• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    14,906 view(s)
  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    14,897 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,237 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,135 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO 22000 ฉบับใหม่ล่าสุดประกาศแล้ว ISO 22000 ฉบับใหม่ล่าสุด
    9,678 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change Construction & Materials COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction IEC Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | — June 15, 2020 8:00 am
ISO Guide 82 เพื่อโลกที่ยั่งยืน
Posted by Phunphen Waicharern with 1641 reads
0
  

STANDARD DEVELOPERS NEED  ISO Guide 82เมื่อปี 2558 (ค.ศ.2015) องค์การสหประชาชาติได้กำหนดเป้าหมายวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ภายในปี  2573 (ค.ศ.2030) เพื่อให้ทั่วโลกมีส่วนร่วมในการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต

ปัจจุบันเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (SDGs) ได้กลายเป็นภาษาสากลสำหรับองค์กรทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ทั้งนี้ เป็นรายงานจากองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (The World Wide Fund for Nature: WWF) ซึ่งรายงานว่าความร่วมมือกันดำเนินการตามเป้าหมายดังกล่าวได้เน้นถึงความรับผิดชอบของภาคเอกชนในประเด็นด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมสำหรับซัพพลายเชนในภารกิจของธุรกิจหลักด้วย

องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากลชี้ให้เห็นว่ามาตรฐานด้านความยั่งยืนสามารถช่วยยกระดับความพยายามในการบรรลุถึง เป้าหมาย SDGs และมาตรฐานด้านความยั่งยืนนี้เป็นหัวใจของการเปลี่ยนไปสู่การตลาดที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน  และการสร้างมาตรฐานที่เน้นในประเด็นด้านความยั่งยืนจะทำให้องค์กรทั่วโลกมีเครื่องมือที่ช่วยให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้

บริษัทที่ปรึกษาทางธุรกิจอย่างแมคคินซีย์มีมุมมองด้านธุรกิจซึ่งรายงานว่าจากการสำรวจผู้บริหาร 2,900 ราย พบว่าผู้บริหาร 43% กล่าวว่าบริษัทของพวกเขาได้เชื่อมโยงเรื่องของความยั่งยืนเข้าไปในเป้าหมายทางธุรกิจ พันธกิจ และคุณค่าขององค์กรในภาพรวม

ผู้บริหารเหล่านั้นได้จัดอันดับการลดของเสียไว้ที่ 63% การลดการใช้พลังงานในระดับปฏิบัติการที่ 64% และบริหารจัดการชื่อเสียงขององค์กรเพื่อความยั่งยืนที่ 59% ซึ่งแสดงว่าปัจจุบันองค์กรในระดับแนวหน้าได้นำวาระการพัฒนาอย่างความยั่งยืนไปใช้ในการดำเนินธุรกิจแล้ว

ปัจจุบัน ทุกภาคส่วนได้มีการพิจารณานำเรื่องของความยั่งยืนเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานหรือการดำเนินธุรกิจ และไอเอสโอได้เห็นความสำคัญของมาตรฐานในแง่ที่ว่าการพัฒนามาตรฐาน ควรมีการนำเรื่องของความยั่งยืนไปพิจารณาในทุกขั้นตอนด้วย

มาตรฐานสากลจึงเป็นเครื่องมือพื้นฐานสำหรับการเน้นเรื่องความท้าทายที่กำลังกดดันโลกของเราอยู่ดังกล่าว มาตรฐานที่สร้างโดยทีมผู้เชี่ยวชาญของโลกด้านความยั่งยืนคือ ISO Guide 82, Guidelines for addressing sustainability in standards ซึ่งให้แนวทางสำหรับผู้พัฒนามาตรฐานเกี่ยวกับวิธีการรับผิดชอบด้านความยั่งยืนซึ่งจะทำการร่าง ทบทวน และปรับปรุงมาตรฐานต่างๆ โดยมุ่งไปในเรื่องของการยกระดับความตระหนักถึงประเด็นด้านความยั่งยืนสำหรับผู้เขียนมาตรฐานต่างๆ และทำให้มีแนวทางเชิงระบบที่มีความเสมอต้นเสมอปลายในการระบุและประเมินปัจจัยด้านความยั่งยืนซึ่งมีความสำคัญในกระบวนการพัฒนามาตรฐานในทุกๆ ขั้นตอน

แนวทางดังกล่าวได้รับการปรับปรุงแล้วเมื่อเร็วๆ นี้ซึ่งรวมถึงข้อมูลวิธีการที่มาตรฐานจะสามารถสนับสนุน SDGs อันทำให้มั่นใจว่ายังคงเกี่ยวข้องกับการช่วยให้โลกบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ในอนาคต

จิมมี ยอเลอร์ ผู้ประสานงานกลุ่มงานที่ทำการทบทวนแนวทาง ISO Guide 82 กล่าวว่าวาระการพัฒนาอย่างยั่งยืน SDGs 2030 นั้นเป็นหน้าที่ของคณะทำงานในการทบทวนแนวทางดังกล่าวเพื่อให้มั่นใจว่าได้ให้ความสำคัญกับ SDGs และนำไปรวมไว้ในมาตรฐานด้วย

ISO Guide 82: 2019, Guideline for addressing sustainability in standards  มีเป้าหมายในการปรับปรุงความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของความสามารถในการดำเนินการอย่างยั่งยืนและเน้นแนวทางในมุมมองที่หลากหลายเมื่อทำการพัฒนามาตรฐาน  แนวทางนี้เป็นสินทรัพย์ที่มีคุณค่าสำหรับนักพัฒนามาตรฐานในการส่งมอบวาระการพัฒนาอย่างยั่งยืน 2030 ให้กับคนทั้งโลก

สำหรับการกำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้น  การพัฒนาในระดับประเทศควรให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกโดยรวมเข้าไปไว้ในวิสัยทัศน์ และต้องอาศัยความร่วมมือในการทำให้เป็นจริง  ส่วนการเขียนมาตรฐานอาจเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนซึ่งจำเป็นต้องปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดยมีการพิจารณาถึง 3 เสาหลักของการพัฒนาได้แก่ สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม

ความยั่งยืนมีแนวโน้มที่จะบรรลุได้ถ้ามีการเน้น 3 เสาหลักดังกล่าวอย่างเท่าเทียมกันและมีการดำเนินการที่เข้มแข็ง หัวใจสำคัญที่มาพร้อมกับแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืนซึ่งครอบคลุม 3 เสาหลัก ได้แก่ การปฏิบัติเพื่อเน้นในประเด็นทั้ง 3 ซึ่งส่งผลต่อกันและกัน และการมีความเข้าใจในการพึ่งพิงต่อกันอยู่เสมอ

แต่หากมีข้อโต้แย้งว่าการพัฒนามาตรฐานโดยเน้นไปที่ประเด็นความยั่งยืนบางประเด็นในองค์กร อาจส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังประเด็นอื่นได้นั้น  ยอเลอร์กล่าวว่า ในกรณีเช่นนี้ นักพัฒนามาตรฐานควรจะประนีประนอมกันในข้อขัดแย้งเท่าที่จะเป็นไปได้  และพิจารณาทางเลือกที่เหมาะสมจากทางเลือกหลายๆ ทางในอันที่จะทำให้ผู้ใช้มาตรฐานมีความตระหนักและใส่ใจโดยตัดสินใจรับเอาทางเลือกที่สมควรไปใช้งาน

แนวทางตามมาตรฐาน ISO Guide 82 กระตุ้นให้นักพัฒนามาตรฐานมีความเคารพผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและพิจารณาความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องในเรื่องที่เป็นไปได้และสามารถทำได้ในทางปฏิบัติ และทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและการแบ่งปันข้อมูลโดยมีพื้นฐานอยู่บนข้อมูลป้อนกลับจากผู้เชี่ยวชาญและผู้แทนต่างๆ

ในการพัฒนาอย่างยั่งยืนและความก้าวหน้าในเรื่องความยั่งยืนเป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างมากซึ่งแนวทางใน ISO Guide 82 ได้วางเค้าโครงของวิธีการที่นักพัฒนามาตรฐานสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาแนวทางเป็นของตนเองเพื่อเน้นเรื่องความยั่งยืนบนพื้นฐานของเรื่องต่างๆ

ยาน คาร์ลเซน ประธาน คณะอนุกรรมการระบุว่า ISO Guide 82 เป็นเอกสารที่มีความสำคัญสำหรับงานในอนาคตของนักพัฒนามาตรฐาน แผนปฏิบัติการหลายอย่างได้รับการกำหนดให้นำเอาเรื่องของความยั่งยืนไปพิจารณาในการทำงานร่วมด้วยอันเป็นแนวทางเดียวกับ SDGs และมีการประเมินเพื่อระบุว่าแผนไหนมีความสำคัญในการบรรลุเป้าหมายเฉพาะด้านบ้าง

ISO Guide 82 เป็นหนึ่งในเอกสารหลักที่ใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินด้านความยั่งยืนและคณะอนุกรรมการพบว่าเป็นเครื่องมือที่เป็นประโยชน์และสามารถใช้ในทางปฏิบัติเพื่อพัฒนามาตรฐานได้อย่างมั่นใจว่ามีความยั่งยืนจริงๆ

การมาตรฐานมีบทบาทสำคัญสำหรับการเปลี่ยนโลกของเราให้กลายเป็นโลกที่ยั่งยืน ผู้พัฒนามาตรฐานทั่วโลกที่นำมาตรฐาน ISO Guide 82 ไปใช้ จะมีการพิจารณาในทุกขั้นตอนของกระบวนการพัฒนามาตรฐาน ซึ่งจะช่วยปกป้องผลกระทบในระดับโลกในประเด็นความยั่งยืนที่เป็นเนื้อหาสาระมากที่สุด และผู้พัฒนามาตรฐานยังเพิ่มคุณค่าให้กับสังคมด้วยการสร้างมาตรฐานสำหรับอนาคตที่ดีขึ้นสำหรับพวกเราทุกคนและสนับสนุนให้โลกบรรลุวาระการพัฒนาอย่างยั่งยืนภายในปี 2030 ด้วย

ที่มา: 1. https://www.iso.org/news/ref2507.html
         2. https://www.iso.org/sdgs.html



Related posts

  • ผ่ากลยุทธ์ไอเอสโอ ปี 2016 – 2020 ตอนที่ 1ผ่ากลยุทธ์ไอเอสโอ ปี 2016 – 2020 ตอนที่ 1
  • มาตรฐานไมซ์ นำธุรกิจการจัดงานอีเว้นท์ไทยก้าวสู่ความยั่งยืนมาตรฐานไมซ์ นำธุรกิจการจัดงานอีเว้นท์ไทยก้าวสู่ความยั่งยืน
  • ISO 52000 เพื่อสมรรถนะด้านพลังงานของอาคารISO 52000 เพื่อสมรรถนะด้านพลังงานของอาคาร
  • ไอเอสโอกับวันอาหารโลกไอเอสโอกับวันอาหารโลก
  • มาตรฐานไอเอสโอเพื่อการสุขาภิบาลที่ยั่งยืนมาตรฐานไอเอสโอเพื่อการสุขาภิบาลที่ยั่งยืน

Tags: ISO, SDGs, Standardization, Standards, Sustaiability

Click here to cancel reply.

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

Recent Comments

  • Phunphen Waicharern on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak on นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • (TH) landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑