แนวคิดที่ยิ่งใหญ่หลายๆ เรื่องบนโลกนี้เกิดขึ้นจากแนวคิดง่ายๆ เช่นเดียวกับแนวคิดของ IoT ที่เพียงแค่ต้องการเชื่อมโยงวัตถุต่างๆ เข้าด้วยกันบนโลกอินเทอร์เน็ต แต่ทำให้เราได้รับประโยชน์อย่างมากมาย IoT ทำให้เราสามารถรวมเอาทุกสิ่งทุกอย่างเข้าด้วยกันทั้งในโลกทางกายภาพและโลกเสมือนจริง
การรวมเอาโลกทั้งสองแบบนี้เข้าด้วยกันในชีวิตของเรา บางครั้ง อาจรู้สึกได้ถึงความห่างไกลแต่ก็เป็นโอกาสของมนุษยชาติในการใช้ทรัพยากรให้ดีขึ้น ซึ่งภาคอุตสาหกรรมได้ทำให้การใช้ IoT มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่วนภาคครัวเรือน บุคคลได้เริ่มต้นทำสิ่งที่เป็นไปได้ง่ายๆ ที่บ้านและมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับผู้อื่นผ่านการใช้ IoT โดยมีทุกสิ่งทุกอย่างที่จำเป็นเตรียมพร้อมใช้งานที่บ้านนับตั้งแต่แสงไฟ ความร้อน ความเย็น ไปจนถึงการปรุงอาหาร
อันที่จริงแล้ว การเชื่อมโยงคนนับล้านคนให้เข้ากับอุปกรณ์และบริการจากทั่วโลกเป็นเรื่องที่มีความซับซ้อนสูง แต่ไอเอสโอและไออีซีโดยคณะกรรมการวิชาการได้ร่วมกันใช้ความรู้ความสามารถในการสร้างมาตรฐานที่เชื่อมโยงคนและอุปกรณ์ให้เข้ากันได้อย่างซับซ้อนดังกล่าวโดยมีกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่สร้างมาตรฐานเพื่อ IoT และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเพิ่งเผยแพร่มาตรฐานใหม่จำนวน 3 ฉบับที่จะช่วยให้เราตระหนักถึงศักยภาพของ IoT เป็นอย่างดี และเป็นตัวช่วยเร่งการเชื่อมโยงโลกทั้งใบเข้าด้วยกันให้เร็วยิ่งขึ้น
มาตรฐานใหม่จำนวน 3 ฉบับ มีดังต่อไปนี้
- มาตรฐาน ISO/IEC 21823-2: 2020, Internet of Things (IoT) – Interoperability for IoT systems — Part 2: Transport interoperability ระบุกรอบการทำงานและข้อกำหนดสำหรับความสามารถในการทำงานร่วมกันในด้านการขนส่งเพื่อทำให้การสร้างระบบ IoT กับการแลกเปลี่ยนข้อมูลสามารถทำงานร่วมกันได้ การเชื่อมโยงในกลุ่มเดียวกัน และการสื่อสารที่ไร้รอยต่อระหว่างระบบ IoT ที่แตกต่างกัน และระหว่างระบบ IoT ภายในระบบเดียวกัน
- มาตรฐาน ISO/IEC TR 30164-2: 2020, Internet of Things (IoT) – Edge Computing อธิบายแนวคิดร่วม คำศัพท์ คุณลักษณะ กรณีการใช้งานและเทคโนโลยีของการคำนวณแบบ Edge Computing เพื่อแอปพลิเคชันระบบ IoT รวมทั้งการบริหารจัดการข้อมูล ความร่วมมือ กระบวนการ หน้าที่เครือข่าย การคำนวณผลที่เหมือนกัน ความมั่นคงปลอดภัย การใช้ประโยชน์สูงสุดจากฮาร์แวร์และซอฟต์แวร์
- มาตรฐาน ISO/IEC TR 30166: 2020, Internet of Things (IoT) – Industrial IoT ประยุกต์ใช้กับระบบ IoT อุตสาหกรรมทั่วไปซึ่งเน้นคุณลักษณะ แง่มุมทางเทคนิคและองค์ประกอบเชิงหน้าที่และองค์ประกอบที่ไม่ใช่เชิงหน้าที่ และรายการของมาตรฐานในองค์กร สมาคม และชุมชนผู้ใช้งานออนไลน์พัฒนาร่วมกัน
มาตรฐานใหม่ทั้ง 3 ฉบับนี้ ได้รับการพัฒนาโดยคณะกรรมการวิชาการไอเอสโอและไออีซี ISO/JTC 1, Information Technology ซึ่งได้รับการแต่งตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2530 (ค.ศ.1987) โดยมีผลงานการพัฒนามาตรฐานมาแล้วรวม 3,244 ฉบับ
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2529.html
Related posts
Tags: IEC, Internet of Things, IoT, ISO, Standardization
ความเห็นล่าสุด