• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    15,990 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    15,135 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,512 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,358 view(s)
  • ISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืนISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืน
    10,208 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction IEC Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure UN water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | — พฤษภาคม 28, 2021 8:00 am
ไอเอสโอแนะนำมาตรฐานใหม่ช่วยเรื่อง “การลงทุนสีเขียว”
Posted by Phunphen Waicharern with 1493 reads
0
  

ISO 14097 Has Just Been Establishedเหลือเวลาไม่ถึง 10 ปีที่โลกของเราจะต้องก้าวสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 2030 (Sustainable Development Goals: SDGs) และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเกิดขึ้นกับโลกของเราทำให้เราจำเป็นต้องจัดการกับผลกระทบของภาวะโลกร้อนซึ่งต้องใช้เงินทุนจำนวนมากเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ลง โดยเป็นที่คาดว่าจะต้องใช้เงินลงทุนหลายล้านล้านดอลลาร์ในการที่โลกจะบรรลุเป้าหมายคาร์บอนเป็นศูนย์

ทางออกที่ดีของเรื่องดังกล่าว คือ “การเงินสีเขียว” หรือการลงทุนในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  อย่างไรก็ตาม การประเมินและการรายงานที่ครอบคลุมและเทียบเคียงได้ก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมและดึงดูดการลงทุนให้เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ ข้อกำหนดด้านกฎระเบียบที่เพิ่มมากขึ้นก็เป็นคำตอบที่ดีเช่นกัน เกี่ยวกับเรื่องนี้ ไอเอสโอได้เผยแพร่มาตรฐานใหม่ล่าสุดเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวแล้วเมื่อเดือนพฤษภาคม 2564

ISO 14097, Greenhouse gas management and related activities – Framework including principles and requirements for assessing and reporting investments and financing activities related to climate change เป็นมาตรฐานที่ช่วยให้นักการเงินสามารถประเมินผลและรายงานการดำเนินการได้ ตลอดจนเห็นคุณค่าที่แท้จริงของการมีส่วนร่วมในเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศ

กรอบที่ระบุไว้ในมาตรฐานดังกล่าวมีการระบุหลักการข้อกำหนดและแนวทางที่จำเป็นซึ่งสร้างขึ้นจากแนวทาง “ทฤษฎีแห่งการเปลี่ยนแปลง” (Theory of change) ซึ่งกำหนดสิ่งที่จำเป็นต้องมีในการสร้างผลลัพธ์และผลกระทบที่ต้องการในระยะยาว ทฤษฎีนี้ยังอธิบายถึงเส้นทางที่ตั้งใจจะดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งทำได้ด้วยการอธิบายความเชื่อมโยงระหว่างวัตถุประสงค์ที่นักการเงินกำหนดขึ้นมา ปฏิบัติการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมที่นักการเงินวางแผนไว้เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ และผลลัพธ์ของปฏิบัติการนั้น รวมทั้งผลลัพธ์สุดท้ายที่จะนำไปสู่ผลกระทบที่ต้องการให้เกิดขึ้นด้วย

ดังนั้น มาตรฐาน ISO 14097 จึงครอบคลุมผลกระทบของการตัดสินใจลงทุนเกี่ยวกับแนวโน้มการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระบบเศรษฐกิจที่แท้จริง ความเข้ากันได้ของการลงทุนและการตัดสินใจทางการเงินกับเส้นทางการเปลี่ยนแปลงคาร์บอนต่ำ รวมทั้งเป้าหมายสภาพภูมิอากาศและความเสี่ยงต่อมูลค่าทางการเงินสำหรับเจ้าของสินทรัพย์ทางการเงิน (เช่นหุ้นเอกชน หุ้นที่จดทะเบียนพันธบัตรเงินกู้) ที่เกิดจากเป้าหมายด้านสภาพอากาศหรือนโยบายสภาพภูมิอากาศ

มาซัมบา ทีโอยี หัวหน้าโครงการของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญไอเอสโอ (และผู้จัดการแผนกบรรเทาผลกระทบภายในกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือ UNFCCC ซึ่งเป็นพันธมิตรหลักของไอเอสโอ) เป็นผู้พัฒนามาตรฐานกล่าวระบุว่าการลงทุนทางการเงินสีเขียวมีส่วนช่วยองค์กรทั่วโลกในความพยายามที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมทั้งเพื่อความยั่งยืนกับผลกำไรในระยะยาวของสินทรัพย์ทางการเงิน เขากล่าวว่านักการเงินอาจถอนตัวจากกิจกรรมที่ต้องใช้คาร์บอนเพื่อจัดการกับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศได้ แต่หากไม่ร่วมมือกันจัดการกับความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแล้ว ก็จะส่งผลต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่น้อยลง

ดังนั้น สิ่งที่จะส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้นก็คือนักการเงินสามารถดำเนินการสนับสนุนองค์กรที่ได้รับการลงทุนให้มีส่วนร่วมในการนโยบายการเงินสีเขียวและใช้พลังผลักดันเพื่อส่งเสริมแผนการลงทุนทางการเงินสีเขียวให้เกิดขึ้น และสิ่งที่สำคัญคือจะสามารถวัดผลด้านการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรที่ได้ลงทุนไว้ ซึ่งกุญแจสู่ความสำเร็จในการเงินสีเขียวก็อยู่ที่ความโปร่งใสและการวัดผลนี้เอง และมาตรฐานนี้ก็มีจุดมุ่งหมายเพื่ออำนวยความสะดวกให้ในเรื่องดังกล่าว

ISO 14097 เป็นมาตรฐานใหม่ล่าสุดที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเงิน นอกจากนี้ ยังมีมาตรฐานอื่น ๆ ที่อยู่ในระหว่างการพัฒนา ได้แก่ ชุดมาตรฐาน ISO 14030 สำหรับการประเมินผลสมรรถนะด้านสิ่งแวดล้อมของตราสารหนี้สีเขียว และ ISO 14100 สำหรับการประเมินโครงการทางการเงินสีเขียวรวมทั้ง ISO 14093ซึ่งพิจารณาถึงกลไกในการจัดหาเงินทุนในการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

มาตรฐานดังกล่าวได้รับการพัฒนาโดยคณะอนุกรรมการไอเอสโอ  SC 7, Greenhouse gas management and related activities และคณะอนุกรรมการไอเอสโอ SC 4, Environmental performance evaluation ภายใต้คณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 207, Environmental management โดยมีเลขานุการคือ  คณะกรรมการวิชาการ  ISO/TC 207 ซึ่งมีเลขานุการคือ  SCC ซึ่งเป็นสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศแคนาดา

ผู้สนใจสามารถศึกษาได้จากห้องสมุดสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) หรือสั่งซื้อได้จากเว็บไซต์ของไอเอสโอ ISO Store

ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2671.html



Related posts

  • ยกระดับเตาปรุงอาหารด้วยมาตรฐานไอเอสโอ ตอนที่ 1ยกระดับเตาปรุงอาหารด้วยมาตรฐานไอเอสโอ ตอนที่ 1
  • “เอไอ” เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก ตอนที่ 1“เอไอ” เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก ตอนที่ 1
  • แนวทางสำหรับผู้ตรวจประเมินระบบการจัดการความปลอดภัยเทคโนโลยีสารสนเทศแนวทางสำหรับผู้ตรวจประเมินระบบการจัดการความปลอดภัยเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • มาตรฐานสำหรับ SDGS เพื่อโลกที่ดีกว่ามาตรฐานสำหรับ SDGS เพื่อโลกที่ดีกว่า
  • รู้จักมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ Codexรู้จักมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ Codex

Tags: GHG, Green finance, ISO 14030 series, ISO 14093, ISO 14097, ISO 14100, SDGs, Standardization, Standards, Theory of change, UNFCCC

กดที่นี่เพื่อยกเลิกการตอบ

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

ความเห็นล่าสุด

  • Phunphen Waicharern บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak บน นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑