มาตรฐานสากลใหม่ล่าสุดสำหรับบล็อกเชนได้ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำความเข้าใจร่วมกันและสนับสนุนการนำไปใช้อย่างมั่นคงและปลอดภัย มาตรฐานนี้เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเบื้องหลังบิทคอยน์และการใช้งานที่ได้ขยายไปไกลกว่ารากฐานของภาคการเงินจนเกือบทุกอุตสาหกรรม ตั้งแต่การดูแลสุขภาพไปจนถึงเกษตรกรรม
ค่าใช้จ่ายของบล็อกเชนและเทคโนโลยีบัญชีแยกประเภทดิจิทัล (DLT) จะมีมูลค่าเกือบ 16 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2566 (ค.ศ.2023) แต่การเติบโตอย่างรวดเร็วดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงและความสับสนซึ่งในที่สุดจะเป็นอุปสรรคต่อการนำไปใช้ คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญชุดใหม่ของไอเอสโอในเรื่องของบล็อกเชนจึงได้เผยแพร่มาตรฐานและเอกสาร เพื่อสนับสนุนเทคโนโลยีฉบับแรกพร้อมข้อมูลอื่น ๆ อีกมากมายในกระบวนการ
บล็อกเชนคือบัญชีกระจายข้อมูลที่ได้รับการออกแบบมาตั้งแต่แรกเพื่อให้มีความมั่นคงปลอดภัยและสร้างบันทึกที่ชัดเจนและเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ซึ่งเป็นที่สนใจของอุตสาหกรรมและรัฐบาลทั่วโลก เนื่องจากมีการบันทึกธุรกรรมด้วยวิธีการที่โปร่งใสและมั่นคงปลอดภัย จึงเพิ่มความไว้วางใจ จำกัดคนกลางและลดต้นทุน
อย่างไรก็ตาม การเติบโตอย่างรวดเร็วของบล็อกเชนนำไปสู่การจำกัดความมากมาย ซึ่งอาจทำให้หลายคนสับสนได้ แต่มาตรฐาน ISO 22739: 2020, Blockchain and distributed ledger technologies – Vocabulary ที่ไอเอสโอเพิ่งเผยแพร่ไปเมื่อเร็วๆ นี้ สามารถช่วยแก้ปัญหาในเรื่องนี้ได้โดยกำหนดคำศัพท์พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับบล็อกเชนและบัญชีแยกประเภทดิจิทัล (DLT) และเป็นภาษากลางที่สามารถใช้ได้ทั่วโลก
เอมิลี่ ดอว์ซัน ผู้จัดการคณะกรรมการที่พัฒนามาตรฐานนี้ กล่าวว่า มีประเด็นอีกมากมายที่ต้องได้รับการแก้ไข อย่างเช่นประเด็นที่เกี่ยวกับธรรมาภิบาลและความปลอดภัย
ความกังวลเกี่ยวกับเรื่องความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคล มักถูกมองว่าเป็นอุปสรรคหลักของการนำแนวทางบล็อกเชนไปใช้ ดังนั้น คณะกรรมการวิชาการจึงได้จัดทำรายงานทางเทคนิควิชาการเพื่อให้ความชัดเจนในเรื่องนี้
รายงานทางเทคนิควิชาการฉบับใหม่ที่เพิ่งเผยแพร่ ได้แก่ ISO/TR 23244: 2020, Blockchain and distributed ledger technologies – Privacy and personally identifiable information protection considerations ซึ่งมีการระบุและประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องความเป็นส่วนตัว และเสนอแนวทางที่จะลดความเสี่ยงเหล่านั้น ซึ่งครอบคลุมศักยภาพการเพิ่มความเป็นส่วนตัวของบล็อกเชนและ DLT
อีกประเด็นหนึ่งที่ส่วนมากมักสับสันก็คือแนวคิดของสัญญาอัจฉริยะ ซึ่งโปรแกรมคอมพิวเตอร์เก็บไว้ที่บัญชีแยกประเภทดิจิทัลที่ออกแบบมาเพื่อให้ทำธุรกรรมอัตโนมัติตามเงื่อนไขที่กำหนด โดยใช้ประโยชน์จากการรักษาความปลอดภัยที่เสนอโดยระบบ DLT
ย้อนกลับไปในช่วงปี 2524 – 2533 (ค.ศ. 1981 – 1990) คำนิยามได้มีวิวัฒนาการจากความหมายเดิมและขาดการกระทำในทางปฏิบัติ ดังนั้น เพื่ออธิบายให้ชัดเจนและสามารถนำสัญญาอัจฉริยะไปใช้ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คณะกรรมการได้เผยแพร่รายงานทางเทคนิค ISO/TR 23455, Blockchain and distributed ledger technologies – Overview of and interactions between smart contracts in blockchain and distributed ledger technology systems ซึ่งรายงานฉบับนี้อธิบายภาพรวมของสัญญาอัจฉริยะว่าคืออะไร ทำงานอย่างไร และมีปฏิสัมพันธ์ภายในระหว่างกันอย่างไร
มาตรฐานและเอกสารที่จะเกิดขึ้นในอนาคตและคณะกรรมการจะเผยแพร่ต่อไป ได้แก่:
- ISO/TR 3242, Blockchain and distributed ledger technologies – Use cases
- ISO 23257, Blockchain and distributed ledger technologies – Reference architecture
- ISO/TS 23635, Blockchain and distributed ledger technologies – Guidelines for governance
ผู้สนใจมาตรฐานทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นสามารถศึกษาได้จากห้องสมุดสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) หรือสั่งซื้อได้จากเว็บไซต์ของไอเอสโอ ISO Store
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2540.html
Related posts
Tags: blockchain, DLT, Information Technology, ISO, IT, standard, Standardization, Technology
Recent Comments