ในสภาพที่ยังคงเกิดโรคระบาด COVID-19 การทำให้อาคารสถานที่แห่งใดแห่งหนึ่งกลับมาใช้งานได้เหมือนเดิม ไม่ใช่งานที่ง่ายเท่าใดนัก แต่มาตรฐานไอเอสโอมีส่วนช่วยในเรื่องนี้โดยการนำมาตรฐานไปใช้ จะทำให้มั่นใจว่าอาคารต่างๆ มีความปลอดภัย สามารถเข้าถึงได้ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเป็นสถานที่ที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ เรื่องเหล่านี้เป็นวัตถุประสงค์หลักของมาตรฐานไอเอสโอ และเมื่อเร็วๆ นี้ ไอเอสโอได้เพิ่มประเด็นเหล่านี้ลงไปในมาตรฐานด้วย
ปกป้องสุขภาพและความมั่นคงปลอดภัยด้วยมาตรฐานสากล
การมีแนวทางการป้องกันผู้บุกรุกที่สร้างปัญหาให้กับอาคารและสามารถทำให้อาคารอยู่ในสภาพใช้งานได้ สามารถใช้ มาตรฐานสากลของไอเอสโอที่มีชื่อว่า ISO 23234, Buildings and civil engineering works – Security – Planning of security measures in the built environment
มาตรฐานใหม่นี้อธิบายวิธีการและวิธีปฏิบัติตามปกติที่จำเป็นต้องนำไปใช้ในการก่อสร้างอาคารและโครงการวิศวกรรมโยธาในระยะต่างๆ รวมถึงสมรรถนะที่จำเป็นต้องมีเพื่อให้บรรลุประสิทธิผล
แอโรซอลคืออะไร
แอโรซอล คือ ละอองลอยซึ่งเป็นของผสมที่ประกอบด้วยอนุภาคของแข็งหรือของเหลวที่เป็นละอองฟุ้งกระจายในอากาศหรือในก๊าซอื่น มีทั้งแบบที่พบได้ตามธรรมชาติและไม่ได้มาจากธรรมชาติ เช่น เขม่า ไอควัน หมอก ฝุ่นที่เกิดจากการระเบิดภูเขาไฟหรือจากโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
ละอองลอยเหล่านั้น สามารถพบได้ในสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกอาคาร บางอย่างก็เป็นอันตรายหากสูดดมเข้าไป เช่น ทำให้เกิดโรคหอบหืด โรคหลอดลมอักเสบ โรคถุงลมโป่งพอง โรคนิวโมโคนิโอซีส (เป็นกลุ่มอาการโรคปอดอักเสบที่เกิดจากการหายใจเอาฝุ่นเล็กมากๆ ชนิดต่างๆ ที่ปะปน อยู่ในบรรยากาศ โดยเฉพาะในบริเวณทำงานเข้าไปสะสมในส่วนถุงลมปอด พังผืดหุ้มล้อมฝุ่นนั้น) มะเร็งปอด เป็นต้น ดังนั้น การมีระบบที่ช่วยให้อากาศถ่ายเทได้ดีจะช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพดังกล่าวได้
อากาศหมุนเวียนในอาคาร
ในสภาพแวดล้อมที่มีการก่อสร้าง คุณภาพของการหมุนเวียนของอากาศจะเป็นอย่างไรนั้น มีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น ก๊าซที่เป็นอันตราย เศษไม้ (particles) กลิ่น สิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก (micro-organisms) และการปล่อยก๊าซจากผลิตภัณฑ์และสิ่งตกแต่งของอาคาร คุณภาพของระบบหมุนเวียนและการกรองอากาศ ดังนั้น การออกแบบและผังอาคาร จึงมีนัยสำคัญมาก
ไอเอสโอมีคณะกรรมการที่ทุ่มเทให้กับการพัฒนามาตรฐานเรื่องคุณภาพอากาศ เช่น มาตรฐานที่ใช้ในวิธีทดสอบและสุ่มตัวอย่าง และความหมายที่เห็นพ้องต้องกันในระดับสากล เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ รวมอยู่ในมาตรฐาน ISO 7708, Air quality – Particle size fraction definitions for health-related sampling, ISO 13138, Air quality – Sampling conventions for airborne particle deposition in the human respiratory system และชุดมาตรฐาน ISO 16000 สำหรับอากาศภายในสถานที่ก่อสร้าง
มาตรฐานสมรรถนะพลังงานอาคารช่วยลดโลกร้อน
ภาคส่วนอาคารมีส่วนในการทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกได้มากถึง 40% ดังนั้น จึงมีโอกาสที่จะลดการเกิดก๊าซเรือนกระจกลงได้มากเช่นกัน มาตรฐานที่ช่วยได้คือ ชุดมาตรฐาน ISO 52000 ซึ่งทำให้องค์กรมีส่วนในการก้าวสู้เป้าหมายคาร์บอนเป็นศูนย์ด้วยการการประเมินสมรรถนะของอาคารในองค์รวม ชุดมาตรฐานนี้รวมถึงมาตรฐานสำหรับการคำนวณพลังงานที่ใช้ไปในการทำความร้อน ความเย็น แสงไฟ การระบายอากาศ และน้ำร้อนภายในอาคาร
ชุดมาตรฐานนี้สามารถใช้เสริมกับมาตรฐานที่เพิ่งเผยแพร่ใหม่ล่าสุด ได้แก่ ISO 52127, Energy performance of buildings – Building management system (parts 1 and 2) ซึ่งมีวิธีการร่วมสำหรับกำหนดและรักษาสมรรถนะพลังงานอาคาร (Energy Performance of Buildings: EPB)
ISO 52127 เป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานสากลที่พุ่งเป้าไปที่การผสมผสานวิธีการประเมินสมรรถนะพลังงานของอาคารซึ่งเรียกว่าชุดมาตรฐาน EPB
นอกจากนี้ ยังมีมาตรฐานบางฉบับที่สนับสนุนเรื่องความสามารถในการเข้าถึงอาคารของทุกคน และมาตรฐานที่ช่วยให้งานวิศวกรรมโยธามีความแข็งแกร่งและลดความเสี่ยงด้านสาธารณสุขด้วย โปรดติดตามในครั้งต่อไปซึ่งเป็นตอนจบค่ะ
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2642.html
Related posts
Tags: Accessibility, Energy performance, ISO 13138, ISO 16000 Series, ISO 23234, ISO 52000, ISO 52127, Standardization, Sustainable Development, Usability
ความเห็นล่าสุด