บทความเรื่องบทความเรื่อง บล็อกเชน” เทคโนโลยีแห่งความเชื่อถือ ตอนที่ 1 และ บทความเรื่อง บล็อกเชน” เทคโนโลยีแห่งความเชื่อถือ ตอนที่ 2 ได้กล่าวถึงความสำคัญของบล็อกเชนในธุรกิจอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกด้านการทำธุรกรรมด้วยการบันทึกและทวนสอบที่เชื่อถือได้ โปร่งใส มีความมั่นคงปลอดภัย ดังนั้น คณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 307, Blockchain and distributed ledger technologies จึงได้พัฒนามาตรฐานบล็อกเชนให้ครอบคลุมเรื่องของความมั่นคงปลอดภัย โปร่งใส และเชื่อถือได้ และมีตัวอย่างของภาคส่วนที่นำบล็อกเชนไปใช้งาน เช่น ธุรกิจพลังงาน สถาบันการศึกษา และอุตสาหกรรมยา เป็นต้น
สำหรับบทความในตอนที่ 3 จะได้กล่าวถึงการใช้งานบล็อกเชนในภาคส่วนการขนส่ง ศุลกากร และศักยภาพในอนาคตดังต่อไปนี้
บล็อกเชนกับการขนส่ง และศุลกากร
ในซัพพลายเชนอาหารระดับโลก มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่หลากหลายและมีกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ของผู้เกี่ยวข้องตั้งแต่ต้นจนถึงปลายทาง ดังนั้น จึงมีการเตรียมแพลตฟอร์มบล็อกเชนที่อำนวยความสะดวกด้านความสอดคล้องของมาตรฐานอาหารจากภาคส่วนการเกษตรที่เชื่อมโยงกันตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทางให้มีความโปร่งใสและเชื่อถือได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านการรับรองความปลอดภัยของอาหารและแหล่งกำเนิด ซึ่งได้เริ่มทำแล้วในประเทศไอร์แลนด์และอิตาลี และมีการเชื่อมโยงบล็อกเชนกับการขนส่งสินค้าประเภทที่เสียหายได้ (perishable goods) ระหว่างประเทศ รวมทั้งมีการนำไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดความมีประสิทธิภาพในกระบวนการทางศุลกากร ซึ่งเป็นกรณีการใช้งานในประเทศอิสราเอลและสิงคโปร์
ระบบนิเวศของบล็อกเชน สำเร็จได้ด้วยความร่วมมือ
ยูเลียน บริงเงอร์ เป็นซีอีโอและผู้เชี่ยวชาญด้านการเข้ารหัสของบริษัทคาลิสเท็คซึ่งเชี่ยวชาญด้านการแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคงปลอดภัยและเป็นผู้ประสานงานของกลุ่มงานคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 307 กลุ่มงาน WG 2, Security, privacy and identity กล่าวว่าระบบการกระจายเครือข่ายของบล็อกเชนซึ่งเป็นอุปสรรคที่สำคัญอย่างหนึ่งเมื่อนำไปใช้อย่างกว้างขวางก็คือ การใช้เทคโนโลยีจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงพาราไดม์ เพราะในบริบทของบล็อกเชน อำนาจไม่ได้อยู่เพียงภาคส่วนใดภาคส่วนหนึ่งหรือผู้ใช้เท่านั้น แต่ยังมีภาระผูกพันกับสมาคมที่จะเข้ามาร่วมกันทำให้มั่นใจว่าระบบจะทำงานในลักษณะที่เชื่อถือได้
โครงสร้างทางการเมืองและเศรษฐกิจเป็นปัจจัยอันเบ็ดเสร็จในการทำให้เกิดระบบนิเวศที่จะปรับตัวในวิถีทางของการปฏิบัติงานและการดำเนินธุรกิจที่ใช้บล็อกเชน
อย่างไรก็ตาม ในโลกแห่งความเป็นจริง ไม่ใช่ทุกคนทุกองค์กรจะมีความสนใจเหมือนกัน แต่ก็จำเป็นจะต้องมีความเห็นพ้องต้องกันระหว่างผู้ใช้งานขั้นสุดท้ายและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กุญแจสำคัญคือการทำให้ทุกคนเห็นพ้องต้องกันซึ่งเป็นบทบาทของไอเอสโอเพื่อเร่งให้มีการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนไปใช้
พลังแห่งความเป็นไปได้
โดยสรุป สาระสำคัญของบล็อกเชนคือเทคโนโลยีที่กำลังเกิดขึ้นที่มีความสามารถในการเตรียมเครือข่ายและองค์กรทั่วโลกให้มีความมั่นคงปลอดภัย ความโปร่งใส ความรับผิดชอบ และความมีประสิทธิภาพผ่านการทำธุรกรรมไร้พรมแดนและเท่าเทียมกัน เทคโนโลยีบล็อกเชนและคริปโทเคอร์เรนซีเป็นสิ่งที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงธุรกิจอุตสาหกรรมและการดำเนินชีวิตของเราต่อไป
ระบบนิเวศใหม่ในปัจจุบันกำลังใช้โครงสร้างที่มีพื้นฐานในเรื่องบล็อกเชนและแนวทางการแก้ไขปัญหาในการสร้างโมเดลธุรกิจเชิงนวัตกรรมและดัสรัพท์ธุรกิจแบบดั้งเดิมซึ่งมีข้อจำกัดในเรื่องของเทคโนโลยี
เราสามารถสร้างแพลตฟอร์มแบบใหม่ด้วยบล็อกเชนซึ่งมีกลุ่มผู้มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของและสร้างเครื่องจักรที่มี workflow ข้ามธุรกิจ ทำให้สามารถแบ่งปันข้อมูลทางธุรกิจและกระบวนการผ่านขอบข่ายขององค์กรได้
แต่คำถามหนึ่งที่ยังคงอยู่ คือ แล้วบล็อกเชนจะได้ผลจริงหรือไม่
เมื่อพิจารณาดูแล้ว เทคโนโลยีบล็อกเชนเกิดขึ้นมาอย่างมากมายและมีการใช้งานที่หลากหลาย เราจะเชื่อมั่นในเทคโนโลยีบล็อกเชนได้อย่างไร เมื่อตระหนักถึงปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นของมนุษย์แล้ว เทคโนโลยีไม่ได้แก้ปัญหาให้เราได้ทั้งหมด แต่เราต้องสร้างเทคโนโลยีขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ไอเอสโอได้ตระหนักถึงประเด็นเหล่านี้ จึงให้ความสำคัญและมีพันธสัญญาในการพัฒนามาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับบล็อกเชนให้สูงขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง ซึ่งจะต้องทำให้เทคโนโลยีนี้สามารถทำงานให้เราได้ในโลกอนาคตด้วย และเทคโนโลยีบล็อกเชนนั้น ต้องสร้าง “ความเชื่อถือ” ให้เกิดขึ้นให้ได้เป็นสำคัญ
ที่มา: https://www.iso.org/news/isofocus_142-5.html
Related posts
Tags: blockchain, Cryptocurrency, Distributed Ledger, DLT, ISO, Standardization
Recent Comments