บทความ เรื่องขนส่งยุคใหม่ ประหยัด อัจฉริยะ ตอนที่ 1 ได้สะท้อนมุมมองของการพัฒนายานพาหนะ การขนส่งและการเดินทางในอนาคตอันเป็นตัวขับเคลื่อนการพัฒนาทางเศรษฐกิจซึ่งจำเป็นต้องลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาผลาญเชื้อเพลิง และใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ มาช่วย เช่น ไอโอที ระบบอัจฉริยะ ด้วยเหตุนี้ ไอเอสโอจึงได้พัฒนามาตรฐาน ISO 37161: 2020 และ ISO 37162: 2020 ขึ้นมา เพื่อช่วยให้เราใช้พลังงานน้อยลงและลดผลกระทบของการขนส่งและการเดินทางที่มีต่อสิ่งแวดล้อม
มาตรฐานทั้งสองฉบับทำให้เรารู้แนวทางประหยัดพลังงานเพื่อนำไปใช้ในการขนส่ง และช่วยพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ เพื่อนำบริการด้านการขนส่งที่ยั่งยืนไปใช้โดยเน้นความต้องการของพลเมือง แต่หากต้องการรู้มากกว่านั้นว่าเมืองแห่งอนาคตจะมีแนวทางเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานของชุมชนอัจฉริยะอย่างไร ก็สามารถศึกษาได้จากมาตรฐาน ISO 37154: 2017, Smart community infrastructures – Best practice guidelines for transportation
สำหรับบทความในตอนที่ 2 จะกล่าวถึงตัวอย่างขององค์กรที่ให้ความสำคัญกับมาตรฐานด้านการขนส่งอัจฉริยะ ดังต่อไปนี้
อนาคตของอุปกรณ์โมบายเกี่ยวกับระบบอัจฉริยะจะแตกต่างจากในอดีตที่ผ่านมาอย่างสิ้นเชิง ความท้าทายและโอกาสเช่นนี้ทำให้สถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (Emirates Authority for Standardization andMetrology: ESMA) ได้เปิดตัวการประชุมเชิงปฏิบัติการประจำปี 2015 เรื่อง Future Mobility และจัดการประชุมเช่นนี้เป็นประจำเกือบทุกปี
การประชุมครอบคลุมหัวข้อตั้งแต่นวัตกรรมในระบบอัจฉริยะที่มีความสะอาด และเชื่อมต่อกับระบบนิเวศของโมบายเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน การประชุมประจำปีดังกล่าวเป็นการประชุมที่โดดเด่นเป็นที่น่าสนใจสำหรับผู้คนในวงการซึ่งมีผู้นำที่เชี่ยวชาญในสาขานี้มาประชุมร่วมกัน
ESMA ยังได้แนะนำโครงการควบคุมยานพาหนะโครงการแรกของโลกอาหรับซึ่งประเทศอื่นได้รับเอาไปใช้ในกลุ่มประเทศความร่วมมืออ่าวอาหรับ (Gulf Cooporation Council: GCC)
นอกจากนี้ ยังมีกฎระเบียบทางเทคนิคฉบับแรกของโลกที่ครอบคลุมเรื่องยานพาหนะไฮโดรเจนและเซลล์เชื้อเพลิงในภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ โครงการเหล่านี้มีรากฐานมาจากการแก้ไขปัญหาของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงไปเป็นการใช้ยานพาหนะคาร์บอนต่ำ
ยกตัวอย่างเช่น รัฐบาลของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ริเริ่มและนำกลยุทธ์ชาติด้านอุปกรณ์สมาร์ทโมบายไปใช้ รวมถึงกลยุทธ์ด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ และกลยุทธ์ด้านเอไอซึ่งมีส่วนทำให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งที่ยั่งยืน
ในเรื่องของการลงมือปฏิบัติตามนโยบาย หลายองค์กรได้นำเสนอการให้ความสำคัญกับผู้ที่เข้ามาจอดรถที่ใช้ยานพาหนะคาร์บอนต่ำก่อนเป็นลำดับแรกและยกเว้นค่าจอดรถ
ที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มีระบบการจัดเก็บเงินค่าทางด่วนที่มีชื่อว่าซาลิค (Salik) ซึ่งจัดเก็บเงินโดยไม่มีบูธหรือประตูกั้นบนทางหลวงแต่อย่างใด แต่ใช้แผ่นป้าย RFID (Radio Frequency Identification) สำหรับยานพาหนะไฟฟ้าแทน
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ไม่เก็บค่าผ่านทางด่วนสำหรับยานพาหนะที่ไม่ได้ใช้ในเชิงพาณิชย์มาตั้งแต่ปี 2560 (ค.ศ.2017) แล้วและจะยังคงให้บริการฟรีไปจนถึงปี 2564 (ค.ศ.2021)
แน่นอน นวัตกรรมเป็นตัวสร้างการเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในด้านต่างๆ รวมทั้งด้านการขนส่ง นับตั้งแต่ยานพาหนะบนท้องถนนไปจนถึงระบบอวกาศ ซึ่งไอเอสโอได้มีบทบาทอย่างยาวนานในการมาตรฐานรวมทั้งในเรื่องการขนส่งซึ่งทำให้มั่นใจในความปลอดภัยและความมีประสิทธิภาพ
การที่จะก้าวเดินต่อไปข้างหน้าเพื่อนวัตกรรมและการพัฒนาการออกแบบนั้น เรื่องของการก่อสร้างและการใช้ยานพาหนะจำเป็นต้องอาศัยความพยายามและความร่วมมือจากทั่วโลก
ที่ ESMA มีการสนับสนุนภาคส่วนการขนส่งที่ยั่งยืนที่รวมเอาประสบการณ์ในอดีตมาผนวกกับมุมมองใหม่ในการที่จะทำให้สามารถเปลี่ยนแปลงวิธีการเดินทางของพลเมืองให้ดียิ่งขึ้น
ผู้เชี่ยวชาญในการประชุมดังกล่าวได้อภิปรายถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่าง big data เอไอ ไอโอทีและทางเลือกใหม่ ๆ ที่กำหนดขึ้นเพื่อให้ตอบสนองภาคส่วนการขนส่งที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปสู่สิ่งใหม่ ๆ
ESMA ได้จัดการกับภัยคุกคามด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ในประเด็นข้อกำหนดสำหรับยานพาหนะไร้คนขับรวมทั้งโครงการของรัฐบาลสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เกี่ยวกับยานยนต์ไฮโดรเจนและเซลล์เชื้อเพลิง
ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนดังกล่าวทำให้แนวคิดในการสนับสนุนเรื่องการขนส่งและการเดินทางอย่างยั่งยืนเกิดขึ้นได้จริงและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนทำให้ประชาชนในประเทศเหล่านั้นมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วย
2. https://www.magcarzine.com/hybrid-vehicle-system/
3. https://bit.ly/2KtGTiZ
Related posts
Tags: Fuellcell, ISO, Smart Community, Smart Transportation, Standardization
Recent Comments