บทความ MASCIInnoversity เรื่อง อุตสาหกรรมการบินพร้อมก้าวข้าม COVID-19 สู่โลกอนาคต ตอนที่ 1 ได้นำเสนอว่า การที่โรคระบาด COVID-19 ยังคงเพิ่มขึ้นอยู่เรื่อยๆ ได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการบินรวมทั้งซัพพลายเชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ภาครัฐจึงให้ความสำคัญกับกลยุทธ์และให้ความช่วยเหลืออุตสาหกรรมการบิน ซึ่งบทความในตอนที่ 2 นี้จะกล่าวถึงความช่วยเหลือทางการเงินของภาครัฐในรูปแบบของเงินกู้ และมุมมองของเซฟเวอริน โดรโกล ผู้แทนชาวฝรั่งเศสในคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 20, Aircraft and space vehicles ต่ออุตสาหกรรมการบินในอนาคตที่จะต้องก้าวข้ามความท้าทายของโรคระบาด COVID-19 ให้ได้ ดังต่อไปนี้
ในยุโรป รัฐบาลหลายประเทศได้ให้ความช่วยเหลือทางการเงินในรูปแบบของเงินกู้ ซึ่งเพิ่มภาระหนี้สินให้กับสายการบินและจะเป็นอุปสรรคต่อความสามารถในการลงทุนในบริการใหม่ และการขยายการจ้างงาน และนี่คือผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการบินทั่วโลกในระยะสั้นที่พอมองเห็น แต่อะไรคือผลกระทบในระยะยาว อุตสาหกรรมการบินจำเป็นต้องมองหาผลกระทบในระยะสั้นและระยะกลางที่มีผลต่อสายการบินที่มีรายได้จากนักเดินทาง สายการบินขนส่งสินค้า บริษัทผู้ผลิตเครื่องบิน บริษัทที่บริหารจัดการสนามบิน การจัดเคเทอริ่ง และผู้ให้บริการอื่นๆ และผลกระทบต่อบริษัทเหล่านั้น
ผลกระทบในระยะยาว ประการคือ ประการแรก การจราจรทางอากาศที่ลดลง ประการที่สอง จำนวนเครื่องบินที่มาจากบริษัทการบินต่างๆ ที่น้อยลงเนื่องจากบางทีอาจมีการจัดองค์กรใหม่ของสายการบิน อุตสาหกรรมการบิน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอาจจะมีงานน้อยลง ขึ้นอยู่กับว่าสามารถฟื้นฟูกิจการได้เร็วขี้นมากแค่ไหน อย่างที่ได้กล่าวมาแล้ว อาจจะใช้เวลาอย่างน้อย 2 – 3 ปีเพื่อกลับมาอยู่ในสถานการณ์ปกติเมื่อเริ่มต้นปี 2563 (ค.ศ.2020) ในระยะยาว คือ 15 – 20 ปี การวิเคราะห์จะยิ่งซับซ้อนมากขึ้น ก่อนเกิดโรคระบาด จำนวนเครื่องบินและการจราจรทางอากาศทั่วโลกถูกกำหนดไว้ว่าจะมีมากขึ้นถึงสองเท่าในช่วง 15 ปีถัดไป แต่ปัจจุบัน คำถามคือเราสามารถรักษาสิ่งที่เกิดขึ้นไว้ต่อไปอีก 15 – 20 ปีตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ก่อนเกิด COVID-19 หรือไม่
เพื่อตอบคำถามดังกล่าว เราจำเป็นต้องถามว่า แล้วคนยังมีแนวโน้มที่จะอยากเดินทางเหมือนก่อนเกิดวิกฤตโรคระบาดหรือไม่ อะไรคือผลกระทบที่แท้จริงของการจราจรทางอากาศต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เราสามารถเข้าไปเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการบินด้วยรูปแบบใหม่ของการใช้เทคโนโลยีดิสรัพท์ที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักหรือไม่ เช่น เครื่องบินไฟฟ้าหรือพลังงานไฮโดรเจน แล้วโอกาสของอุตสาหกรรมการบินในยุคนิวนอร์มอลจะอยู่ที่ไหน
ถ้าเราเชื่อว่านิวนอร์มอลจะไม่อยู่ห่างไกลจากสถานการณ์ก่อน COVID-19 แม้ว่าจะมีมุมมองที่เลวร้ายในปัจจุบันจากอุตสาหกรรมการบินอยู่ ทันทีที่วัคซีนที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยได้รับพัฒนาและนำมาใช้ได้จริงๆ ถึงแม้ว่าจะมีไวรัสกลายพันธุ์เกิดขึ้นอยู่ด้วย เราก็น่าจะกลับไปสู่สถานการณ์ก่อนเกิดโรคระบาดได้ในแง่ของตลาด แต่สำหรับสายการบินสำหรับผู้โดยสาร สายการบินขนส่งสินค้า บริษัทผู้ผลิตเครื่องบิน บริษัทที่บริหารจัดการสนามบินและเคเทอริ่งและผู้ให้บริการอื่นๆ อาจจะต้องใช้เวลาหลายปีเพื่อฟื้นตัวกลับมา ในขณะที่บางบริษัทอาจจะไม่ดำเนินกิจการต่อ
บริษัทการบินบางบริษัทได้ตัดสินใจหันกลับไปเปิดกิจการเพียงบางส่วนแล้วซึ่งรวมถึงการลดเที่ยวบินลงและยกเลิกเครื่องบินประหยัดออกไป ส่วนอุตสาหกรรมการบินพลเรือนจะมีโอกาสในการปรับเปลี่ยนตัวเองไปเป็นสายการบินราคาประหยัดอย่างมีประสิทธิภาพด้วยการจราจรทางอากาศอย่างยั่งยืน
รัฐบาลยุโรปบางประเทศได้สนับสนุนความพยายามในการพัฒนาเทคโนโลยีดัสรัพท์ที่มีศักยภาพใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยการวิจัยทางการเงินและใช้เทคโนโลยี ตัวอย่างเช่น รัฐบาลฝรั่งเศสจะสนับสนุนการเงินให้กับอุตสาหกรรมการบินเพื่อปรับปรุงอุตสาหกรรมการบินในวงเงินสี่ถึงห้าพันล้านยูโร
นอกจากนี้ ยังมีโอกาสในการลดการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สำหรับการพัฒนาและปฏิบัติการกับการบินสีเขียว และระบบการขนส่งทางอากาศสีเขียวรวมทั้งสนามบินสีเขียวให้มากขึ้น ตัวอย่างเช่น การพัฒนาเครื่องยนต์ของเครื่องบินที่ใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนจะเกิดขึ้นได้จริงภายในปี 2578 (ค.ศ.2035)
สมาคมเซลล์เชื้อเพลิงและไฮโดรเจนแห่งประเทศฝรั่งเศส (French Association for Hydrogen and Fuel Cells) ซึ่งมีกลุ่มพลังงานหลักรวมกันทั้งหมด 33 กลุ่มในภาคพลังงานอันรวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักในอุตสาหกรรมการบิน ได้ร้องขอเงินจากรัฐบาลเป็นจำนวนเงินราว 10.3 พันล้านเหรียญยูโรในระหว่างปี 2563 – 2573 (ค.ศ.2020 – 2030) เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีพลังงาน วัตถุประสงค์ของโครงการพลังงานนี้คือเพื่อบรรลุการใช้พลังงานไฮโดรเจนซึ่งปราศจากคาร์บอนให้ได้ 10% ภายในปี 2566 (ค.ศ.2023) และเพิ่มการใช้พลังงานคาร์บอนจาก 20% เป็นการใช้พลังงานไฮโดรเจน 40% ภายในปี 2571 (ค.ศ.2028) โดยมีเป้าหมายสุดท้ายคือทำให้ยุโรปเป็นผู้นำในภาคส่วนพลังงานระหว่างปี 2563 – 2573 แล้วมาตรฐานไอเอสโอจะช่วยให้สามารถตอบสนองความจำเป็นใหม่นี้ได้อย่างไร ประโยชน์ของมาตรฐานไอเอสโอคือจะเป็นการสนับสนุนการพัฒนาใหม่ในการวิจัยและในเทคโนโลยีดิสรัพท์ใหม่
การใช้พลังงานที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าหรือพลังงานไฟฟ้าผสมผสานกับพลังงานอื่นๆ จะเร่งให้เทคโนโลยีที่ปฏิวัติการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมจากการใช้ยานยนต์ไปสู่การใช้ทางน้ำ และอุตสาหกรรมการบินก็ไม่มีข้อยกเว้น ในบริษัทผู้ผลิตเครื่องบินยักษ์ใหญ่อย่างโบอิ้งและแอร์บัส ได้ทำการบ้านมาอย่างดีในเรื่องนี้โดยมีการเตรียมการสำหรับเที่ยวบินที่ใช้ไฟฟ้าและมีเป้าหมายที่จะทำให้เป็นพื้นฐานสำหรับอุตสาหกรรมในอนาคตและทำให้เกิดการยอมรับในอุตสาหกรรมการบินพาณิชย์ซึ่งใช้พลังงานทางเลือกสำหรับขับเคลื่อนการบินในอนาคต รวมทั้งยานพาหนะทางอากาศที่ใช้ในเมืองด้วย
คณะกรรมการวิชาการไอเอสโอ ISO/TC 20 กำลังพิจารณาว่าก้าวต่อไปที่จะทำให้อุตสากรรมการบินก้าวข้ามความท้าทายเหล่านั้นคืออะไร แต่ตอนนี้อาจจะเร็วเกินไปที่จะให้คำตอบ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เป็นความท้าทายที่สำคัญสำหรับคณะกรรมการวิชาการก็คือความสามารถในการมองเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นวันต่อวันซึ่งขึ้นอยู่กับความความต้องการใหม่ที่เกิดขึ้นคืออะไร โดยนัยนี้ สิ่งที่เป็นไปได้ในการพิจารณาก็คือการทำให้คณะกรรมการนี้สามารถจัดการกับความท้าทายใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิผล และความสามารถในการดำเนินการอย่างยั่งยืนเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมการบินต่อไป
คำอธิบายของเซฟเวอริน โดรโกล ผู้แทนชาวฝรั่งเศสในคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 20 และประธานที่ปรึกษาด้านอวกาศของบริษัท เอสดีคอนซัลติ้ง ทำให้เรามองเห็นอนาคตของอุตสาหกรรมการบินว่าสิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงไปในอนาคตมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องของการมีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องที่จะส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างการใช้พลังงานสะอาดรวมทั้งการดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและสังคม อันเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืน(SDGs) ของโลกนั่นเอง
ที่มา https://www.iso.org/news/ref2585.html
Related posts
Tags: Aircraft and space vehicles, Aircraft Industry, COVID-19, IATA, ISO, Standardization
Recent Comments