สภาเศรษฐกิจโลก (The World Economic Forum : WEF) เป็นมูลนิธิที่ไม่แสวงหาผลกำไร ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2514 (ค.ศ. 1971) โดยศาสตราจารย์เคล้าส์ ชวอบ (Professor Klaus Schwab) ศาสตราจารย์ชาวเยอรมัน สาขาวิชาธุรกิจ แห่งมหาวิทยาลัยเจนีวา เดิมมีชื่อว่าสภาผู้บริหารยุโรป (European Management Forum) ต่อมาเมื่อปี 2530 (ค.ศ. 1987) ได้เปลี่ยนเป็นชื่อสภาเศรษฐกิจโลก โดยได้รับความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชน สมาชิกองค์กรประกอบด้วยผู้บริหารสูงสุดของบริษัทชั้นนำของโลก ผู้นำของประเทศต่างๆ ผู้กำหนดนโยบาย ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ นวัตกร เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อกำหนดวาระอุตสาหกรรม แห่งภูมิภาคและโลกและเป็นเวทีของการแก้ไขความขัดแย้งระหว่างประเทศ รวมทั้งสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงอย่างสร้างสรรค์
สภาเศรษฐกิจโลกมีความห่วงใยในสถานการณ์โลกที่เต็มไปด้วยการหยุดชะงักขององค์กรธุรกิจ ความผันผวนของเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงของสังคมและเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว เมื่อปลายปี 2563 (ค.ศ.2020) จึงได้จัดทำและเผยแพร่คู่มือสำหรับหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินงานซึ่งประกอบไปด้วยวิธีการและเทคนิคในการตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดการหยุดชะงักและเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วซึ่งรู้จักกันว่าเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่ และมาตรฐานก็เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่เป็นหัวใจสำคัญที่ได้รับการแนะนำไว้ในรายงานที่ช่วยให้ภาครัฐสามารถแก้ไขปัญหาและก้าวข้ามอุปสรรคไปได้
คู่มือดังกล่าวมีชื่อว่า Agile Regulation for the Fourth Industrial Revolution: A Toolkit for Regulators ซึ่งได้ให้เทคนิคการตอบสนองอย่างมีประสิทธิผลต่อนวัตกรรมและการหยุดชะงักการดำเนินงานขององค์กร การใช้มาตรฐานนี้ได้เน้นว่าคู่มือเป็นวิธีการที่ช่วยให้สามารถสร้างความเชื่อถือหรือความเชื่อมั่นในการนำองค์กรของอุตสาหกรรม ซึ่งมาตรฐานนับเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องส่วนหนึ่งของภาครัฐในการสร้างความร่วมมือในด้านกฏระเบียบซึ่งจำเป็นต้องมีการประกันคุณภาพเกี่ยวกับกระบวนการซึ่งมีการออกแบบ การนำไปใช้และการทบทวนเกี่ยวกับการควบคุมหรือการปกครอง ซึ่งไอเอสโอและไออีซี หรือคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐานสาขาอิเล็กทรอเทคนิกส์ (International Electrotechnical Commission) ได้ร่วมกันจัดทำแนวทางด้านมาตรฐานเพื่อสนับสนุนด้านกฎระเบียบ ทำให้คู่มือของสภาเศรษฐกิจโลกมีการแนะนำมาตรฐานสมัครใจเพื่อช่วยสนับสนุนและกระตุ้นให้เกิดการสร้างนวัตกรรม
อันที่จริงแล้ว คู่มือดังกล่าวมีความยืดหยุ่นมากกว่าที่จะเป็นการควบคุมตามกฎระเบียบ ดังนั้น จึงช่วยให้สามารถก้าวทันนวัตกรรมที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีต่างๆ เนื่องจากได้มีการพัฒนาและทบทวนด้วยวิธีการที่ทันสมัยอย่างทันเหตุการณ์ ซึ่งไอเอสโอก็ได้จัดทำหลักการวิธีปฏิบัติที่ดีสำหรับวิธีการพัฒนามาตรฐานไว้ด้วย
อย่างไรก็ตาม ในคู่มือนี้ได้ระบุว่าเทคนิคต่างๆ ที่กล่าวในคู่มือก็ใหม่เกินไปที่จะมีหลักฐานเอกสารมายืนยันให้ครบถ้วนถูกต้องอย่างมีนัยสำคัญ และการที่การนำคู่มือไปใช้ก็ต้องกระตุ้นให้หน่วยงานกำกับดูแลมีการติดตามและประเมินผลกระทบและมีส่วนร่วมอย่างใกล้ชิดในการพัฒนาวิธีปฏิบัติของกฎระเบียบต่างๆ ด้วย
เบลินดา คลีแลนด์ หัวหน้าฝ่ายวิจัยและนวัตกรรมของไอเอสโอ กล่าวว่าแน่นอนว่าคู่มือใหม่นี้เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในทุกวันนี้
ไอเอสโอมีความยินดีที่ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำคู่มือดังกล่าวและแสดงบทบาทด้านมาตรฐานที่ช่วยส่งเสริมให้การจัดทำกฎระเบียบมีความยืดหยุ่นพอสมควร การที่ไอเอสโอได้ร่วมทำงานกับหน่วยงานที่กำกับดูแลของประเทศสมาชิกอย่างใกล้ชิดทำให้มั่นใจได้ว่ามาตรฐานสากลที่ได้พัฒนาขึ้นมา เป็นเครื่องมือที่มีความเหมาะสมและสามารถนำไปใช้ได้ได้เป็นอย่างดีเพื่อให้ตอบสนองต่อเป้าหมายในประเด็นด้านนโยบายสาธารณะอย่างมีประสิทธิผล
ที่มา: 1. https://www.iso.org/news/ref2615.html
2. https://thestandard.co/world-economic-forum-2020/
Related posts
Tags: A Toolkit for regulators, Agile regulations, Agility, IEC, ISO, Regulations, Standardization, WEF
Recent Comments