“เครื่องเทศ” เป็นส่วนผสมที่ปรากฏอยู่ในวัฒนธรรมอาหารการกินของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยโบราณ เครื่องเทศช่วยให้อาหารมีรสชาติมากขึ้น ดับกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ของวัตถุดิบที่นำมาประกอบอาหาร ทำให้อาหารน่ารับประทานมากขึ้น และยังมีสรรพคุณทางยาด้วย อย่างไรก็ตาม องค์ประกอบที่สำคัญและขาดไม่ได้ของเครื่องเทศก็คือองค์ประกอบด้านความชื้นซึ่งส่งผลต่อรสชาติและรสสัมผัส ตลอดจนระยะเวลาที่เหมาะสมกับการใช้งาน
มาตรฐาน ISO 939, Spices and condiments – Determination of moisture content สามารถใช้อ้างอิงในการวัดความชื้นในเครื่องปรุงประเภทต่างๆ ซึ่งมีทั้งเครื่องเทศที่เป็นส่วนผสมในการเตรียมปรุงอาหารและเครื่องเทศที่ใช้เหยาะเพื่อเพิ่มรสชาติหลังจากปรุงอาหารเสร็จแล้ว เช่น กานพลู จันทน์เทศ มัสตาร์ด พริกไทย เป็นต้น
มาตรฐานนี้เพิ่งได้รับการปรับปรุงเมื่อต้นปี 2564 (ค.ศ.2021) เพื่อให้มีความทันสมัยและมั่นใจในรสชาติของความเผ็ดร้อนของเครื่องเทศ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับหลักการ สารที่ใช้ในการวิเคราะห์ทางเคมี อุปกรณ์ และคู่มือขั้นตอนการดำเนินงานที่ใช้ในการวัดความชื้นของเครื่องเทศที่ใช้ในวิธีการปรุงตามวิธีการ โดยส่วนที่มีการปรับปรุง เช่น ความชัดเจนของคำศัพท์ ความหมายของคำศัพท์ เป็นต้น
ผู้ที่สนใจมาตรฐาน ISO 939 สามารถศึกษามาตรฐานที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมได้ด้วย เช่น การสุ่มตัวอย่างเครื่องเทศและการจัดเตรียมตัวอย่างเพื่อวิเคราะห์ ISO 948, Spices and condiments — Sampling และ ISO 2825, Spices and condiments — Preparation of a ground sample for analysis
มาตรฐาน 939 ได้รับการพัฒนาโดยคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 34, Food products คณะอนุกรรมการวิชาการ SC 7, Spices, culinary herbs and condiments โดยมีเลขานุการคือ BIS ซึ่งเป็นสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศอินเดีย
ผู้สนใจมาตรฐานดังกล่าว สามารถศึกษาได้จากห้องสมุดสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) หรือสั่งซื้อได้จากเว็บไซต์ของไอเอสโอ ISO Store
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2619.html
Related posts
Tags: Culinary herbs, Food products, ISO, ISO 939, moisture content, Spices and condiments, Standardization
Recent Comments