องค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้วันที่ 10 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันสิทธิมนุษยชนเพื่อระลึกปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนซึ่งถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี 2491 (ค.ศ.1948) นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สังคมโลกได้เดินหน้าเพื่อปฏิบัติตามหลักการสิทธิมนุษยชนได้อย่างมีประสิทธิผลมากขึ้นเป็นลำดับ อย่างไรก็ตาม ยังมีหลายสิ่งหลายอย่างที่ต้องพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
สำหรับไอเอสโอได้สร้างการรับรู้ด้านสิทธิมนุษยชนให้กับธุรกิจและองค์กรทั่วโลกไปพร้อม ๆ กับการสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) อยู่เสมอ และในปีนี้ โลกของเราเผชิญหน้ากับความท้าทายในเรื่องโรคระบาด COVID-19 ทำให้เรามองเห็นจุดอ่อนในสิ่งที่มนุษย์เรากำลังทำอยู่และสามารถมองเห็นสิ่งที่จำเป็นต้องโฟกัสไปในโลกอนาคต
โลกของเรามีความหวังว่าวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 จะช่วยให้ทุกสิ่งทุกอย่างดีขึ้น แต่ก็ยังวางใจไม่ได้เสียทีเดียว ผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่เราต้องตระหนักไว้ให้ดี แม้ว่าในหลายกรณี วิกฤตที่เกิดขึ้นสามารถตอบสนองจุดอ่อนที่เกิดขึ้นในระบบ ในสถาบัน และในองค์กรได้และพบว่าสามารถก้าวข้ามผ่านข้อจำกัดไปได้ก็ตาม
สิทธิมนุษยชนกับการพัฒนาอย่างอย่างยั่งยืน
ในขณะที่หลายฝ่ายกำลังประเมินความเสียหายทางเศรษฐกิจอยู่นั้น ผู้ที่มีวิสัยทัศน์ต่างถามว่าเราจะทำอย่างไรที่จะช่วยโลกให้ดีขึ้นกว่านี้ เช่นเดียวกับองค์การสหประชาชาติซึ่งได้มองไปที่วิธีการพัฒนาโลกของเราให้ดีขึ้นซึ่งได้วางเรื่องของสิทธิมนุษยชนไว้ที่ศูนย์กลาง
เนื่องจากผู้นำทั่วโลกต่างเน้นถึงปัญหาใหญ่ที่ไม่คาดคิด จึงถึงเวลาแล้วที่จะหันกลับมามองเรื่องพื้นฐานด้วย และองค์การสหประชาชาติก็มีความเด่นชัดเกี่ยวกับวิธีการทำงานและยุติการสร้างความแตกต่างในทุก ๆ เรื่อง มีการเน้นเรื่องความไม่เท่าเทียมกัน การกระตุ้นการมีส่วนร่วมและความสมัครสมานสามัคคี การส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งในหลายเรื่อง องค์การสหประชาชาติก็มีบทบาทที่เด่นชัดในการสนับสนุนมาตรฐานสากล
เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ถูกสร้างขึ้นมาด้วยการยอมรับในเรื่องสิทธิมนุษยชนว่าเป็นความภาคภูมิใจหรือเกียรติยศของมนุษย์ที่มีคุณค่า ซึ่งในวิถีเช่นนี้ สิทธิมนุษยชนถูกขับเคลื่อนด้วยความก้าวหน้าในเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน และด้วยตัวของสิทธิมนุษยชนนั่นเองก็ถูกขับเคลื่อนด้วยความก้าวหน้าในเรื่องสิทธิมนุษยชน และด้วยการสนับสนุนสมาชิกไอเอสโอเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้านการมาตรฐานและทำให้มั่นใจในความเข้าใจมาตรฐานไอเอสโอ ไอเอสโอจึงช่วยตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติได้
มิติด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ เป็นสิ่งที่มาตรฐานไอเอสโอให้ความสำคัญโดยตรง องค์กรและบริษัทที่กำลังมองหาการมีส่วนร่วมในเรื่องดังกล่าวกำลังจัดเตรียมเครื่องมือที่มีประสิทธิผลเพื่อช่วยให้ตื่นตัวพร้อมรับความท้าทาย
สำหรับแต่ละเป้าหมาย ไอเอสโอได้ระบุมาตรฐานที่มีส่วนที่มีนัยสำคัญมากที่สุด มาตรฐานไอเอสโอครอบคลุมเกือบทุกเรื่องนับตั้งแต่การแก้ไขปัญหาทางเทคนิควิชาการไปจนถึงระบบที่จัดการกระบวนการและคู่มือขั้นตอนการปฏิบัติงานซึ่งมีมาตรฐานจำนวนมากที่ตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนในแต่ละเป้าหมาย
10 ปีแห่งสิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของความรับผิดชอบต่อสังคม
มาตรฐาน ISO 26000 เป็นหนึ่งในมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับและมีการนำไปใช้กันอย่างกว้างขวาง สำหรับปี 2563 เป็นปีที่ครบรอบ 10 ปีของการเผยแพร่มาตรฐานนี้เป็นครั้งแรก ซึ่งนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา มาตรฐานนี้ก็ได้ช่วยให้มีการนำหลักการต่างๆ ผสมผสานไปกับหลักการด้านสิทธิมนุษยชนโดยจัดเตรียมแนวทางให้กับผู้ที่ต้องการมีส่วนร่วมมากขึ้นในการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ไอเอสโอได้พัฒนามาตรฐาน ISO 26000 ขึ้นมาและได้รับการยอมรับว่าเป็นวิธีการประเมินพันธสัญญาขององค์กรต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมทั้งสิทธิมนุษยชน ในขณะเดียวกันก็พัฒนาสมรรถนะทั้งหมดโดยรวมด้วย
ที่สำคัญคือ สิทธิมนุษยชนได้รับการเน้นทั้งในด้านการเป็นหลักการและหัวข้อหลักของมาตรฐาน ISO 26000 ซึ่งช่วยระบุสถานการณ์ความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน และให้แนวทางด้านการสอบทานธุรกิจและการร้องทุกข์ด้วย
มาตรฐานได้เปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี 2553 (ค.ศ.2010) และ 5 ปีต่อมา ผู้เชี่ยวชาญและผู้แทนองค์กรแรงงานกว่า 500 คนได้ปรับปรุงและพัฒนาให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ซึ่งหมายความว่ามาตรฐานนี้สามารถเป็นตัวแทนของการยอมรับอย่างเป็นเอกฉันท์
ดังเต้ เปช รองประธานกลุ่มงานธุรกิจและสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ และสตาฟฟาน ซอเดอแบร์ รองประธานกลุ่มงานไอเอสโอที่พัฒนามาตรฐาน ISO 26000 ชี้ให้เห็นว่ามาตรฐานได้ช่วยให้เข้าใจว่าสิทธิมนุษยชนเป็นหัวใจสำคัญสำหรับธุรกิจหรือองค์กรที่ต้องการมีส่วนร่วมในการพัฒนาอย่างยั่งยืน
นับตั้งแต่มีการเผยแพร่มาตรฐาน ISO 26000 เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ก็ได้มีประเทศต่างๆ มากกว่า 80 ประเทศได้รับเอามาตรฐานนี้ไปใช้ ส่วนใหญ่เป็นประเทศกำลังพัฒนาและไอเอสโอก็ได้เห็นว่ามาตรฐานนี้ได้เป็นแรงบันดาลใจให้กับหลายประเทศในการนำไปกำหนดนโยบายทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชน ซึ่งมาตรฐาน ISO 26000 จะเป็นแรงขับเคลื่อนอันสำคัญยิ่งที่จะทำให้เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนประสบความสำเร็จต่อไป
ที่มา: 1. https://www.iso.org/news/ref2582.html
2. https://www.iso.org/files/live/sites/isoorg/files/store/en/PUB100401.pdf
Related posts
Tags: COVID-19, Human Rights, Human Rights Day, ISO, ISO 26000, social responsibility, Standardization
Recent Comments