• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    15,582 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    15,081 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,417 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,303 view(s)
  • ISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืนISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืน
    10,005 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change Construction & Materials COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality resilience safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | — July 24, 2020 8:00 am
แนะนำคณะกรรมการวิชาการไออีซี เรื่อง “น้ำ”
Posted by Phunphen Waicharern with 1134 reads
0
  

IEC and  INFINITELY VALUABLE  WATERหนึ่งในพันธมิตรระดับโลกของไอเอสโอหรือองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน คือคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐานสาขาอิเล็กทรอเทคนิกส์ (International Electrotechnical Commission – IEC ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 2447 (ค.ศ.1904) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำมาตรฐานระหว่างประเทศ ทางด้านไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง

สำหรับประเทศไทย ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกระบบการตรวจสอบและรับรองบริภัณฑ์เทคนิคไฟฟ้าและชิ้นส่วนของ IEC (IEC System of Conformity assessment Schemes for Electrotechnical Equipment and Components – IECEE) โดยมีสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เป็นหน่วยรับรอง (National Certification Body – NCB) และสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (สฟอ.) เป็นหน่วยทดสอบ (CB Testing Laboratory – CBTL) ของ IECEE

ในด้านการมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับพลังงานหมุนเวียน ไออีซีได้ให้ความสำคัญกับพลังงานทดแทนรวมทั้งพลังงานน้ำ  สำหรับคำว่า “น้ำ” มาจากภาษากรีก คือ ไฮโดรซึ่งหมายรวมถึงแม่น้ำและมหาสมุทรด้วย    งานมาตรฐานของไออีซีครอบคลุมโครงการที่เกี่ยวข้องกับแม่น้ำทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่  รวมถึงพลังงานจากมหาสมุทรซึ่งเป็นเรื่องใหม่สำหรับไออีซีเมื่อไออีซีได้เริ่มพิจารณาถึงเรื่องที่มีศักยภาพที่จำเป็นต้องมีมาตรฐาน ซึ่งตลาดสำหรับเรื่องนี้ยังคงกว้างใหญ่มากและอยู่ในขั้นตอนการวิจัยและพัฒนา

 

ในด้านสมรรถนะของโรงไฟฟ้าพลังน้ำที่ใหญ่ที่สุดบางแห่งของโลกมีการผลิตไฟฟ้าเฉลี่ยนับพันล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง

ส่วนโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็ก เล็กปานกลาง และเล็กมากในความหมายของไออีซีนั้น โรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กหมายถึงโรงที่ผลิตไฟฟ้าขนาดไม่เกิน 15 มิลลิวัตต์  โรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กปานกลางหมายถึงโรงที่ผลิตไฟฟ้าขนาดประมาณ 500 กิโลวัตต์และใช้ในการพัฒนาแม่น้ำสำหรับหมู่บ้าน  และระบบโรงงานไฟฟ้าพลังน้ำที่เล็กมากหมายถึงโรงที่ผลิตไฟฟ้าขนาดประมาณ 50 วัตต์ถึง 5 กิโลวัตต์และโดยทั่วไปใช้ในระดับบุคคลหรือกลุ่มบ้านเรือน

ไออีซีได้แต่งตั้งคณะกรรมการวิชาการ TC 4, Hydraulic turbines ขึ้นตั้งแต่ปี 2456 (ค.ศ1913) และได้ทำหน้าที่จัดเตรียมมาตรฐานและรายงานทางวิชาการสำหรับการออกแบบ การผลิต การทดสอบความถูกต้องของระบบโดยรวม การทดสอบ และการทำงานของเครื่องจักรไฮดรอลิก

สิ่งที่ไออีซีมุ่งเน้นมาจนถึงปัจจุบันคือโครงการเกี่ยวกับแม่น้ำ ซึ่งรวมถึงกังหัน และปั๊มน้ำประเภทต่างๆ รวมทั้งอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น ตัวควบคุมความเร็ว และการประเมินสมรรถนะและการทดสอบ เป็นต้น ปัจจุบัน ไออีซีมุ่งเน้นไปที่พลังงานจากแม่น้ำ ทั้งนี้ เนื่องมาจากมีโครงการพลังไฟฟ้าเกิดขึ้นจากแม่น้ำในเอเชีย รัสเซีย และอเมริกาใต้  และการฟื้นฟูปฏิสังขรณ์และยกระดับโรงงานที่มีอยู่ในอเมริกาเหนือและยุโรป จึงทำให้ไออีซีให้ความสำคัญกับพลังงานจากแม่น้ำ

นอกจากนี้  พลังงานจากคลื่นและกระแสน้ำของมหาสมุทรก็เป็นแหล่งกำเนิดพลังงานไฟฟ้าที่มีศักยภาพอีกแหล่งหนึ่ง ไออีซีจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการวิชาการ TC 114, Marine energy – Wave, tidal and other water current converters เมื่อปี 2007 ซึ่งได้จัดทำมาตรฐานในเทคโนโลยีสาขานี้และเผยแพร่ไปแล้วจำนวน 8 ฉบับเมื่อต้นปี 2561 (ค.ศ.2018)

พลังงานน้ำเป็นพลังงานหมุนเวียนที่สามารถนำกลับมาใช้ได้อยู่เสมอ ก่อให้เกิดคุณค่าได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด และคณะกรรมการวิชาการ TC 4 และ TC 114 ของไออีซียังคงมุ่งมั่นพัฒนามาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าพลังน้ำเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถทำงานได้อย่างปลอดภัยและเหมาะสมต่อไป

ที่มา: 1. https://www.tisi.go.th/website/interstandard/iec
2.
https://www.iec.ch/renewables/standardization.htm
          3. https://www.iec.ch/renewables/water_power.htm



Related posts

  • ISO/TS 22163 เพื่อคุณภาพของ “ราง”ISO/TS 22163 เพื่อคุณภาพของ “ราง”
  • มาตรฐานใหม่เพื่อโลกใต้น้ำที่ยั่งยืนมาตรฐานใหม่เพื่อโลกใต้น้ำที่ยั่งยืน
  • “เศรษฐกิจหมุนเวียน” เมื่อโลกเปลี่ยน เราต้องปรับ ตอนที่ 2“เศรษฐกิจหมุนเวียน” เมื่อโลกเปลี่ยน เราต้องปรับ ตอนที่ 2
  • การสร้างความยืดหยุ่นทางไซเบอร์ด้วย ISO/IEC 27001การสร้างความยืดหยุ่นทางไซเบอร์ด้วย ISO/IEC 27001
  • สร้างสังคมที่ยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจหมุนเวียนสร้างสังคมที่ยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจหมุนเวียน

Tags: Conformity Assessment, IEC, Standardization, water

Click here to cancel reply.

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

Recent Comments

  • Phunphen Waicharern on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak on นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • (TH) landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑