ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ เทคโนโลยีบล็อกเชนได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับธุรกิจต่าง ๆ มากขึ้น และทำให้ชีวิตของคนเราเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ซึ่งหากได้ติดตามเรื่องราวเกี่ยวกับการลงทุนในคริปโทเคอร์เรนซี ก็จะคุ้นเคยกับคำว่า “บล็อกเชน” ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการจัดเก็บการบันทึกที่อยู่เบื้องหลังเครือข่ายบิตคอยน์
บล็อกเชนเป็นการเก็บและร้อยเรียงข้อมูลด้วยวิธีการเข้ารหัสทางคอมพิวเตอร์เพื่อความปลอดภัย ทำให้รู้ว่ามีการเก็บข้อมูลเมื่อใด มีการแก้ไขหรือไม่ อย่างไร เนื่องจากมีการส่ง กระจาย และจัดเก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์เครือข่าย บ่อยครั้งมักจะถูกจัดเก็บในฐานข้อมูลสาธารณะ เพราะคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในเครือข่ายมีสำเนาเป็นของตัวเองของบล็อกเชน และมีความปลอดภัยมาก แต่ในแง่ของแฮกเกอร์ การละเมิดเครือข่ายคือจะต้องเข้าไปดึงสำเนาเครือข่ายที่มีการกระจายข้อมูลออกไป ซึ่งเป็นความหมายของบล็อกเชนที่เป็น distributed ledger นั่นเอง
ปัจจุบัน บล็อกเชนเป็นแพลตฟอร์มดิจิทัลที่อำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมด้วยการบันทึกและทวนสอบข้อมูลในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในลักษณะที่มีความมั่นคงปลอดภัย มีแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ให้คริปโทเคอร์เรนซีมีการกระจายศูนย์กลางลดลงของผู้ให้บริการที่เป็นหน่วยงานที่สาม ซึ่งลดค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรมและสนับสนุนความโปร่งใส
ปฏิกิริยาลูกโซ่
การมีความเข้าใจในวิธีการทำงานของบล็อกเชนจะช่วยให้ธุรกิจมีศักยภาพกว้างขวางมากขึ้นและมีการรับเอาไปใช้อย่างกว้างขวาง ผลสำรวจของดีลอยด์ในปี 2563 (ค.ศ.2020) พบว่าการรับเอาเทคโนโลยีไปใช้ได้ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงและมีการพัฒนาแนวทางแก้ไขปัญหาของธุรกิจได้อย่างเข้มแข็ง มีการเน้นย้ำความจริงที่ว่าบล็อกเชนเป็นของจริงที่มากยิ่งกว่าจริงเสียอีก เพราะสามารถรองรับเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาเชิงปฏิบัติสำหรับความท้าทายทางธุรกิจได้มากมาย และยังนำไปผสมผสานกับนวัตกรรมขององค์กรได้ด้วย ด้วยเหตุนี้ ธุรกิจชั้นนำของโลกจึงยอมลงทุนลงแรงทั้งเงิน เวลา และทรัพยากรต่าง ๆ ไปกับเทคโนโลยีบล็อกเชนโดยมองเห็นประโยชน์อย่างมีความหมายและในมุมมองที่จับต้องได้
ขณะที่บล็อกเชนพิสูจน์ให้เห็นว่าความสามารถรอบตัวในการอำนวยความสะดวกธุรกรรมด้านความมั่นคงปลอดภัยในอุตสาหกรรม ภาคส่วนต่าง ๆ ก็เริ่มให้ความสนใจในศักยภาพของบล็อกเชนเช่นกัน
บล็อกเชนทำให้ผู้ใช้งานมีสภาพแวดล้อมที่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างอิสระในระบบนิเวศที่มีการสั่งการแบบมินิมอลไปจนถึงแบบเสมือนจริงซึ่งไม่มีค่าใช้จ่าย โดยทั่วทุกมุมโลกสามารถเข้าถึงกันได้ภายในเวลาเพียงแค่ไม่กี่นาที
แม้ว่าจะมีเทคโนโลยีใหม่ที่เกิดขึ้นมาเรื่อย ๆ แต่เราสามารถเห็นการใช้งานได้ในสาขาต่างๆ เช่น การเงินการธนาคาร การค้า การบริหารจัดการซัพพลายเชน การบังคับใช้กฎหมาย พลังงาน การประกันภัย อสังหาริมทรัพย์ และอื่นๆ อีกมากมาย
ถึงกระนั้นก็ดี สำหรับเทคโนโลยีที่บุกเบิกในการทำงานในระดับโลกเช่นนี้ สิ่งที่จำเป็นมากคือ การสร้างความเชื่อถือ ในแง่นี้ มาตรฐานมีบทบาทในการสร้างความเชื่อถือให้กับสาธารณชนเพื่อส่งเสริมการนำเอาเทคโนโลยีบล็อกเชนไปใช้
ดังนั้น มาตรฐานไอเอสโอจึงสนับสนุนบล็อกเชนและ distributed ledger technologies โดยต้องการทำให้เกิดความเชื่อมั่นในปฏิสัมพันธ์ของบล็อกเชนซึ่งต้องมีการติดตามกฎ ระเบียบ และคู่มือขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ประยุกต์ใช้อย่างเป็นสากล ซึ่งได้จัดทำแล้วโดยคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 307, Blockchain and distributed ledger technologies เพื่อค้นหามาตรฐานแนวคิดบล็อกเชนและกลไกที่จะสนับสนุนการทำงานของบล็อกเชน
เนื่องจากเทคโนโลยีบล็อกเชนช่วยให้เกิดประโยชน์ในอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิผล เกิดความโปร่งใสมากขึ้น คณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 307 จึงทำการพัฒนากรอบมาตรฐานที่เหมาะสมเพื่อสร้างความมั่นใจในตลาดของเทคโนโลยีบล็อกเชน โดยให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในเทคโนโลยีบล็อกเชนเห็นพ้องต้องกันในมาตรฐานบล็อกเชน
โปร่งใส เชื่อถือได้ มั่นคงปลอดภัย
เครก ดันน์ ประธานคณะกรรมการ กล่าวว่าเป้าหมายของคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 307 คือเพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับการมาตรฐานด้านบล็อกเชน โดยพวกเขาสามารถบรรลุวิถีทางที่เห็นพ้องต้องกันในการปรับปรุงความมั่นคงปลอดภัย ความเป็นส่วนตัว ความสามารถในการเปลี่ยนแปลงขนาด และความสามารถในการสับเปลี่ยนทดแทน เป็นต้น เพื่อกระตุ้นให้เกิดการรับเอาเทคโนโลยีบล็อกเชนไปใช้และนำไปสู่นวัตกรรมที่ดีขึ้นด้วยความเชื่อถือและความมั่นคงปลอดภัย
ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกมากกว่า 50 ประเทศได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนามาตรฐานบล็อกเชนของคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 307 ซึ่งมีการจัดเตรียมความโปร่งใสที่จำเป็นเพื่อสนับสนุนการพัฒนามาตรฐานบล็อกเชนในอนาคต โดยรวมถึงประเด็นต่างๆ ที่เชื่อมโยงกับความมั่นคงปลอดภัยของเทคโนโลยี ความเป็นส่วนตัว และความเป็นอัตลักษณ์หรือการยืนยันตัวตนด้วย
สำหรับบิตคอยน์และคริปโทเคอร์เรนซีหรือสกุลเงินเข้ารหัสด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน เกี่ยวข้องกับเรื่องของความมั่นคงปลอดภัย การแบ่งปันข้อมูลซึ่งเหมาะสำหรับการบริหารจัดการในการทำธุรกรรมระหว่างองค์กร
สำหรับบทความในครั้งต่อไป จะได้กล่าวถึงเทคโนโลยีบล็อกเชนซึ่งมีธุรกิจอุตสาหกรรมหลายประเภทในประเทศต่าง ๆ ได้นำไปใช้ในระยะเวลาที่ประจวบเหมาะกับช่วงที่เกิดโรคระบาด COVID-19 พอดี ทำให้ได้รับประโยชน์ในการทำธุรกรรมเป็นอย่างมาก
ที่มา: https://www.iso.org/news/isofocus_142-5.html
Related posts
Tags: blockchain, Cryptocurrency, Distributed Ledger, DLT, ISO, Standardization
Recent Comments