ถ้าคุณรู้สึกว่ายิ่งเรียนก็ยิ่งรู้ว่ายังมีสิ่งที่เราไม่รู้อีกมากมายในโลกนี้ มีเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจศึกษาและเรียนรู้เป็นอย่างมาก นั่นก็คือเรื่องของอวกาศ องค์ความรู้เรื่องนี้กำลังขยายออกไปอย่างรวดเร็วพอๆ กับเรื่องของจักรวาลที่มีการสั่งสมข้อมูลมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ส่งผลให้วิศวกรรมศาสตร์อันซับซ้อนที่อยู่เบื้องหลังของการค้นพบอวกาศไม่ต้องอาศัยการลองผิดลองถูกมากนัก
การใช้เทคนิคโมเดลลิ่งของวิศวกรทำให้สามารถทดสอบการออกแบบสำหรับเครื่องมือ เครื่องบินหรือยานต่างๆ เพื่อทดสอบก่อนการใช้งานจริง วารสารไอเอสโอโฟกัสได้สัมภาษณ์เชลล์ เบงซง รองประธานบริษัท Jotne IT เพื่อศึกษาถึงวิธีที่บริษัทของประเทศนอร์เวย์แห่งนี้ทำการสร้างยานพาหนะที่ช่วยให้เขาออกแบบสิ่งที่ยังไม่รู้รายละเอียดแน่ชัดได้
เติบโตขึ้นท่ามกลางการบ่มเพาะนวัตกรรม
เชลล์ได้ใช้เวลาในวัยเด็กไปกับการเรียนรู้เรื่องการผลิตในอุตสาหกรรมของประเทศสวีเดนและเมืองท่าในโกเตนเบิร์กซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดรถวอลโว่ เมื่อเติบโตเข้าวัยหนุ่ม เขาเกิดความสงสัยในใจว่าเทคโนโลยีนี้น่าจะเป็นอนาคตของเขาหรือไม่ ในเวลานั้นเอง เขาได้เริ่มเรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องคำนวณด้วยโปรแกรม ซึ่งทำให้เกิดโปรแกรมพื้นฐานสำหรับเครื่องจักรโทรพิมพ์ รวมทั้งได้เป็นเจ้าของคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กได้
เมื่อเริ่มทำงานที่วอลโว่ เขาได้พิสูจน์ตัวเองด้วยการพัฒนาคัสซี (ส่วนโครงสร้างของตัวรถ) ซึ่งเขากล่าวว่าเป็นสถานที่ที่ดีที่สุดสำหรับการค้นพบตัวเองว่าเหมาะกับงานด้านวิศวกรรม เพราะทำให้เขามีประสบการณ์รอบด้านในเรื่องพลศาสตร์ยานยนต์และกลายเป็นวิศวกรที่มีประสบการณ์มากขึ้น
ตอนนั้น วอลโว่ได้ก้าวไปทำเรื่องของการออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer Aided Design: CAD) เป็นโครงการนำร่อง ในเวลานั้น ระบบดังกล่าวอยู่ในช่วงเริ่มต้นและบริษัทได้เลือกเชลล์ให้เข้าไปช่วยแก้ปัญหาเล็กๆ น้อยๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงเริ่มต้น
ต่อมา การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบได้กลายเป็นงานหลักของเขาและทำให้เขาก้าวไปสู่การใช้ชีวิตที่แวดล้อมด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ช่วงนั้น กล่าวได้ว่าเขาอาจจะได้ช่วยเปลี่ยนแปลงประเทศของตัวเองและวอลโว่มาแล้ว และเขายังคงทำงานกับระบบนี้ต่อไปที่เจเนอรัล อิเล็กทริก ซึ่งทำให้เขาได้มีโอกาสเดินทางไปยังประเทศนอร์เวย์ และในเวลาต่อมากก็ได้เริ่มงานกับบริษัท Jotne
ปัจจุบัน บริษัท Jotne ได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก บริษัทมีเทคโนโลยีใหม่ๆ และนวัตกรรมหลายอย่าง และมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศนอร์เวย์
ธุรกิจหลักของบริษัทได้ขยายไปในเรื่องของราง การทำเหล็ก เช่น บันไดและตะแกรง การพัฒนาและการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ด้วย
แล้วบริษัทไอทีสัญชาตินอร์เวย์ซึ่งมีคนที่มีความสามารถอย่างเชลล์ได้เข้าไปมีส่วนในการสำรวจอวกาศและการมาตรฐานได้อย่างไร
เชลล์เล่าว่างานของเขาเริ่มต้นที่มาตรฐาน โดยเขามีความสนใจคอมพิวเตอร์และเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีในช่วงแรกๆ
เรื่องก็มีอยู่ว่าวิชาชีพของเขาทำให้เขามีโอกาสทำงานเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลวิศวกรรม ซึ่งหมายถึงด้านกระบวนการของการแบ่งปันและการเก็บข้อมูล ความสามารถในเรื่องนี้ทำให้เขาได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการวิจัยและพัฒนาในกระทรวงกลาโหม ในมาตรฐานอุตสาหกรรมของไอเอสโอบางเรื่องที่ใช้กันอย่างกว้างขวางที่สำนักโครงการวิจัยขั้นสูงด้านกลาโหม (DARPA) ซึ่งเป็นหน่วยงานแห่งหนึ่งของกระทรวงกลาโหมที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่
DARPAR ได้รับการก่อตั้งขึ้นด้วยเป้าหมายในการยกระดับเทคโนโลยีของสหรัฐ และทำหน้าที่รับผิดชอบในโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับดาวเทียม ระบบจีพีเอสแบบพกพา และแหล่งกำเนิดของอินเทอร์เน็ต
ท่ามกลางนวัตกรรมเหล่านั้น มีงานที่สำคัญของคณะกรรมการวิชาการไอเอสโอในด้านระบบอัตโนมัติและการรวมระบบ ซึ่งก็คือ คณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 184/SC4 ที่เป็นหนึ่งในงานหลักของพวกเขานั่นเอง ได้แก่ การพัฒนามาตรฐาน ISO 10303 ซึ่งมาตรฐานฉบับแรกนั้นได้รับการตีพิมพ์เมื่อปี 2537 (ค.ศ.1994) เขาชี้ให้เห็นว่าปัจจุบันงานดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องเรื่องของการรวมระบบเข้าด้วยกันมากกว่าที่เคยเป็นมา
ปัจจุบันนี้ มากกว่า 80 % ของ CAD และการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการบริหารจัดการวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์มีการใช้มาตรฐานไอเอสโอ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไอเอสโอบรรลุเป้าหมายความสำเร็จเป็นอย่างมาก
อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าจะยังไม่ใช่มาตรฐานเพื่ออนาคตเสียทั้งหมด ราวปี 2534 (ค.ศ.1991) เขาได้เริ่มโครงการ PRODEX ซึ่งเป็นโครงการทางวิทยาศาสตร์ที่ได้ทุนจากสหภาพยุโรปซึ่งให้ข้อเสนอกับสถาบันและอุตสาหกรรมที่สนับสนุนงานการทดลองหน่วยงานอวกาศของยุโรป ต่อมา เชลล์จึงได้เข้าไปทำงานที่ Jotne IT
บางบริษัท ผู้เชี่ยวชาญบางคนที่มีส่วนร่วมในงานมาตรฐานของไอเอสโอมองว่ามาตรฐานเป็นเรื่องพิเศษหรือส่วนที่จำเป็นต้องมีเสริมเข้ามา เช่นเดียวกับ Jotne IT ซึ่งมีการรับเอามาตรฐานไอเอสโอไปใช้งานสำหรับการแลกเปลี่ยนและการเป็นตัวแทนข้อมูลผลิตภัณฑ์ (ซึ่งคือมาตรฐานที่กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ คือ ISO 10303และเป็นที่รู้จักกันในชื่อ STEP) รวมทั้งมาตรฐาน BIM แบบเปิด (Building Information Modelling: BIM)
สำหรับบทความในตอนที่ 2 จะได้กล่าวถึงรายละเอียดว่าเชลล์ได้เข้าไปสนับสนุนองค์กรขนาดใหญ่ที่ใดบ้างและมีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลและนวัตกรรมอย่างไรบ้าง
ที่มา: https://www.iso.org/news/isofocus_142-2.html
Related posts
Tags: Aerospace, Innovation, ISO, ISO 10303, Product Model Data, Standardization
Recent Comments