• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    15,990 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    15,135 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,513 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,359 view(s)
  • ISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืนISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืน
    10,208 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction IEC Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure UN water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | — ธันวาคม 4, 2020 8:00 am
โลกร่วมใจต่อสู้เพื่อเป้าหมาย SDG 13 ตอนที่ 1
Posted by Phunphen Waicharern with 2018 reads
0
  

SDG 13 TO COMBAT CLIMATE CHANGE 1เมื่อพูดถึงหมายเลข 13 เลขนี้เป็นเลขที่ใครหลายคนไม่ค่อยชื่นชอบเท่าใดนัก แต่สำหรับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ข้อ 13 ขององค์การสหประชาชาติ เป็นเป้าหมายที่ท้าทายและทั่วโลกกำลังร่วมกันฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ เพื่อก้าวสู่เป้าหมายให้ได้ภายในปี 2573  ซึ่งเป้าหมายนั้นก็คือ การร่วมกันแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Action) นั่นเอง

เป้าหมายดังกล่าวเน้นด้านนโยบายและกลไกสนับสนุนในการรับมือและการปรับตัวให้สามารถพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมีประด็นหลัก 3 ประเด็น ได้แก่ การเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวต่ออันตรายและภัยพิบัติจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบูรณาการมาตรการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเข้าไปในนโยบายระดับประเทศ และการสร้างความตระหนักในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งการเพิ่มขีดความสามารถของสังคมในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น

ทั้งนี้ สืบเนื่องจากอุณหภูมิเฉลี่ยของภูมิอากาศโลกมีความร้อนเพิ่มขึ้นและได้ส่งผลกระทบต่อความจำเป็นพื้นฐานหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความมั่นคงของน้ำและอาหารหรือความหลากหลายทางชีวภาพที่ลดน้อยลง พลังงาน ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น คลื่นความร้อนหรือภัยแล้งที่มากขึ้น เป็นต้น

จุดเริ่มต้นของการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมาจากการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (United Nations Conference on Environment and Development – UNCED หรือ การประชุม Earth Summit) ที่กรุงริโอ เดอจาเนโร ประเทศบราซิล เมื่อปี 2535 (ค.ศ.1992) ซึ่งข้อตกลงจากการประชุมในครั้งนั้นรู้จักกันในชื่อ “อนุสัญญาริโอ” (Rio Convention) รวมถึงการรับเอากรอบสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ไปใช้ทั่วโลก ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2537

การประชุมดังกล่าว กำหนดกรอบสำหรับการดำเนินการโดยมุ่งเป้าไปที่การรักษาระดับความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจก (GHGs) ในชั้นบรรยากาศเพื่อหลีกเลี่ยง “การรบกวนจากมนุษย์ที่เป็นอันตรายต่อระบบภูมิอากาศ” ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมากในการปรับทิศทางการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมระดับโลก

นอกจากนี้ ยังมีพิธีสารเกียวโตซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่เชื่อมโยงกับอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งกำหนดให้ประเทศภาคีลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามเป้าหมายโดยมีผลผูกพันตามกฎหมาย

พิธีสารเกียวโตได้รับการลงนามรับรองที่เมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่  11 ธันวาคม 2540 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2548

ส่วนความตกลงมาร์ราเกชหรือรายละเอียดข้อบังคับในการปฏิบัติตามพิธีสารเกียวโตได้รับการลงนามรับรองในที่ประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 7 (COP7) ที่เมืองมาร์ราเกช ประเทศโมรอกโก เมื่อปี 2544 (ค.ศ.2001) ระยะผูกพันช่วงแรกเริ่มขึ้นในปี 2551(ค.ศ.2008) และสิ้นสุดลงในปี 2555 (ค.ศ.2012)  โดยในส่วนข้อตกลงแก้ไขพิธีสารเกียวโตได้รับการลงนามรับรองที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2555  

ต่อมาในเดือนธันวาคม 2558 (ค.ศ.2015) การประชุมภาคีครั้งที่ 21 หรือที่รู้จักกันในชื่อ COP21 ได้จัดขึ้นที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และมีการรับรองข้อตกลงปารีสซึ่งเป็นข้อตกลงสากลซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อรักษาอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกในศตวรรษนี้ให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส โดยมีเป้าหมายในการผลักดันให้จำกัดอุณหภูมิให้สูงขึ้น 1.5 องศาเซลเซียสเมื่อเปรียบเทียบกับระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม

จากเอกสารผลการประชุมริโอ กล่าวถึงอนาคตของโลกซึ่งจำเป็นต้องแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอันเป็นความท้าทายระดับโลกที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องร่วมกันแก้ไข อีกทั้งยังส่งผลกระทบระยะยาวสำหรับการพัฒนาอย่างยั่งยืนของทุกประเทศ

จากเอกสารดังกล่าว ประเทศสมาชิกยังแสดงความวิตกกังวลเกี่ยวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาซึ่งได้รับผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จากข้อวิตกกังวลเหล่านี้ ประเทศสมาชิกจึงได้เรียกร้องให้ทุกประเทศร่วมมือและมีส่วนร่วมกันอย่างกว้างขวางในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิผลและเหมาะสม

สำหรับประเทศไทยเป็นหนึ่งในภาคีสมาชิกที่ได้ลงนามในความร่วมมือ COP 21 โดยได้แสดงเจตจำนงในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในประเทศลงร้อยละ 20-25 จากปี ค.ศ. 2009 ภายใน ปีค.ศ. 2030 ดังนั้น จึงเป็นภารกิจที่มีความหมายและมีความท้าทายเป็นอย่างยิ่ง

จากบทบาทและเป้าหมายของประเทศไทยในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “ธุรกิจการซื้อขายคาร์บอนเครดิต”  การออกฉลากคาร์บอนของประเทศต่าง ๆ โครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด (CDM) เพื่อให้ทั่วโลกสามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้  ซึ่งในบทความในครั้งต่อไป จะนำเสนอเรื่องเกี่ยวกับโครงการ CDM โปรดติดตามค่ะ

ที่มา: https://sdgs.un.org/topics/climate-change



Related posts

  • บทบาทของมาตรฐานต่อเศรษฐกิจโลกบทบาทของมาตรฐานต่อเศรษฐกิจโลก
  • ไอเอสโอปรับปรุงชุดมาตรฐานยานพาหนะบนท้องถนนไอเอสโอปรับปรุงชุดมาตรฐานยานพาหนะบนท้องถนน
  • ไอเอสโอสนับสนุนงานมาตรวิทยาไอเอสโอสนับสนุนงานมาตรวิทยา
  • แนะนำมาตรฐานใหม่ระบบขนส่งอัจฉริยะด้วยระบบ LSADแนะนำมาตรฐานใหม่ระบบขนส่งอัจฉริยะด้วยระบบ LSAD
  • ไอเอสโอเผยแนวทางใหม่ล่าสุดให้บุคลากรมีส่วนร่วมกับองค์กรไอเอสโอเผยแนวทางใหม่ล่าสุดให้บุคลากรมีส่วนร่วมกับองค์กร

Tags: Carbon Label, Climate Change, Earth Summit, GHGs, ISO, Kyoto protocol, Rio Convention, SDG, SDG 13, Standardization, UNCED, UNFCCC

กดที่นี่เพื่อยกเลิกการตอบ

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

ความเห็นล่าสุด

  • Phunphen Waicharern บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak บน นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑