เรื่องของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การจู่โจมทางไซเบอร์ และการหยุดชะงักงันทางธุรกิจ เมื่อมองโดยผิวเผิน ดูเหมือนว่าจะไม่มีความเกี่ยวข้องกัน อย่างไรก็ตาม มีเครื่องมือที่สามารถใช้ร่วมกันเพื่อปรับตัวให้พร้อมรับสถานการณ์ดังกล่าวได้ เครื่องมือนั้นก็คือ “นวัตกรรม” คำถามคือ แล้วองค์กรต่าง ๆ จะสามารถสร้างนวัตกรรมได้เพียงพอที่จะยืนหยัดต่อสู้ในโลกที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอนมากขึ้นทุกวันได้อย่างไร
ดูเหมือนว่าโลกกำลังหมุนเร็วขึ้นกว่าเดิม หมายความว่าบริษัทและองค์กรต่างๆ ในทุกภาคส่วนต้องจัดลำดับความสำคัญของนวัตกรรมหรือความเสี่ยงที่ธุรกิจจะได้รับผลกระทบ ในขณะที่ยุคดิจิตอลได้สร้างโลกธุรกิจที่มีความท้าทายขึ้นมาและส่งผลกระทบต่อความเร็วและกระบวนการของนวัตกรรม
หากมีบริษัทที่เรารู้จักมานานได้เลิกกิจการไปแล้ว นั่นก็เป็นเพราะว่าบริษัทเหล่านั้นไม่มีนวัตกรรม ในทางกลับกัน ถ้าบริษัทเหล่านั้นยังคงอยู่ ก็เป็นเพราะว่าอย่างน้อย พวกเขาต้องมีการปรับตัวท่ามกลางกาลเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง หรือไม่เช่นนั้น ก็ต้องมีนวัตกรรม หมายความว่าหากบริษัทไม่สามารถปรับตัวให้อยู่รอดได้ท่ามกลางความเสี่ยง ก็จะกลายเป็นบริษัทที่ล้มเหลว ล้าสมัยและไม่มีตัวตนอยู่ในโลกธุรกิจอีกต่อไป
หากเรายังจำได้ถึงธุรกิจอันรุ่งเรืองในอดีตอย่างวิดีโอบล็อกบัสเตอร์ สมาร์ทโฟนแบล็คเบอร์รี่และทาวเวอร์เรคคอร์ดส์ เราทราบดีว่าธุรกิจเหล่านี้ปิดตัวลงพร้อมกับการเกิดของเทคโนโลยีใหม่ๆ และการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันของพฤติกรรมผู้บริโภค แต่บางธุรกิจเช่น แอปเปิล หรือแม็คโดนัลด์ กลับมีการจัดการธุรกิจท่ามกลางพายุที่โหมกระหน่ำและกลับมายืนหยัดได้อย่างแข็งแกร่งมากกว่าในอดีต
ถ้าเช่นนั้นแล้ว อะไรคือสิ่งที่ผู้อยู่รอดได้ทำในขณะที่ผู้ที่ไม่สามารถยืนหยัดอยู่ได้ไม่ได้ทำ คำตอบคือ นอกเหนือจากการมีวิสัยทัศน์ในการหยั่งรู้ความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภคแล้ว สิ่งนั้นก็คือ ความสามารถในการสร้างนวัตกรรมนั่นเอง
นวัตกรรมคืออะไร
ความหมายประการแรกของนวัตกรรมเกิดขึ้นจากการสำรวจนวัตกรรมเชิงทดลองที่ทำโดยองค์กรเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organisation for Economic Co-operation and Development - OECD) ในช่วงทศวรรษที่ 1980 ซึ่งนำไปสู่ความพยายามในวิธีการกำหนดนวัตกรรมให้มีวัตถุประสงค์ดด้านตัวชี้วัดตามคู่มือออสโลเมื่อปี 2535 (ค.ศ.1992) ซึ่งความหมายได้ขยายขอบข่ายออกไปอย่างกว้างขวางตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และจากคู่มือออสโล 2018 (แนวทางสำหรับการรวบรวม การรายงาน และการใช้ข้อมูลด้านนวัตกรรม) ทำให้ปัจจุบัน มีการระบุประเภทของนวัตกรรม 4 ประเภท ได้แก่ นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ นวัตกรรมกระบวนการ นวัตกรรมการตลาด และนวัตกรรมองค์กร
คณะกรรมการวิชาการด้านการบริหารจัดการนวัตกรรม ISO/TC 279เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนานิยามที่ค้นพบในคู่มือออสโลฉบับล่าสุดซึ่งทำให้มั่นใจในความหมายตามมาตรฐานไอเอสโอและมีการพิจารณาถึงข้อกำหนดที่แตกต่างกันด้วยซึ่งรวมถึงมาตรฐาน ISO 56000, Innovation management – Fundamental and vocabulary และประเด็นสำคัญตามคู่มือออสโล ระบุว่าสิ่งใดจะเป็นนวัตกรรมก็ต่อเมื่อสิ่งนั้นเป็นของใหม่หรือมีการปรับปรุงให้ดีขึ้นและสร้างคุณค่าขึ้นมาใหม่
นวัตกรรมเป็นสิ่งที่มีส่วนสำคัญในการทำให้ประสบความสำเร็จ เนื่องจากนวัตกรรมทำให้ปรับปรุงความสมารถในการปรับตัวให้เข้ากับโลกที่เปลี่ยนแปลงไป แนวคิดเชิงนวัตกรรมและแนวคิดใหม่ๆ ทำให้มีการทำงานที่ดีขึ้น รวมทั้งการแก้ปัญหาใหม่ ๆ ทำให้สามารถสร้างรายได้และปรับปรุงเรื่องของความสามารถในการดำเนินการอย่างยั่งยืน ในแง่นี้ นวัตกรรมจึงเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับความสามารถในการปรับตัวขององค์กรซึ่งช่วยให้เข้าใจและตอบสนองต่อบริบทที่ท้าทาย และสามารถใช้โอกาสนี้ในการทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ได้โดยง่ายทั้งในด้านบุคลากรขององค์กรและบุคคลหรือองค์กรอื่นที่เข้ามามีปฏิสัมพันธ์ด้วย
ความสำเร็จของธุรกิจ
แนวคิดที่ยิ่งใหญ่และการประดิษฐ์ของใหม่ๆ หลายครั้งเป็นผลมาจากการคิดเล็กๆ น้อยๆ และมีการเปลี่ยนแปลงมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ซึ่งนำไปสู่ทิศทางการทำงานที่มีประสิทธิผล การนำเอาระบบการบริหารจัดการนวัตกรรมมาช่วยในเรื่องดังกล่าว เป็นการจัดเตรียมแนวทางเชิงระบบเพื่อการผสมผสานเรื่องของนวัตกรรมเข้าไปในแต่ละส่วนขององค์กรเพื่อสร้างโอกาสสำหรับการพัฒนาแนวทางการแก้ปัญหา ระบบ ผลิตภัณฑ์ หรือบริการใหม่ ๆ
มาตรฐาน ISO 56002 ซึ่งเผยแพร่เมื่อปี 2553 (ค.ศ.2010) เป็นมาตรฐานระบบการบริการจัดการนวัตกรรมฉบับแรกของโลก ที่รวมเอาวิธีคิดและการวิจัยในปัจจุบันเข้าด้วยกัน มาตรฐานนี้เป็นเครื่องมือหลักสำหรับองค์กรในการจัดเตรียมแนวปฏิบัติที่ดี ทำให้ทราบว่าองค์กรจะกำหนดระบบการจัดการนวัตกรรมอย่างมีรูปแบบโครงสร้างได้อย่างไร
อลิส เดอ กาสซาโนเว ประธานคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 279 กล่าวว่าแนวทางดังกล่าวมีประโยชน์มากสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่และธุรกิจเอสเอ็มอีที่มีฝ่ายงานนวัตกรรม พวกเขาได้นำเอานวัตกรรมเข้าไปใช้อย่างจริงจังที่บริษัทแอร์บัส เนื่องจากไม่มีวัฒนธรรมด้านนวัตกรรม ด้วยเหตุนี้ บริษัทจึงสามารถยืนหยัดอยู่ได้จนถึงทุกวันนี้ มาตรฐานนวัตกรรมช่วยให้บริษัทฝึกฝนนักปฏิบัติด้านนวัตกรรมเพราะเป็นสิ่งที่มีโครงสร้างและเป็นเหตุเป็นผลกันเพื่อทำธุรกิจ สามารถรักษาและทำให้วัฒนธรรมด้านนวัตกรรมเติบโตขึ้นอย่างมีประสิทธิผล
นวัตกรรมสำเร็จด้วยเคล็ดลับ 7 ประการ
ลองมาตรวจสอบสุขภาพระบบการจัดการนวัตกรรมกัน เริ่มต้นด้วยรายงานทางวิชาการของไอเอสโอที่มีชื่อว่า ISO/TR 56004 ซึ่งใช้เป็นแนวทางในการตรวจสอบว่าองค์กรได้ดำเนินการในเรื่องดังต่อไปนี้แล้วหรือยัง
- เพิ่มคุณค่าให้กับองค์กร
2. ท้าทายกลยุทธ์และวัตถุประสงค์ขององค์กร
3. กระตุ้นและขับเคลื่อนการพัฒนาองค์กร
4. ทำในเวลาที่เหมาะสมและเน้นเรื่องของอนาคต
5. อยู่ในบริบทที่ทำให้เกิดนวัตกรรมและส่งเสริมการรับเอาแนวปฏิบัติที่ดีไปใช้
6. มีความยืดหยุ่นและมองภาพรวม
7. มีกระบวนการที่เชื่อถือได้และมีประสิทธิผล
ธุรกิจที่มั่นคงไม่ว่าจะเผชิญกับสถานการณ์ใด หากมีนวัตกรรมเป็นพื้นฐานแล้ว ก็จะทำให้ธุรกิจเพิ่มความแข็งแกร่งได้ ถ้าเช่นนั้นแล้ว ธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ จะสามารถบ่มเพาะความรู้ให้บุคลากรในองค์กรได้หรือไม่ อย่างไร โปรดติดตามในครั้งต่อไปค่ะ
ที่มา: https://www.iso.org/news/isofocus_142-3.html
Related posts
Tags: Innovation, Innovation Management System, ISO, ISO 56000, ISO 56002, Standardization
ความเห็นล่าสุด