บทความเรื่อง สานฝันนวัตกรให้กลายเป็น “นวัตกรรม” ด้วย ISO 56002 ตอนที่ 1 ได้กล่าวถึงนวัตกรรมที่คนแต่ละยุคสมัยได้สร้างสรรค์ขึ้นมาและเป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติ จนกระทั่งนำพาโลกของเราเข้าสู่อุตสาหกรรมยุคดิจิทัล ซึ่งนวัตกรทั่วโลกยังมีโอกาสที่จะสร้างสรรค์นวัตกรรมขึ้นมาใหม่ได้อีกมากมาย และเครื่องมือที่จะช่วยให้เกิดขึ้นได้ก็คือ มาตรฐาน ISO 56002 นั่นเอง
สำหรับบทความในตอนนี้จะกล่าวถึงการรับมือของธุรกิจอุตสาหกรรมต่อสถานการณ์โลกที่เต็มไปด้วยภัยคุกคามหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ สังคม หรือสิ่งแวดล้อม ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการนำมาตรฐาน ISO 56002 ไปประยุกต์ใช้ในองค์กร โดยมีตัวอย่างของธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในการนำมาตรฐานนี้ไปใช้ดังต่อไปนี้
โยฮัน กรุนด์สตอร์ม เอียริคสัน รองหัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์องค์กรและการตรวจประเมินด้านระบบการจัดการ และเป็นคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 279, Innovation Management ซึ่งมีประสบการณ์ด้านระบบการจัดการและการจัดการนวัตกรรมมาถึง 20 ปี โดยในช่วงแรกได้ทำงานอยู่ในแวดวงธุรกิจอาหาร และต่อมาได้เข้าสู่วงการเทเลคอมซึ่งทำให้เขามีประสบการณ์สูงขึ้นเป็นเวลายาวนานนับตั้งแต่เริ่มมีเทคโนโลยี 2G, 3G, 4G มาจนถึงปัจจุบัน ได้เข้าสู่ยุค 5G
เมล็ดพันธุ์แห่งความสำเร็จ
โซนี่โมบายล์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโซนี่ คอร์ปอเรชั่น บริษัทผู้ผลิตหม้อหุงข้าวไฟฟ้ารายแรกของโลกเมื่อปี 2501 (ค.ศ.1958) ได้ให้ความสนใจในเรื่องของนวัตกรรมในด้านวิศวกรรมศาสตร์และออกแบบเสียง วิดีโอ เกม และการสื่อสารเพื่อให้บริษัทยังคงมีผลิตภัณฑ์ล้ำยุคออกมาจำหน่ายอยู่เสมอ โซนี่เชื่อมั่นว่า “นวัตกรรม” เป็นสิ่งที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จในระยะยาว และสามารถอยู่รอดได้อย่างยั่งยืนในที่สุด
โยฮัน กรุนด์สตอร์ม เอียริคสัน ชี้ให้เห็นว่านวัตกรรมมีความสำคัญต่อองค์กรทุกองค์กร รวมทั้งองค์กรที่ไม่ใช่เชิงพาณิชย์และองค์กรสาธารณะด้วยซึ่งจำเป็นต้องได้รับการแนะนำและปรับสมดุลให้เหมาะสมกับกับภารกิจปัจจุบันและความต้องการขององค์กรตลอดจนความต้องการในอนาคตและการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น สิ่งนี้ใช้ได้กับโรงพยาบาลเทศบาลในระดับเมืองตลอดจนองค์กรพัฒนาเอกชน
นอกจากนี้ นวัตกรรมยังมีความสำคัญต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติด้วยตัวอย่างเช่น SDG 9 เรื่องนวัตกรรมอุตสาหกรรมและโครงสร้างพื้นฐาน (Industrial Innovation and Infrastructure)
เขายอมรับว่าการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและนวัตกรรมมีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ เขากล่าวว่าสิ่งนี้จะทำให้เห็นการทำงานร่วมกันมากขึ้นเพื่อแก้ปัญหาความต้องการของสังคมทั้งภาครัฐและเอกชนรวมทั้งมีโอกาสทางธุรกิจในการปรับเปลี่ยนโฉมใหม่ในรูปแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและจัดหาเทคโนโลยีสะอาด
ความเป็นผู้นำที่มุ่งมั่น
โยฮัน กรุนด์สตอร์ม เอียริคสัน กล่าวว่า ระหว่างปี 2557 (ค.ศ.2014) ถึงปี 2563 (ค.ศ.2020) มาตรฐานระบบการจัดการนวัตกรรมที่เกิดขึ้นใหม่ได้สร้างแรงบันดาลใจให้โซนี่ในระดับต่าง ๆ ในองค์กรต่าง ๆ และในทวีปต่าง ๆ ด้วย
มาตรฐานที่เกิดขึ้นใหม่ได้ให้ข้อมูลเชิงลึกของการรู้อนาคตไว้ล่วงหน้า รวมทั้งแนวคิดและข้อแนะนำที่มาจากแรงบันดาลใจและได้ทดลองซ้ำ ๆ มาเป็นเวลาหลายปีก่อนที่มาตรฐานระบบการจัดการนวัตกรรมจะเกิดขึ้น ทำให้เกิดนวัตกรรมที่พร้อมใช้งานและปรับให้เหมาะสมกับการใช้งานได้ดีที่สุดตามโครงสร้างใหม่ที่เกิดขึ้น
สำหรับเรื่องของนวัตกรรม ผู้นำต้องมีส่วนร่วมและมุ่งมั่นในแนวคิดใหม่ ๆ ต้องค้นหาโอกาสใหม่โดยมีกระบวนการ ร่วมกับการใช้ทรัพยากรอย่างสมดุลเพื่อลงทุนได้อย่างเหมาะสม สามารถปรับเปลี่ยนงบประมาณดำเนินการและวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบ มีการปรับปรุงวิธีการที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ได้ง่ายเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ รวมทั้งปฏิบัติตามข้อกฎหมายที่มีอยู่แล้วเพื่อหาตลาดใหม่ และเป็นไปตามข้อกำหนดของลูกค้ารวมทั้งกฎระเบียบภายในองค์กร
เขายังชี้ให้เห็นจุดขายใหม่สำหรับ ISO 56002 ซึ่งเป็นการประกาศความร่วมมือระดับโลกระหว่างโซนี่และ สำนักงานบริการโครงการแห่งสหประชาชาติ (UNOPS) ในการแสวงหานวัตกรรมเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายทางสังคม และการปรับปรุงความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างเป็นระบบ
นอกจากนี้ โซนี่ยังได้จัดทำ Sony Startup Acceleration Program ในระดับองค์กรที่โตเกียวและยุโรปซึ่งตอนนี้ได้กลายเป็นโครงสร้างพื้นฐานระบบการจัดการนวัตกรรมสำหรับความร่วมมือของโซนี่กับ UNOPS เพื่อทำงานร่วมกันในระดับองค์กรเพื่อแสวงหานวัตกรรมที่ยั่งยืน
การลงทุนในนวัตกรรม
ธุรกิจและองค์กรขนาดใหญ่มักเริ่มจากเล็ก ๆ โซนี่ก็เช่นกัน หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โซนี่เป็นเพียงแค่ร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้าในห้างสรรพสินค้าในกรุงโตเกียว ส่วน ADOX เป็นบริษัทวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนาดเล็กในบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา แม้บริษัทจะมีขนาดใหญ่ แต่มีพนักงานประมาณ 60 คน การที่จะลงทุนเพิ่มเพื่อนวัตกรรมของบริษัทเหล่านี้ จึงต้องมีแนวทางและเครื่องมือสำหรับการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ รายละเอียดจะเป็นอย่างไรนั้น โปรดติดตามต่อไปในครั้งหน้าซึ่งเป็นตอนจบค่ะ
ที่มา: https://www.iso.org/news/isofocus_142-1.html
Related posts
Tags: Future, Innovation, innovator, Intellectual Property, IoT, ISO, ISO 56002, M2M, Risk, Standardization, uncertainty
ความเห็นล่าสุด