเพื่อภาคบริการ มาตรฐานนี้เพิ่งได้รับการปรับปรุง จึงแสดงให้เห็นถึงข้อมูลใหม่ เช่น หลักการของผู้บริโภคที่อยู่บนพื้นฐานของสิทธิผู้บริโภคขั้นพื้นฐานสากล 8 ประการ ได้แก่ สิทธิต่างๆ ดังต่อไปนี้ คือ สิทธิที่จะได้รับสินค้าและบริการที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากผลิตภัณฑ์และบริการ สิทธิที่จะได้รับการบอกกล่าวตามข้อเท็จจริงที่จำเป็นและได้รับการคุ้มครองจากการนำไปสู่ความเข้าใจผิดของฉลากและโฆษณา สิทธิที่จะเลือกซื้อสินค้าและบริการในราคาที่เป็นธรรม สิทธิที่จะเป็นตัวแทนผู้บริโภคและร่วมกำหนดหลักเกณฑ์ตามนโยบายรัฐบาล สิทธิที่จะได้รับการชดเชยในกรณีที่ได้รับสินค้าและบริการที่ไม่มีคุณภาพ สิทธิที่จะได้รับความรู้เกี่ยวกับสินค้าและบริการที่จำเป็นต้องรู้ และสิทธิที่จะใช้ชีวิตและทำงานในสิ่งแวดล้อมที่ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและเพื่อลูกหลานในอนาคต
อาร์โนลด์ พินดาร์ ผู้ประสานงานร่วมของกลุ่มงานที่พัฒนาแนวทางมาตรฐานดังกล่าวระบุว่าในขณะที่เกณฑ์ปฏิบัติหลายอย่างมีอยู่ในอุตสาหกรรมหลายประเภทในสาขาต่างๆ แต่ว่ามาตรฐานนั้นก็ไม่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาจากมุมมองของผู้บริโภค
การบริการผู้บริโภคเป็นสิ่งที่ทำให้มีส่วนสำคัญต่อตลาดโลก ดังนั้น ผลประโยชน์ของผู้บริโภคจึงเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนามาตรฐาน
มาตรฐาน ISO/IEC Guide 76 เป็นมาตรฐานที่ช่วยให้ผู้พัฒนามาตรฐานมีการพิจารณาถึงมุมมองและความต้องการของผู้บริโภค เช่น เด็ก ผู้พิการ คนที่มีชาติพันธุ์แตกต่างกัน และมรดกทางวัฒนธรรมในสถานการณ์ที่เปราะบางอันเนื่องมากจากสถานการณ์ส่วนบุคคล เป็นต้น ทั้งนี้ ด้วยการระบุหลักการหลักสำหรับผู้บริโภค
นอกจากนี้ มาตรฐานดังกล่าวยังให้แนวทางของกลุ่มองค์ประกอบร่วมที่ประยุกต์ใช้ได้กับบริการทุกประเภทในประเทศต่างๆ ซึ่งอาจมีความหลากหลายของกฏหมายที่เกี่ยวข้องับการปกป้องผู้บริโภค ซึ่งต้องใช้ร่วมกับข้อกำหนดที่มีการบังคับโดยเฉพาะ
ผู้สนใจสามารถศึกษาได้จากห้องสมุดสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) หรือสั่งซื้อจากเว็บไซต์ของไอเอสโอ ISO Store
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2493.html
Related posts
Tags: Consumer protection, Consumer services, ISO, Quality, Service standard, Standardization
ความเห็นล่าสุด