ดังที่กล่าวในบทความ MASCIInnoversity เรื่อง “ไอเอสโอสนับสนุนวันสตรีโลก 2564” ว่าไอเอสโอให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมกันระหว่างเพศ และได้แต่งตั้งอุลริกา ฟรังเกเป็น ประธานไอเอสโอคนใหม่เมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งกำหนดจะเข้ารับตำแหน่งในปีเดือนมกราคม 2565 และในระหว่างปี 2564 นี้ จะทำหน้าที่เตรียมตัวก้าวเข้าสู่ตำแหน่งประธานไอเอสโอในปีหน้าต่อจากเอ็ดดี นีรอกเก ประธานไอเอสโอคนปัจจุบัน
สำหรับบทความในครั้งนี้ มาจากการเข้าสัมภาษณ์อุลริกา ฟรังเก ของวารสารไอเอสโอโฟกัส ทำให้ทราบว่าฟรังเกเป็นผู้มีประสบการณ์สูงด้านการบริหารจัดการและเป็นผู้นำในองค์กรต่างๆ รวมทั้งในงานด้านการมาตรฐาน ฟรังเกประสบความสำเร็จในการนำองค์กรด้วยวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ และเป้าหมาย และได้เคยรับตำแหน่งบริหารระดับอาวุโสทั้งในฐานะซีอีโอ ประธาน และสมาชิกของคณะกรรมการบริหารหลายคณะ
จากงานมาตรฐานสู่งานบริหารกลยุทธ์
กว่าจะได้รับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานไอเอสโอ อุลริกา ฟรังเก ได้ผ่านประสบการณ์ความท้าทายมากมากมาย และพร้อมที่จะก้าวสู่ตำแหน่งที่สามารถสร้างความเชื่อมั่นในการกำหนดอนาคตของโลกแล้ว การให้สัมภาษณ์ในครั้งนี้ ฟรังเกได้เน้นถึงความจำเป็นของทิศทางใหม่ที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ไอเอสโอ 2030 ด้วย
ฟรังเกได้กล่าวถึงมาตรฐานว่าสิ่งที่เกี่ยวข้องกับตนเองนับตั้งแต่เริ่มต้นการทำงานแม้ว่าจะไม่เคยคาดหวังมาก่อน แต่มาตรฐานเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีและต้องมีความยืดหยุ่นเพื่อเรียกความเชื่อมั่นกลับมาอีกครั้งและฟื้นฟูความเชื่อมั่นเพื่อสร้างอนาคตให้กับโลกของเราหลังจากประสบกับภาวะวิกฤตโรคระบาด COVID-19
เมื่อไม่นานมานี้ ฟรังเกได้สละตำแหน่งซีอีโอของบริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์เพื่อเข้าทำงานใน SIS ซึ่งเป็นสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศสวีเดน จากจุดนี้เอง เพื่อนร่วมงานของฟรังเกได้สนับสนุนให้เข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นในฐานะประธานไอเอสโอ
โลกของเราก้าวไปข้างหน้าด้วยการแก้ไขปัญหาและความท้าทายต่างๆ ที่โลกของเราเผชิญหน้าอยู่ ความท้าทายเหล่านั้นก็คือสิ่งที่ปรากฏอยู่ในเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs) ซึ่งมีเป้าหมายที่จะทำให้โลกก้าวสู่ความสงบ ความอุดมสมบูรณ์และโอกาสที่เท่าเทียมกันสำหรับทุกคน
มาตรฐานไอเอสโอมีส่วนสำคัญที่จะทำให้เกิดความสำเร็จตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ซึ่งอันที่จริงแล้ว บทบาทของไอเอสโอเป็นพื้นฐานในการสร้างเป้าหมายเหล่านั้นให้เกิดขึ้นได้จริง ไอเอสโอจึงต้องการมีส่วนร่วมในการสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาเพื่อที่ว่าโลกของเราจะสามารถบรรลุการเจริญเติบโตทางเศรษกิจด้วยวิถีทางที่ยั่งยืน
มุมมองเรื่องมาตรฐานเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
ฟรังเก้กล่าวว่าตนเองกำลังมองหาการเป็นส่วนหนึ่งของเดินทางและการมีส่วนร่วมในการพัฒนามาตรฐานไอเอสโอที่ยังคงดำเนินอยู่เพื่อให้มั่นใจว่ามาตรฐานจะตอบสนองต่อความต้องการของสังคมในอนาคต และเนื่องจากเธอมีพื้นฐานด้านอสังหาริมทรัพย์และภาคส่วนการสร้างอาคาร มาตรฐานจึงไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับเธอ และเมื่อได้มองเห็นประโยชน์อย่างมหาศาลแล้ว ทำให้มองออกว่าการนำมาตรฐานอย่าง ISO 9000 และชุดมาตรฐาน ISO 14000 ไปประยุกต์ใช้ได้จะเกิดประโยชน์อย่างไร
ฟรังเกกล่าวว่าตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ได้มองเห็นอย่างชัดเจนว่าผู้ที่รับเอามาตรฐานไอเอสโอไปใช้นั้นมีอัตราการอยู่รอดขององค์กรสูงกว่า มีการขายและการเติบโตด้านการจ้างงานที่ดีกว่าผู้ที่ไม่ได้ใช้มาตรฐานไอเอสโอ ความโปร่งใสนี้เป็นผลมาจากการปฏิบัติด้านการบริหารจัดการที่ดีซึ่งทำให้มีคุณค่าใน 3 ด้าน ประการแรก มาตรฐานทำให้ลูกค้ามองเห็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น ดังนั้น ลูกค้าจึงมีความมั่นใจที่จะตัดสินใจซื้อ ประการที่สอง มาตรฐานทำให้องค์กรยืนยันในความตั้งใจจริงที่จะทำและจะต้องทำให้สำเร็จ และประการที่สาม มาตรฐานทำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรู้ว่าจะคาดหวังอะไรจากองค์กรและพวกเขาต้องทำอะไรบ้าง
เธอบอกว่าเราจำเป็นต้องเข้าใจและชื่นชมในคุณค่าของมาตรฐานสากล ไม่เพียงแต่ภาคส่วนการสร้างอาคารเท่านั้น (ซึ่งฟรังเกรู้จากงานภายในองค์กรและมองออกไปยังภายนอก) แต่ยังเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจโลกในภาพรวมด้วย หากไม่มีมาตรฐานที่จะสนับสนุนสังคมของเราแล้ว โลกของเราในวิถีที่เรารับรู้อยู่เช่นนี้ก็จะไม่มีอยู่อีกต่อไป
มาตรฐานเปรียบเสมือนใบผ่านทางไปสู่การค้า ทำให้วิธีปฏิบัติในเชิงธุรกิจสามารถดำเนินไปได้ดีขึ้นในขณะที่ปกป้องผู้บริโภคด้วย
สำหรับบทบาทใหม่ในตำแหน่งประธานไอเอสโอ ประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์คือ เมื่อครั้งยังเป็นประธานของคณะกรรมการในองค์กรต่างๆ ได้ทำให้ฟรังเกเรียนรู้คุณค่าเชิงกลยุทธ์ของมาตรฐานและความสำคัญของการเข้าถึงมาตรฐานร่วมกัน
ขณะที่ฟรังเกได้เข้าไปเกี่ยวพันกับการจัดการมาตรฐาน ก็ทำให้รู้ถึงวิธีการที่จะนำเอาองค์ความรู้ด้านมาตรฐานระดับประเทศไปใช้งานและมีประสิทธิผล รวมทั้งวิธีที่องค์กรในระดับเดียวกันร่วมมือกันทั้งในระดับระหว่างประเทศ ระดับภูมิภาคอย่างยุโรปและระดับประเทศ
ด้วยประสบการณ์อย่างมืออาชีพมากกว่า 35 ปี ฟรังเกจึงหวังว่าจะใช้ความรู้อย่างเต็มความสามารถในบทบาทใหม่ที่กำลังจะมาถึงนี้
ความคาดหวังที่มีต่องานมาตรฐานไอเอสโอ
ต่อข้อซักถามที่ว่าฟรังเก้จะใช้เวลาอย่างไรในระหว่างนี้เพื่อเตรียมตัวเข้ารับตำแหน่งประธานไอเอสโอในปีหน้า และสิ่งที่กำลังคาดหวังมากที่สุดคืออะไรนั้น
เธอกล่าวว่า ก่อนอื่น วาระของการเตรียมตัวเข้าสู่ตำแหน่งประธานไอเอสโอเป็นช่วงเวลาที่ต้องเรียนรู้ และหวังว่าจะเข้าใจเรื่องของไอเอสไอและความต้องการรวมทั้งความคาดหวังของสมาชิกไอเอสโอให้ดีขึ้น ในการที่จะทำเช่นนี้ได้ ก็ต้องทำงานอย่างใกล้ชิดกร่วมกับประธานไอเอโอคนปัจจุบัน และใช้โอกาสนี้เรียนรู้และทำความเข้าใจงานทางเทคนิควิชาการที่มีความสลับซับซ้อนด้วย
ในขณะที่ไอเอสโอกำลังเริ่มต้นทำงานตามกลยุทธ์ไอเอสโอ 2030 ฟรังเกมีความต้องการที่จะใช้ความสามารถทั้งหมดในการสนับสนุนความก้าวหน้าและมีส่วนร่วมต่อความสำเร็จตามกลยุทธ์นี้
อย่างไรก็ตาม โรคระบาด COVID-19 ได้เข้ามาแทรกแซงการทำงานของไอเอสโอด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ไอเอสโอได้ดำเนินการอย่างไร และมองอนาคตด้านการมาตรฐานของโลกอย่างไร พบกับคำตอบจากว่าที่ประธานไอเอสโอคนใหม่ได้ในบทความครั้งต่อไปซึ่งเป็นตอนจบค่ะ
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2635.html
Related posts
Tags: COVID-19, ISO, ISO Gender Action Plan, SDGs 5, Standardization, Strategy 2030, the ISO President
ความเห็นล่าสุด