• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    14,602 view(s)
  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    13,839 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    9,805 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    9,785 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO 22000 ฉบับใหม่ล่าสุดประกาศแล้ว ISO 22000 ฉบับใหม่ล่าสุด
    9,194 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change Construction & Materials COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction IEC Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality safety SDGs Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure UN water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | — มีนาคม 10, 2021 8:00 am
ผู้หญิงแนวหน้าฝ่าวิกฤต COVID-19 งานด้านวิทยาศาสตร์
Posted by Phunphen Waicharern with 1077 reads
0
  

International  Day of Women & Girls  in Science 2021วันที่ 11 กุมภาพันธ์ของทุกปี องค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้เป็นวันสากลเพื่อสตรีและเด็กหญิงในงานวิทยาศาสตร์ (International Day of Women Girls in Science)

สิทธิมนุษยชนอันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่มนุษย์เกิดมาด้วยความเท่าเทียมกันในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ไม่เพียงแต่ช่วยให้สตรีและเด็กมีความเท่าเทียมกันในประเด็นต่างๆ เท่านั้น แต่ยังช่วยให้โลกของเราเป็นโลกที่น่าอยู่มากขึ้นด้วย

เนื่องในโอกาสวันสากลเพื่อสตรีและเด็กหญิงในงานวิทยาศาสตร์ประจำปี 2564 ไอเอสโอมีความภาคภูมิใจที่ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งแรกในโครงการใหม่ตามแผนปฏิบัติการมิติหญิงชาย ซึ่งสนับสนุนความเท่าเทียมกันทางเพศ ซึ่งไอเอสโอได้จัดเก็บข้อมูลตัวแทนหญิงชายที่ปฏิบัติงานด้านการมาตรฐาน ทั้งจากสถาบันมาตรฐานแห่งชาติ ผู้นำ ซีอีโอ คณะกรรมการวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญและยังได้รวบรวมกรณีศึกษาจากมาตรฐานระดับประเทศและมาตรฐานระหว่างประเทศเพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติในการสนับสนุนความเท่าเทียมกันของชายและหญิง  อันเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจกับปัญหาและความท้าทายในเรื่องนี้ด้วย

เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2564 เครือข่ายขององค์กรสหประชาชาติที่มีชื่อว่า Gender Focal Point Network ได้รวมเอาสมาชิกไอเอสโอจากทั่วโลกให้มามีส่วนร่วมในการพูดคุย อภิปรายและแบ่งปันข้อมูลรวมทั้งแนวปฏิบัติที่ดีในการส่งเสริมวัฒนธรรมของการให้ความสำคัญแก่หญิงชายอย่างเท่าเทียมกัน และทำให้มาตรฐานต่างๆ ตอบสนองต่อความต้องการได้ทั้งหญิงและชาย

เลขาธิการไอเอสโอได้กล่าวว่าความเท่าเทียมกันของหญิงและชายส่งเสริมให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการพัฒนาอย่างยั่งยืน และมาตรฐานก็มีบทบาทพื้นฐานในเรื่องนี้ ไอเอสโอได้มีพันธสัญญาในการทำให้มั่นใจว่ามาตรฐานสามารถตอบสนองความต้องการได้ทั้งหญิงและชาย ซึ่งการมีส่วนร่วมของผู้หญิงในการพัฒนามาตรฐานไอเอสโอนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยตอบสนองความต้องการของคนในสังคมที่ใช้มาตรฐาน และที่ไอเอสโอ ทุกคนมีความภาคภูมิใจในบทบาทของผู้หญิงที่ได้ทำหน้าที่ในระดับบริหาร ในบทบาทในระดับอาวุโสที่สำนักงานเลขาธิการกลาง รวมทั้งในคณะกรรมการวิชาการต่างๆ ซึ่งอยู่ในสาขาวิทยาศาสตร์ เช่น จุลชีววิทยา และเอไอ เป็นต้น

ส่วนผู้จัดการคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 272, Forensic sciences กล่าวว่ามีผู้หญิงเข้ามาทำงานด้านวิทยาศาสตร์ มากขึ้นและก็ยังมีศักยภาพที่จะก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นได้อีก สำหรับคณะกรรมการด้านนิติวิทยาศาสตร์เต็มไปด้วยผู้หญิงที่มีความชาญฉลาด เชี่ยวชาญและสร้างแรงบันดาลใจที่ทำให้งานมีความก้าวหน้าในระดับสากลได้ ไคลี ชูมัคเกอร์ กล่าวว่าตนเองมีความภาคภูมิใจที่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับชุมชุนที่มีคนเก่งๆ หลากหลายและทุกคนมีความเท่าเทียมกัน และยังมองหาโอกาสที่จะทำงานเคียงข้างไปกับคนรุ่นใหม่ที่พร้อมจะก้าวเข้ามาร่วมงานของมืออาชีพด้านการมาตรฐาน

การสร้างความเข้มแข็งให้กับสตรีและเด็กหญิงยังเป็นเรื่องของความเท่าเทียมกันทางเพศซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของความรับผิดชอบต่อสังคม และยังสร้างความเข้มแข็งและความเท่าเทียมกันในสังคม ตามที่ระบุไว้ในมาตรฐานแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ ISO 26000, Guidance on social responsibility

ขณะเดียวกัน ในปีนี้ การเกิดโรคระบาด COVID-19 อย่างต่อเนื่องก็ยิ่งทำให้บทบาทวิชาชีพของนักวิจัยหญิงที่ทำงานต่อสู้กับภัยโรคระบาดในเวทีต่างๆ มีความชัดเจนขึ้น และทำให้มองเห็นความไม่เท่าเทียมกันระหว่างหญิงและชายในระบบงานวิทยาศาสตร์ซึ่งจำเป็นต้องปรับปรุงนโยบายหรือโครงการและกลไกต่างๆ เสียใหม่เพื่อสนับสนุนผู้หญิงและเด็กให้มากขึ้น

ดังนั้น การเฉลิมฉลองวันสากลเพื่อสตรีและเด็กหญิงในปี 2564 นี้ซึ่งเป็นปีที่ 6 ของการจัดงานที่สำนักงานใหญ่ องค์การสหประชาชาติ ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2564 จึงให้ความสำคัญกับนักวิทยาศาสตร์หญิงที่อยู่แนวหน้าในการต่อสู้กับโรคระบาด COVID-19 (Women Scientists at the forefront of the fight against COVID-19) เช่นเดียวกัน และรวบรวมผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับโรคระบาดมาจากทั่วทุกมุมโลกมาร่วมพูดคุยและอภิปราย โดยได้จัดงานแบบออนไลน์ร่วมกัน

การบรรลุความเท่าเทียมกันระหว่างเพศ รวมทั้งการสร้างความเข้มแข็งให้กับสตรีและเด็กหญิง เป็นเป้าหมายที่สำคัญเป้าหมายหนึ่ง (SDG 5) สำหรับการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ  การจัดงานดังกล่าวได้มีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการสนับสนุนสตรีและเด็กหญิงให้ก้าวขึ้นมามีบทบาทในวงการมาตรฐานและวิทยาศาสตร์มากขึ้น และเป็นอีกก้าวหนึ่งที่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนตาม SDG 5 ต่อไป

ที่มา: 1. https://www.iso.org/news/ref2628.html
         2. https://www.un.org/en/observances/women-and-girls-in-science-day



Related posts

  • ISO 21422  ใช้ทวนสอบส่วนผสมสูตรอาหารสำหรับทารกISO 21422 ใช้ทวนสอบส่วนผสมสูตรอาหารสำหรับทารก
  • ISO 38200 ช่วยสอบกลับแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์จากไม้ISO 38200 ช่วยสอบกลับแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์จากไม้
  • มาตรฐานที่ทำให้การสื่อสารสีเขียวเป็นเรื่องง่ายนิดเดียวมาตรฐานที่ทำให้การสื่อสารสีเขียวเป็นเรื่องง่ายนิดเดียว
  • ไอเอสโอปรับปรุงมาตรฐานทดสอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ไอเอสโอปรับปรุงมาตรฐานทดสอบอุปกรณ์ทางการแพทย์
  • แนะนำมาตรฐานการจัดการความเสี่ยงทางชีวภาพสำหรับห้องแล็บแนะนำมาตรฐานการจัดการความเสี่ยงทางชีวภาพสำหรับห้องแล็บ

Tags: COVID-19, Forensic Sciences, ISO 26000, SDG 5, social responsibility, Standardization, Women & Girls

กดที่นี่เพื่อยกเลิกการตอบ

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

ความเห็นล่าสุด

  • Phunphen Waicharern บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak บน นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2022 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑