• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    15,571 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    15,078 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,416 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,301 view(s)
  • ISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืนISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืน
    10,002 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change Construction & Materials COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality resilience safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | — May 14, 2021 8:00 am
ไอเอสโอก้าวล้ำไปกับมาตรฐานด้านอวกาศ
Posted by Phunphen Waicharern with 1111 reads
0
  

photo-astronaut-space-background-planet-earth-elements-this-image-furnishedเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2504 (ค.ศ.1961) ยูริ กาการิน มนุษย์อวกาศคนแรกของโลกได้ปฏิบัติภารกิจโคจรรอบโลกสำเร็จและกลับมายังโลกได้อย่างปลอดภัย สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2554 ให้วันที่ 12 เมษายนของทุกปีเป็น “วันสากลแห่งการบินอวกาศของมนุษย์” หรือ “วันนักบินอวกาศสากล” นั่นเอง

ปี 2564 เป็นปีที่ครบรอบ 60 ปีของเหตุการณ์สำคัญดังกล่าว นับเป็นช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกับการเฉลิมฉลองความสำเร็จของนาซากับภารกิจของคณะ Expedition 64 ซึ่งปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับระบบพลังงานทางวิทยาศาสตร์อยู่ในอวกาศยาวนานถึง 185 วัน (ระหว่างวันที่ 14 ตุลาคม 2563 ถึงวันที่ 16 เมษายน 2564)

บาดรี ยูเนส ผู้จัดการโครงการการสื่อสารและนำร่องอวกาศขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือนาซา ยอมรับว่ามาตรฐานสากลอย่างมาตรฐานไอเอสโอเป็นองค์ประกอบที่มีคุณค่ามากสำหรับภารกิจของโครงการด้านอวกาศ  ซึ่งเที่ยวบินอวกาศจำเป็นต้องใช้ความแม่นยำขั้นสูงสุดนับตั้งแต่อุปกรณ์ไปจนถึงวิถีของยานและการสื่อสารเริ่มตั้งแต่ออกเดินทางจากพื้นโลกไปยังอวกาศจนกระทั่งเดินทางกลับมายังโลกอีกครั้ง

ไอเอสโอมีมาตรฐานสากลจำนวนมากที่สามารถนำไปใช้กับองค์กรด้านอวกาศทั่วโลกรวมทั้งนาซาและองค์การอวกาศยุโรป (European Space Agency: ESA)

ด้วยเหตุนี้ ความร่วมมือระหว่างประเทศสำหรับโครงการอวกาศจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จำเป็นต้องมีโครงการแบ่งปันข้อมูลร่วมกันในอุตสาหกรรมการบินอวกาศ และการสนับสนุนข้ามสายผ่านหน่วยงานด้านอวกาศเพื่อสร้างความร่วมมือเช่นที่คณะกรรมการที่ปรึกษาสำหรับระบบข้อมูลอวกาศ (Consultative Committee for Space Data Systems: CCSDS) ได้ร่วมมือกับคณะกรรมการวิชาการไอเอสโอ ISO/TC 20, Aircraft and space vehicles คณะอนุกรรมการวิชาการ SC 13, Space data and information transfer systems เพื่อพัฒนาข้อแนะนำเชิงรุกสำหรับมาตรฐานระบบข้อมูลและสารสนเทศ ซึ่งมีการใช้งานมากในภารกิจด้านอวกาศทั่วโลกรวมทั้งนาซ่าทั้งโดยมนุษย์และหุ่นยนต์

บาดรี ยูเนส ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นอย่างยิ่งยวดของมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลนี้ว่าภารกิจด้านอวกาศจำเป็นต้องพึ่งพาข้อมูลที่ซับซ้อนขั้นสูงสุดจึงจะประสบความสำเร็จได้

ภารกิจด้านอวกาศจำเป็นต้องอาศัยระดับความแม่นยำขั้นสูงสุดในวิถีโคจรและการสื่อสาร เช่น สัญญาณที่ผ่านโดยตรงมายังโลกและผ่านการสะท้อนสัญญาณที่เชื่อมโยงกับยานอวกาศ เป็นต้น มาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล เช่นมาตรฐานของไอเอสโอ และ CCSDS โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแลกเปลี่ยนข้อมูลและการนำทาง เป็นองค์ประกอบที่สำคัญและมีคุณค่าสูงสำหรับภารกิจขององค์กรด้านอวกาศ

มาตรฐานฉบับหนึ่งในหลายร้อยฉบับของไอเอสโอที่ใช้กันทั่วโลกคือ ISO 19389, Space data and information transfer systems – Conjunction data message มาตรฐานนี้ช่วยให้นักวิจัยสามารถติดตามวัตถุหลายชนิดที่มีอยู่นับพันในวงโคจรบนอวกาศเพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะกัน  ตัวอย่างมาตรฐานอีกฉบับหนึ่งคือ ISO 13537, Space data and information transfer systems – Reference architecture for space data systems ซึ่งมีการใช้โดยทีมออกแบบโครงการและภารกิจเพื่ออธิบายสถาปัตยกรรมของระบบและการออกแบบภายในโดเมนอวกาศ

ซามีอัสมาร์ เลขาธิการ CCSDS และผู้จัดการของคณะกรรมการวิชาการ  ISO/TC 20/SC 13 ชี้ให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมของเที่ยวบินของนักบินอวกาศที่มีต่อทุกชีวิตบนพื้นโลกว่าการค้นพบเกี่ยวกับอวกาศของมนุษยชาติเป็นการนำไปสู่การค้นพบนวัตกรรมล้ำยุคทางด้านวิทยาศาสตร์หลายเรื่องในสาขาต่างๆ ดังนั้น คณะกรรมการวิชาการจึงพยายามค้นหาเพื่อปรับปรุงและพัฒนามาตรฐานใหม่ๆ ที่ทำให้เกิดความสำเร็จทางด้านวิทยาศาสตร์ในสาขาต่างๆ ต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง

ภารกิจขององค์กรด้านอวกาศกับภารกิจในการพัฒนามาตรฐานด้านอวกาศของไอเอสโอมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ภารกิจดังกล่าวช่วยส่งเสริมให้วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมต่างๆ มีความก้าวหน้าและเป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติ  และเนื่องในโอกาส “วันสากลแห่งการบินอวกาศของมนุษย์” ไอเอสโอจึงได้มีส่วนร่วมในการเฉลิมฉลองและเผยแพร่เรื่องราวดังกล่าวเพื่อสนับสนุนความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านอวกาศของมนุษยชาติต่อไป

ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2654.html



Related posts

  • มาตรฐานด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์/บริการที่ปกป้องความเป็นส่วนตัวข้อมูลลูกค้ามาตรฐานด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์/บริการที่ปกป้องความเป็นส่วนตัวข้อมูลลูกค้า
  • มั่นใจระบบงานด้วยชุดมาตรฐานของ ISO/IECมั่นใจระบบงานด้วยชุดมาตรฐานของ ISO/IEC
  • ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานปกป้องการโจมตีทางไซเบอร์บนยานพาหนะ ตอนที่ 1ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานปกป้องการโจมตีทางไซเบอร์บนยานพาหนะ ตอนที่ 1
  • ไอเอสโอแนะนำมาตรฐานใหม่ช่วยเรื่อง “การลงทุนสีเขียว”ไอเอสโอแนะนำมาตรฐานใหม่ช่วยเรื่อง “การลงทุนสีเขียว”
  • มาตรฐานใหม่ “ISO14083” ช่วยลดก๊าซเรือนกระจกในภาคส่วนโลจิสติกส์มาตรฐานใหม่ “ISO14083” ช่วยลดก๊าซเรือนกระจกในภาคส่วนโลจิสติกส์

Tags: Aerospace, ISO 13537, ISO 19389, NASA, Space data, Standardization, Standards, trajectory and communications, Yuri Gagarin

Click here to cancel reply.

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

Recent Comments

  • Phunphen Waicharern on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak on นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • (TH) landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑