โลกของเรากำลังมาถึงจุดเปลี่ยนด้านพลังงานของโลกเพื่อมุ่งไปสู่การบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์และการควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียสตามข้อตกลงปารีส ทั้งนี้ มีรายงานวิจัยล่าสุดที่สนับสนุนว่าทั่วโลกจำเป็นต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงครึ่งหนึ่งให้ได้ภายในปี 2573 (ค.ศ.2030) และก้าวไปถึงศูนย์ในช่วงกลางศตวรรษเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงสภาพอากาศที่เลวร้ายที่สุด
การจะทำเช่นนั้นได้ หมายความว่ามนุษย์เราจะนำเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่สร้างขึ้นมา ออกจากชั้นบรรยากาศด้วยวิธีการทางเทคโนโลยีหรือทางธรรมชาติ ซึ่งจะทำให้ใกล้เคียงกับการบรรลุความเป็นกลางของสภาพอากาศ
สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ได้ออกมาย้ำเตือนเกี่ยวกับความจำเป็นในการลดปริมาณเชื้อเพลิงฟอสซิลในรายงาน Net Zero by 2050 ซึ่งเป็นรายงานฉบับแรกสำหรับภาคส่วนพลังงานทั่วโลกที่ประกอบด้วยโรดแม็พและแนวทางที่เป็นรูปธรรมในการปรับเปลี่ยนไปใช้ระบบที่ส่งเสริมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ให้ได้ภายในปี 2593 (ค.ศ.2050) ในขณะเดียวกันก็ทำให้มั่นใจว่าจะสามารถจัดหาพลังงานที่มีเสถียรภาพและราคาไม่แพง สามารถเข้าถึงพลังงานที่ทั่วโลกสามารถนำไปใช้ได้ ตลอดจนทำให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างแข็งแกร่ง
ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่จะบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ แต่ก็เป็นไปได้หากว่าเราร่วมมือกัน เปาโล แฟรงค์ หัวหน้าฝ่ายทรัพยากรหมุนเวียนของ IEA ซึ่งทำหน้าที่ด้านพลังงานหมุนเวียนโดยให้คำแนะนำด้านนโยบายในด้านเทคโนโลยี ตลาด และการรวมระบบ ได้กล่าวถึงรายงาน Net Zero ของหน่วยงานว่าต้องทำอย่างไรเพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ และมาตรฐานไอเอสโอจะมีส่วนร่วมในเรื่องนี้ได้อย่างไร
เปาโล แฟรงค์ กล่าวว่า ประการแรก โรดแม็พแสดงให้เห็นถึงปฏิบัติการที่มีลำดับความสำคัญ ซึ่งจะต้องดำเนินการเพื่อเป็นแนวทางให้บรรลุของการใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050
ในรายงานที่สำคัญบทหนึ่งระบุว่าการเปลี่ยนแปลงพลังงานสะอาดมีไว้เพื่อมนุษย์และเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ดังนั้น IEA จึงได้จัดตั้งคณะกรรมาธิการโลกว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงไปสู่พลังงานสะอาดโดยเน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากโอกาสและหากเกิดการหยุดชะงักก็จะต้องชี้นำให้ประชาชนก้าวไปในทิศทางที่ถูกต้อง ซึ่งหมายรวมถึงการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและการรับฟังผู้เกี่ยวข้องด้วย นอกจากนี้ ยังอธิบายถึงการแลกเปลี่ยนบางอย่าง เนื่องจากจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก และไม่ได้มีเพียงรูปแบบเดียวที่จะทำให้ใช้พลังงานเป็นศูนย์ได้ เราจึงต้องระลึกอยู่เสมอว่าการมีส่วนร่วมของชุมชนในการตัดสินใจจะช่วยสร้างแรงผลักดันที่สอดคล้องกันไปสู่การลดคาร์บอนและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างแท้จริง ตัวอย่างเช่น หากต้องการบรรลุเป้าหมายพลังงานเป็นศูนย์ภายในปี 2593 ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมก็จะต้องเพิ่มการติดตั้งเป็น 4 เท่าในปี 2020 ให้ได้ภายในสิ้นทศวรรษนี้
ส่วนบทบาทขององค์กรอย่าง IEA ก็คือการสร้างภาพรวมให้เกิดขึ้น มีตัวเลขแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าการเปลี่ยน แปลงพฤติกรรมมีผลโดยตรงถึง 4% และจากนั้นก็จะมีมากกว่า 50% ของการลดการปล่อยก๊าซสะสม
ทั้งนี้ ทางเลือกของผู้บริโภคในแง่ของเทคโนโลยีจะทำให้เกิดความแตกต่างได้อย่างไรและผู้บริโภคตัดสินใจบนพื้นฐานของอะไรบ้าง สิ่งเหล่านั้นคือต้นทุน การรับรู้คุณค่าและประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นเรื่องที่มาตรฐานไอเอสโอสามารถช่วยได้
มาตรฐานไอเอสโอมีส่วนในการสร้างความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในผลิตภัณฑ์และบริการเป็นอย่างมาก และเช่นเดียวกับองค์กรระหว่างประเทศอื่นๆ ไอเอสโอมีหน้าที่หลายอย่าง ตั้งแต่การประสานพลังไปจนถึงการรวบรวมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อทำงานร่วมกัน การร่างเป้าหมายภาพรวม และการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน
สำหรับเรื่องที่ว่ามาตรฐานไอเอสโอจะช่วยสนับสนุนข้อตกลงปารีสและการประชุมสุดยอดด้านสภาพอากาศของ UNFCCC ได้อย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การประชุม COP 26 ที่จะเกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2564
เปาโล แฟรงค์ กล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงที่ COP 26 กำลังจะสร้างขึ้นนั้นเป็นความท้าทายอย่างมาก ซึ่งการบรรลุเป้าหมายนั้นต้องอาศัยทางเลือกและความร่วมมือกันของทั้งภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนทั่วโลก และมาตรฐานไอเอสโอสามารถช่วยเสริมสร้างความมั่นใจการลงทุนในพลังงานสะอาดได้
อย่างไรก็ตาม อุปสรรคที่ใหญ่กว่านั้นอยู่ที่ผู้ใช้พลังงานขั้นปลาย ตัวอย่างเช่น เราต้องการนโยบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับพลังงานความร้อนหมุนเวียน แต่มีเพียง 50 ประเทศทั่วโลกที่มีพลังงานหมุนเวียนซึ่งมีเป้าหมายด้านนโยบายนำความร้อนกลับมาใช้ใหม่เมื่อเทียบกับพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียนที่มีอยู่มากกว่า 160 อย่างแล้วเราจะทำอย่างไร
ในเรื่องนี้ จำเป็นต้องมีการดำเนินการตามนโยบายที่เข้มแข็งและน่าเชื่อถือเพื่อเป็นการเริ่มต้นสำหรับภาคพลังงานชีวภาพและเชื้อเพลิงชีวภาพเหลว ซึ่งปัจจุบันได้รับผลกระทบอย่างมากจากวิกฤตด้านสุขอนามัย และพลังงานชีวภาพโดยรวมก็จำเป็นต้องได้รับความใสใจด้านนโยบายมากขึ้น รวมถึงประเด็นด้านความยั่งยืนซึ่งยังคงเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันอยู่
ส่วนบทบาทเชิงกลยุทธ์ของมาตรฐานสากลในการเปลี่ยนแปลงไปสู่พลังงานสะอาดคืออะไร มาตรฐานใดที่จำเป็นสำหรับกลุ่มพลังงานหมุนเวียนทั่วโลก
เปาโล แฟรงค์ กล่าวว่า โดยทั่วไปแล้ว มาตรฐานพลังงานหมุนเวียนมี 2 ประเภท ประเภทแรก คือมาตรฐานด้านประสิทธิภาพซึ่งมีความสำคัญมากในแง่ที่ว่าทำให้มั่นใจในผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีหมุนเวียนที่มีประสิทธิภาพและคุณภาพ ทั้งหมดนี้ มีความสำคัญมากในภาคความร้อนเมื่อต้องรับมือกับความร้อนในอาคาร ไอเอสโอมีมาตรฐานหลายอย่างสำหรับพลังงานแสงอาทิตย์ เชื้อเพลิงชีวภาพที่เป็นของแข็ง และกังหันลม อีกประเภทหนึ่งคือมาตรฐานเพื่อความยั่งยืน สิ่งเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเทคโนโลยีหมุนเวียน 2 ประเภท ได้แก่ พลังงานชีวภาพและพลังน้ำ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนามาตรฐานที่สามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจเชิงนโยบายเกี่ยวกับความยั่งยืน
สำหรับบทความในครั้งต่อไปจะกล่าวถึงมาตรฐานอีกประเภทหนึ่งทึ่จะช่วยในเรื่องของผลกระทบของวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์และบริการ โปรดติดตาม
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2682.html
Related posts
Tags: clean energy, COP 26, IEA, Net Zero, Renewable Energy, Standardization, Standards
ความเห็นล่าสุด