“วันมาตรวิทยาโลก” ได้เวียนมาบรรจบอีกครั้งเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563 ซึ่งครบรอบ 145 ปีของการลงนามในสนธิสัญญาเมตริกเมื่อปี 2418 (ค.ศ. 1875) สำหรับสนธิสัญญานี้เป็นพื้นฐานสำหรับระบบการวัดที่สอดคล้องกันทั่วโลก ทั้งทางวิทยาศาสตร์ นวัตกรรม อุตสาหกรรมการผลิตและการค้าระหว่างประเทศ การพัฒนาคุณภาพชีวิต และการดูแลสภาพแวดล้อมของโลก และเป็นวันที่ประชาคมมาตรวิทยาทั่วโลกร่วมกันเฉลิมฉลองงานประจำปีระหว่างสมาชิกกว่า 80 ประเทศ
“มาตรวิทยา” หรือศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการวัด ถือเป็นปัจจัยหลักของการค้าโลกเนื่องจากการวัดที่มีความสอดคล้องกลมกลืนกันหมายความว่าทุกคนที่เกี่ยวข้องสามารถพูดภาษาเดียวกันและรู้ว่ากำลังเจรจาด้วยความถูกต้องเป็นธรรม ดังนั้น หัวข้อการรณรงค์ในวันมาตรวิทยาโลกในปี 2563 นี้ จึงมีชื่อว่า “การวัดเพื่อการค้าโลก” (Measurement for Global Trade) เพื่อเน้นความสำคัญของการวัดในโลกการค้าที่เป็นธรรมและบทบาทในการเป็นผู้คนพบทางวิทยาศาสตร์ นวัตกรรม และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การผลิตและความสามารถในการดำเนินการอย่างยั่งยืน
มาตรฐานไอเอสโอมีบทบาทที่ช่วยส่งเสริมงานด้านมาตรวิทยาดังกล่าว โดยทั่วไปแล้ว วิธีการวัดสิ่งของในลักษณะที่เป็นไปในทางเดียวกัน มีความเห็นพ้องต้องกันในระดับระหว่างประเทศ ถือเป็นพื้นฐานสำหรับสังคมของเราซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อของหน่วย SI (System of Units) และมีการใช้กันอย่างกว้างขวางในวงการต่างๆ เช่น วิทยาศาสตร์ การศึกษา ธุรกิจอุตสาหกรรม และรัฐบาล เป็นต้น และมีการใช้กันตั้งแต่การขนส่งบรรจุภัณฑ์ เรือคอนเทนเนอร์ ไปจนถึงมิติของผลิตภัณฑ์เอง
SI ทำให้โลกสามารถดำเนินต่อไปได้เนื่องจาก SI เป็นวิธีการวัดสิ่งของที่สนับสนุนการประเมินความสอดคล้องซึ่งทำให้ไม่เพียงแต่มีโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพเท่านั้น แต่ยังทำให้เกิดความพึงพอใจทั้งในด้านของข้อกำหนดตามกฏหมายและความพึงพอใจของลูกค้าด้วย
ชุดมาตรฐาน ISO/IEC 80000 ได้รับการเผยแพร่โดยไอเอสโอและไออีซี (คณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐานสาขาอิเล็กทรอเทคนิกส์: IEC) มาตรฐานนี้เป็นองค์ประกอบหลักของระบบหน่วยวัด SI ซึ่งทำให้คำศัพท์ นิยาม และสัญลักษณ์เชิงปริมาณ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 12, Quantities and units เป็นผู้รับผิดชอบ และมีสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศสวีเดน (SIS) เป็นเลขานุการ
มาตรฐานดังกล่าวมีภาษาที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันสำหรับการสื่อสารข้อมูลการวัดที่แม่นยำระหว่างนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร และทุกคนที่เกี่ยวข้องกับสาขาการวัด
ศาสตราจารย์เลสลี เพนดริลล์ ประธานคณะกรรมการวิชาการไอเอสโอที่พัฒนามาตรฐานกล่าวว่าชุดมาตรฐาน ISO/IEC 80000 ทำให้มั่นใจว่าการสื่อสารด้านข้อมูลการวัดมีความคงที่และแม่นยำสำหรับนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร ผู้ผลิต ผู้บริโภค รวมทั้งหน่วยงานที่สาม แต่หากใช้หน่วยวัดและปริมาณที่ไม่มีมาตรฐานก็จะเป็นสรรคต่อการค้า
มาตรฐานอื่นที่เป็นพื้นฐานสำหรับการวัดเพื่อการค้าโลกเป็นมาตรฐานที่ใช้งานกับตู้สินค้าซึ่งโลกมีวิวัฒนาการโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง มีการประมาณการว่า 90% ของสินค้าที่ไม่ได้ขนส่งครั้งละมากๆ กำลังใช้คอนเทนเนอร์ขนส่งอยู่ซึ่งไอเอสโอได้จัดทำมาตรฐานในทุกแง่มุมของคอนเนอร์เหล่านั้น นับตั้งแต่มิติทั้งหมดไปจนถึงวิธีการซ้อนกองรวมกัน หมายความว่ามาตรฐานนี้สามารถนำไปใช้ได้ทั่วโลกและมีส่วนร่วมในซัพพลายเชนระดับระหว่างประเทศที่มีประสิทธิภาพและมีค่าใช้จ่ายที่มีประสิทธิผล
คณะกรรมการวิชาการที่รับผิดชอบมาตรฐานดังกล่าวคือ คณะกรรมการวิชาการ ISO/TC104, Freight containers โดยมีสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (ANSI) เป็นเลขานุการ ซึ่งได้พัฒนามาตรฐานไปแล้วเกือบ 40 ฉบับตั้งแต่แรกและได้ใช้เป็นพื้นฐานสำหรับโครงการขนส่งที่เกี่ยวข้องกับคอนเทนเนอร์และกิจกรรมต่างๆ ทั่วโลก
มาตรฐานเหล่านี้ได้รับการยอมรับในระดับสากลโดยองค์กรระดับโลก เช่น องค์กรแรงงานระหว่างประเทศ(International Labour Organization: ILO) องค์การทางทะเลระหว่างประเทศ International Maritime Organization (IMO) องค์การศุลกากรโลก (World Customs Organization: WCO) และคณะกรรมาธิการด้านเศรษฐกิจเพื่อยุโรปขององค์การสหประชาชาติ (United Nations Economic Commission for Europe: UNECE) เป็นต้น
นอกจากนี้ ไอเอสโอยังมีมาตรฐานอื่นๆ อีกหลายมาตรฐานที่มีส่วนร่วมในการทำให้การวัดเป็นไปในทิศทางเดียวกันและช่วยอำนวยความสะดวกการค้าระหว่างประเทศในหลายสาขาด้วย นับตั้งแต่ขนาดของเสื้อผ้าและรองเท้าไปจนถึงเภสัชกรรมและข้อมูลจำเพาะด้านรูปทรงเรขาคณิตของผลิตภัณฑ์ (Geometrical Product Specifications (GPS)
ที่มา: 1. https://www.iso.org/news/ref2513.html
2. http://www.nimt.or.th/main/?p=31590
Related posts
Tags: Global Trade, Standardization, Sustainability, Technology
ความเห็นล่าสุด