นวัตกรรมเปรียบเสมือนเชื้อเพลิงที่สามารถขับเคลื่อนให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้ แต่การก้าวไปสู่ตำแหน่งที่ดีในการสร้างผลกำไรจะมาจากอะไรบ้าง สิ่งนั้นคือการให้เครื่องมือที่ดีขององค์กรแก่ผู้จัดการและพนักงาน ทำให้เกิดการตอบสนองและใช้ประโยชน์สูงสุดจากโอกาสทั้งภายในและภายนอก รวมทั้งปรับปรุงสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานด้วย เครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพอย่างหนึ่งคือ ระบบการจัดการนวัตกรรม ซึ่งจะช่วยให้องค์กรทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ไม่เพียงแต่จะสามารถอยู่ในตำแหน่งที่ดีขึ้นในการบรรลุเป้าหมายการเติบโตทางธุรกิจเท่านั้น แต่ยังมีความคล่องตัวและเตรียมพร้อมมากขึ้นในการตอบสนองต่อความท้าทายที่ไม่คาดคิดและต่อการหยุดชะงักงันของธุรกิจอีกด้วย
ปัจจุบัน ธุรกิจต่างประสบกับปัญหาการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ซึ่งส่งผลต่อความสูญเสียทางเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของคนทั่วโลก จอร์จ เดย์ และเกรรอรี เชย์ อาจารย์จากวอตันสคูลแห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ได้ตั้งข้อสังเกตในบล็อกที่ตีพิมพ์โดย World Economic Forum เมื่อเดือนมิถุนายน ปีที่แล้ว (ค.ศ.2020) ว่าการระบาดใหญ่ได้ก่อให้เกิดกิจกรรมด้านนวัตกรรมที่เข้มข้นขึ้น เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา บริษัทต่าง ๆ กำลังเคลื่อนไหวเร็วขึ้นและรับความเสี่ยงมากกว่าเกินกว่าที่จะคาดคิดได้ และมุ่งไปสู่แนวทางการทำงานออนไลน์ ตัวอย่างเช่น การพิมพ์ 3 มิติช่วยให้ห่วงโซ่อุปทานมีความยืดหยุ่นได้ สำหรับวิกฤตเช่นนี้ ไม่สามารถหยุดการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของอุตสาหกรรมได้เลย
โครงการฉีดวัคซีนเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่แสดงการตอบสนองต่อวิกฤตการณ์อย่างน่าทึ่งในการนำนวัตกรรมออกสู่ตลาดอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ แต่เมื่อโลกค่อยๆ ฟื้นมาจากการแพร่ระบาด คำถามใหญ่ประการหนึ่งคือเราจะหลีกเลี่ยงการกลับไปใช้แนวทางปฏิบัติแบบเก่าและสร้างความเชื่อมั่นในระบบใหม่สำหรับนิวนอร์มอลหรือความปกติใหม่ของเราได้อย่างไร
โยฮัน กรุนด์สตรอม เอริกสัน ผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติของคณะกรรมการด้านเทคนิค ISO/TC 279 การจัดการนวัตกรรม และที่ปรึกษาของ European Institute of Innovation & Technology (EIT) Manufacturing และคณะกรรมการที่ปรึกษาของ UNOPS Global Innovation Center แห่งสวีเดน กล่าวว่ามาตรฐาน ISO 56002 มีคำตอบให้สำหรับคำถามต่า งๆ ที่ค้างคาใจคนเป็นจำนวนมาก โดยเริ่มจากคำถามแรกที่ว่า มาตรฐาน ISO 56002 จะช่วยวางรากฐานให้มั่นใจได้อย่างไรว่าเราจะมีความยืดหยุ่นมากขึ้นอย่างเพียงพอต่อการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นอีกอย่างกะทันหันในอนาคต
โยฮัน กรุนด์สตรอม เอริกสัน กล่าวว่ามาตรฐานแนวทางระบบการจัดการนวัตกรรม ISO 56002 ได้รับการเผยแพร่ในเวลาที่เหมาะสมกับการหยุดชะงักของห่วงโซ่คุณค่าทั่วโลกเมื่อปี 2563 มาตรฐานนี้เหมาะสมกับแผนปฏิบัติการหลัง COVID-19 และโครงสร้างระบบการจัดการที่มีอยู่ และด้วยการนำแนวคิดของ ISO 56002 ไปใช้ บริษัทผู้ผลิตและสถาบันต่างๆ จะสามารถเริ่มต้นความพยายามในการสร้างสรรค์และเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ได้ ซึ่งจะเพิ่มมูลค่าใหม่ให้กับห่วงโซ่อุปทานที่กำลังถูกปรับโฉมใหม่ และช่วยให้มุ่งเน้นไปที่ความไม่แน่นอนทางเทคนิคมากขึ้น
ผลกระทบของการแพร่ระบาดได้ทำให้เห็นช่องว่างที่มีอยู่ในบริการซัพพลายเชน กระบวนการ และการจัดหาผลิตภัณฑ์ วิกฤตสุขภาพโลกได้เปิดทางให้อุตสาหกรรมต่างๆ เข้ามารวมตัวกันเป็นชุมชนที่เต็มไปด้วยผู้ที่มีความรู้หลากหลายสาขาเพื่อสร้างแนวทางแก้ไขและความร่วมมือใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนเกิด COVID-19 ตัวอย่างเช่น ในการเปลี่ยนแปลงการผลิตในยุโรป ไม่สามารถทำสิ่งที่เคยทำได้มากกว่านี้ แต่ปัจจุบัน มีความจำเป็นต้องฝึกอบรมพนักงานที่มีอยู่ทั้งหมดให้ทำงานร่วมกันแบบคู่ขนานด้วยระบบอัตโนมัติและความยืดหยุ่นในระดับสูง และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อห่วงโซ่คุณค่าถูกแปลงเป็นดิจิทัลโดยใช้นวัตกรรมที่ทำงานโดยใช้เทคโนโลยีต่างๆ ควบคู่กันไปไม่ว่าจะเป็น 5G เทคโนโลยีเสมือนจริง ปัญญาประดิษฐ์ (AI) หรือเทคโนโลยีแมชชีนเลิร์นนิ่ง
ส่วนคำถามที่ว่าในการฟื้นตัวหลังจาก COVID-19 มาตรฐาน ISO 56002 จะรักษาบทบาทในการเป็นผู้ขับเคลื่อนหลักเพื่อการเติบโตและมูลค่าที่ยั่งยืนได้อย่างไร โยฮัน กรุนด์สตรอม เอริกสัน กล่าวว่าความสำคัญและความจำเป็นที่เพิ่มขึ้นของการจัดการนวัตกรรมในช่วงเวลาแห่งการเร่งให้เกิดระบบดิจิทัลเหล่านี้ ส่วนหนึ่งสามารถเข้าใจได้ โดยมองย้อนกลับไปว่าวงจรผลิตภัณฑ์และโซลูชันซอฟต์แวร์ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและซอฟต์แวร์ได้ถูกเร่งให้เกิดขึ้นเร็วจนแทบไม่สามารถจัดการได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมอื่นๆ ทั้งหมดในอดีตราวสามทศวรรษที่ผ่านมา การดำเนินธุรกิจด้วยความเร็วระดับนี้จำเป็นต้องมีรูปแบบธุรกิจที่แข็งแกร่ง ความเสถียรในกระบวนการหลักและความรู้ความชำนาญ ไปพร้อม ๆ กับความยืดหยุ่นในระดับสูงมากในการตอบสนองและปรับตัวในสภาวะที่มีความผันผวน
ในภาวะโรคระบาด COVID-19 ทำให้ผลกระทบลุกลามไปสู่วาระการกำกับดูแลกิจการที่ดีในทุกธุรกิจ ทุกประเทศ และในองค์กรภาครัฐทุกระดับ แต่สิ่งหนึ่งที่ชัดเจน ไม่มีใครอยากจะทำแค่เพียงเตรียมพร้อมและตอบสนองต่อวิกฤตอีกต่อไป แต่เมื่อเกิดวิกฤต เจ้าของ นักลงทุน หรือคณะกรรมการต่างๆ ต้องการแน่ใจว่าองค์กรได้มีการเตรียมความพร้อม และไม่เพียงแต่สำหรับการระดมและบรรเทาผลกระทบเท่านั้น แต่จะต้องมีความยืดหยุ่น การปรับตัว และความสามารถในการทำกำไรที่ยั่งยืนด้วยแต่การจะทำเช่นนั้นได้ มักเกิดจากการทนทานต่อความผันผวนและความไม่แน่นอน แล้วเราจะปรับตัวให้เข้ากับอนาคตได้อย่างไรเมื่อยังติดกับโครงสร้างที่มีอยู่ และนี่คือจุดที่การเปิดตัวระบบการจัดการนวัตกรรมของ ISO 56002 เป็นไปอย่างทันท่วงทีและสะดวกมากสำหรับองค์กรที่ยังคงต้องจัดการวาระการเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับความเป็นเลิศในการดำเนินงานของธุรกิจที่มีอยู่ ซึ่งตอนนี้ องค์กรมั่นใจได้เลยว่าจะสามารถสำรวจแหล่งที่มาของรายได้ในอนาคตควบคู่กันไปก่อนที่ธุรกิจจะหยุดชะงักหรือเกิดวิกฤตทางการเงินที่จะก่อปัญหาให้องค์กรอย่างถาวร
ถ้าเช่นนั้น บทเรียนและโอกาสของวิกฤตสุขภาพที่เกิดขึ้นกับโลกคืออะไร และมาตรฐาน ISO 56002 จะทำให้แน่ใจได้อย่างไรว่าสิ่งเหล่านี้จะไม่สูญเปล่า
ความท้าทายและความไม่แน่นอนที่เกิดจากการระบาดใหญ่คือการตื่นตัวและองค์กรต่างต้องการวิธีการใหม่ ๆ เพื่อให้แน่ใจว่ามีความยืดหยุ่นและการเติบโตในระยะยาว อย่างไรก็ตาม การใช้โอกาสใหม่ๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดไม่ได้เป็นเพียงแต่เรื่องของการขยายการรับรู้หรือกรอบความคิดเท่านั้น แต่ยังจำเป็นต้องมีส่วนร่วมอย่างลึกซึ้งในการเดิมพันใหม่ ๆ และจัดการกับความท้าทายที่อยู่ข้างหน้า และในกรณีที่ไม่มีวิธีการทำงานที่ตกลงกันไว้ ตอนนี้ก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับระบบสนับสนุนและติดตามผล ซึ่งอาจต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะตกลงกันและดำเนินการได้ แต่สำหรับมาตรฐาน ISO 56002 จะช่วยร่นระยะเวลาได้ รายละเอียดจะเป็นอย่างไร โปรดติดตามต่อไปในครั้งหน้าค่ะ
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2688.html
Related posts
Tags: AI, COVID-19, Crisis, Digital, Health, Innovation, ISO 56002, Machine Learning, resilience, Standardization, Standards, Sustainability, Technology, uncertainty
Recent Comments