• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    15,990 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    15,135 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,512 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,358 view(s)
  • ISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืนISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืน
    10,208 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction IEC Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure UN water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | — กุมภาพันธ์ 22, 2021 8:00 am
สตาร์ทอัพดาวรุ่งในออสเตรียกับการมาตรฐาน
Posted by Phunphen Waicharern with 1723 reads
0
  

Austrian-Standardsสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศออสเตรีย หรือ ASI (Austrian Standards International) ซึ่งเป็นสมาชิกของไอเอสโอ ได้ก้าวไปอีกขั้นหนึ่งกับการพัฒนามาตรฐานเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้คน  โดย ASI เป็นสถาบันมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับสูงสุดในด้านการมาตรฐานและนวัตกรรมในธุรกิจและงานวิจัยของประเทศออสเตรีย เนื่องจากได้มีส่วนสำคัญที่ทำให้ธุรกิจและนวัตกรรมในประเทศประสบความสำเร็จจากแนวคิดและเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มีศักยภาพในการส่งออกและเป็นธุรกิจสำหรับโลกอนาคต

ในประเทศออสเตรีย ได้ริเริ่มรางวัลมาตรฐานสำหรับผู้ที่อุทิศผลงานให้กับการมาตรฐานและนวัตกรรมเมื่อหลายปีมาแล้ว และในปีนี้เป็นการจัดงานในปีที่ 7 เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2564 (ค.ศ.2021)

สำหรับรางวัล 2021 Living Standards มีคณะกรรมการตัดสินซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลก และมีผู้สมัครจากภาคส่วนธุรกิจ นักวิทยาศาสตร์ และผู้สนใจกว่า 300 ราย และที่พิเศษกว่าทุกปีคือการนำเสนอผลงานทำในรูปแบบดิจิตอลเนื่องจากภาวะการเกิดโรคระบาด COVID-19

การประกวดรางวัลดังกล่าวมาจากผลงานที่มีความหลากหลาย ทำให้การตัดสินไม่ใช่เรื่องง่ายนัก  เกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินจึงต้องมีหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมและมีคุณค่าอย่างแท้จริง ซึ่งคณะกรรมการได้ใช้เกณฑ์ดังต่อไปนี้คือ เรื่องของความสามารถในการแก้ไขปัญหา การเข้าถึงตลาดระหว่างประเทศ และการพัฒนาเทคโนโลยีแห่งอนาคต

ส่วนแนวคิดของผู้เข้าชิงรางวัลมีตั้งแต่เรื่องของการมุ่งสู่ตลาดโลก ซึ่งมาตรฐานทำให้เกิดผลดีในชีวิตประจำวันในเรื่องของความมั่นใจในคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์และบริการ นอกจากนี้ ยังข้อแนะนำเชิงปฏิบัติที่กลายเป็นแนวนคิดนวัตกรรมที่ช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ได้ดีและทำให้การทำงานของเทคโนโลยีในโลกอนาคตเป็นเรื่องง่าย

สำหรับผู้ได้รางวัลในปีนี้  มาจากการคัดผลงานจำนวน 15 รายเพื่อเข้ารับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล 5 รางวัล ซึ่งบริษัทที่ได้รับรางวัลมีดังต่อไปนี้

  1. cortEXplore ได้รับรางวัลประเภทความสามารถในการแก้ไขปัญหา(ด้วยการใช้ภาพจำลองสามมิติสำหรับการผ่าตัดสมอง) บริษัทก่อตั้งเมื่อปี 2561 (ค.ศ.2018) เป็นบริษัทที่ใช้เทคโนโลยีเฉพาะที่พัฒนาระบบนำทางสำหรับการผ่าตัดสมองเพื่อให้มีความแม่นยำตั้งแต่การวางแผน การจำลองภาพผ่าตัด และการปฏิบัติการผ่าตัด โดยสามารถวางแผนและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นให้แก่คนไข้ โดยมาตรฐานที่บริษัทนำไปใช้ คือมาตรฐานระบบคุณภาพสำหรับอุปกรณ์ทางการแพทย์ ( EN ISO 13485) และมาตรฐานการบริหารความเสี่ยงสำหรับเครื่องมือแพทย์ (EN ISO 14971)
  2. BHS #Technologiesได้รับรางวัลประเภทการเข้าถึงตลาดต่างประเทศ (ด้วยแขนกลหุ่นยนต์ที่ใช้ในห้องปฏิบัติการผ่าตัด)เป็นบริษัทที่ใช้เทคโนโลยีเฉพาะสำหรับเครื่องมือที่ใช้ในห้องผ่าตัด ถือเป็นบริษัทแห่งแรกของโลกที่ทำกล้องขนาดเล็กเพื่อการผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ซึ่งทำให้แพทย์ที่ทำการผ่าตัดสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระด้วยแขนหุ่นยนต์ พร้อมทั้งกล้องไมโครสโคปยังปรับให้เข้ากับการเคลื่อนไหวในส่วนศีรษะด้วย   เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับการยศาสตร์ (ergonomics) ของศัลยแพทย์ซึ่งนอกจากจะเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระแล้ว ยังทำให้มองเห็นภาพรวมได้ดีขึ้นระหว่างการผ่าตัดด้วย ซึ่งมาตรฐานสากลที่บริษัทนำไปใช้ คือ ระบบบริหารงานคุณภาพสำหรับเครื่องมือแพทย์  (ISO 13485)  และมาตรฐานสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ (Software Architecture) (IEEE Standard 1471)
  3. สตาร์ทอัพ AQT ได้รับรางวัลประเภทการพัฒนาเทคโนโลยีแห่งอนาคต (ด้วยการใช้เทคโนโลยีควอนตัมคอมพิวเตอร์) บริษัทมีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาเทคโนโลยีควอนตัมคอมพิวเตอร์ซึ่งสามารถประมวลผลข้อมูลจำนวนมหาศาลได้ในเวลาที่รวดเร็วอันเนื่องจากการพึ่งพาทฤษฎีทางกลศาสตร์ควอนตัม AQT เป็นบริษัทสตาร์ทอัพจากทวีปยุโรปบริษัทแรกที่นำควอนตัมคอมพิวเตอร์ขึ้นสู่คลาวด์ โดยใช้เวลาศึกษาวิจัยมานานกว่า 20 ปี จนสามารถสร้างผลงานที่ประสบความสำเร็จ
  4. Purency #GmbH  ได้รับรางวัลประเภทการพัฒนาเทคโนโลยีแห่งอนาคต (ด้วยการค้นหาไมโครพลาสติกได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว) บริษัทเป็นสตาร์ทอัพที่เกิดขึ้นมาพร้อมๆ กับช่วงที่เกิดโรคระบาดไวรัสโคโรนาเมื่อเดือนสิงหาคม 2563 เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพโดยลดการรั่วไหลของพลาสติกและไมโครพลาสติกลงสู่สิ่งแวดล้อมและการควบคุมคุณภาพเกณฑ์วิธีการดำเนินการซึ่งใช้การวิเคราะห์ข้อมูลของการวัดไมโครพลาสติก อย่างแม่นยำและรวดเร็วด้วยแมชชีนเลิร์นนิ่ง จากเดิมที่ใช้เวลานานนับหลายชั่วโมงจนกระทั่งลดเหลือเพียงเวลาประมาณ 10 นาที ทำให้ทราบถึงประเภท จำนวน และขนาดของไมโครพลาสติกอย่างชัดเจน และบริษัทยังได้เข้าร่วมในคณะกรรมการวิชาการไอเอสโอ ISO / TC 61 / SC 14 / WG 4 Environmental aspects ด้วย
  5. TTTech #Group ได้รับรางวัลประเภทมาตรฐาน IEEE (ด้วยการวิจัยที่เน้นเทคโนโลยีอีเทอร์เน็ต) บริษัทเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีด้านการควบคุมความปลอดภัยและเครือข่ายเรียลไทม์โดยให้บริการเทคโนโลยีซอฟต์แวร์นวัตกรรม ซึ่งสร้างความมั่นใจให้กับระบบอิเล็กทรอนิกส์ในภาคอุตสาหกรรมรวมถึงภาคการขนส่งทั้งภาคพื้นดินและอวกาศโดยใช้ไอโอทีและเทคโนโลยีอัตโนมัติ บริษัทได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการมาตรฐานตั้งแต่ปี 2546 (ค.ศ.2003) และนับตั้งแต่ปี  2555 (ค.ศ. 2012) เป็นต้นมา ได้เข้าเป็นสมาชิกในกลุ่มงานของ IEEE 802.1 ได้แก่ IEEE P802.1Qcw, IEEE / IEC 60802, IEEE802.1DG ซึ่งช่วยสนับสนุนเครือข่ายอุตสาหกรรมและยานยนต์มีความเร็วขึ้นด้วยเทคโนโลยีอีเทอร์เน็ต

โดยทั่วไป “มาตรฐาน” อาจมีบทบาทในการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ไม่มากนัก แต่สถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศออสเตรียได้พยายามสร้างคุณค่าและทำให้ผู้คนมองเห็นคุณค่าของมาตรฐานซึ่งสามารถก่อให้เกิดนวัตกรรมและสตาร์ทอัพดาวรุ่งรายใหม่ที่ประสบความสำเร็จและนำพาผู้คนก้าวไปสู่เทคโนโลยีแห่งอนาคตดังเช่นบริษัททั้ง 5 แห่งที่ได้รับรางวัล 2021 Living Standards ในปีนี้

ที่มา: 1. https://www.iso.org/news/ref2618.html
2. 
https://www.austrian-standards.at/en/innovation/living-standards-award/living-
standards-award-2021

3. 
https://www.worldin.news/69557/2021/01/the-winners-of-the-living-standards-
award-2021.html



Related posts

  • หนทางสร้างเมืองอัจฉริยะ ตอนที่ 2หนทางสร้างเมืองอัจฉริยะ ตอนที่ 2
  • กว่าจะมาเป็นมาตรฐานการขนส่งด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์ ตอนที่ 1กว่าจะมาเป็นมาตรฐานการขนส่งด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์ ตอนที่ 1
  • SDG กับอนาคตที่ยั่งยืน ตอนที่ 2SDG กับอนาคตที่ยั่งยืน ตอนที่ 2
  • พลิกวิกฤตโลกร้อนเป็นโอกาสทางธุรกิจพลิกวิกฤตโลกร้อนเป็นโอกาสทางธุรกิจ
  • ทำไมองค์กรจำเป็นต้องมีการจัดซื้ออย่างยั่งยืนทำไมองค์กรจำเป็นต้องมีการจัดซื้ออย่างยั่งยืน

Tags: 2021 Living Standards Award, ASI, Enabling solutions, Future Technology, Innovations, International market, ISO, Standardization, Startup

กดที่นี่เพื่อยกเลิกการตอบ

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

ความเห็นล่าสุด

  • Phunphen Waicharern บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak บน นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑