การใช้พลังงานชีวมวลเป็นวิธีการที่ยั่งยืนอีกวิธีหนึ่งสำหรับการแก้ปัญหาโลกร้อนที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้ และการใช้พลังงานชีวมวลอย่างยั่งยืนจะมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับโลกอนาคตที่ต้องการคาร์บอนต่ำ เรามาดูกันว่า “มาตรฐาน” จะกำหนดอนาคตของเชื้อเพลิงชีวมวลอัดแท่งได้อย่างไร
ตามรายงานของคณะกรรมการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ปรึกษาอิสระของสหราชอาณาจักรในด้านการเปลี่ยนแปลงพลังงาน เชื้อเพลิงที่ทำจากชีวมวลจะมีส่วนสนับสนุนที่สำคัญมากยิ่งขึ้นในการบรรลุการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์
เมื่อมองอย่างผิวเผิน การใช้เชื้อเพลิงชีวมวลแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายและครอบคลุมเรื่องของคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ แต่ความเป็นจริงแล้วต้องขึ้นอยู่กับหลายอย่าง เช่น วิธีการสร้าง แปรรูป และจัดการ เป็นต้น ซึ่งเชื้อเพลิงชีวมวลสามารถทำให้เกิดแนวทางการแก้ไขปัญหาเพื่อความยั่งยืนสำหรับการผลิตพลังงานได้
สิ่งที่ช่วยให้เรามั่นใจว่าเชื้อเพลิงจากชีวมวลมีความยั่งยืนและมีส่วนสนับสนุนอย่างมากต่อความเป็นกลางของคาร์บอนก็คือมาตรฐานไอเอสโอ ซึ่งมีตัวอย่างมาตรฐานไอเอสโอสำหรับเชื้อเพลิงชีวมวลอัดแท่ง
หลักการพื้นฐานของเชื้อเพลิงชีวมวลที่ยั่งยืนนั้นเป็นเรื่องง่าย กล่าวคือคาร์บอนที่ปล่อยออกมาระหว่างการแปลงพลังงานจะมีการนำกลับมาใช้ใหม่โดยพืชเพื่อสร้างวัตถุดิบสำหรับเชื้อเพลิงชีวมวลใหม่ เคล็ดลับคือการทำเช่นนี้ในลักษณะที่ไม่แทนที่ด้วยผืนดินสำหรับพืชผล จะทำให้เกิดประสิทธิภาพและลดการปล่อยมลพิษได้อย่างมาก
อย่างไรก็ตาม ความท้าทายนั้นมีหลายประการ ประการแรก ขอบเขตของการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นนั้นมีมากมายมหาศาล ตามรายงานของInternational Renewable Energy Agency (สำนักงานพลังงานทดแทนระหว่างประเทศ) ในรายงาน Global Renewable Outlook: Energy Transformation 2050 ระบุว่าเราต้องการสนับสนุนเชื้อเพลิงชีวมวลมากกว่าสองเท่าเพื่อตอบสนองความต้องการด้านพลังงาน ประการที่สอง การเปลี่ยนแปลงนั้นต้องยั่งยืน ตัวอย่างเช่น เมื่อต้นปีนี้ ศูนย์วิจัยร่วมของคณะกรรมาธิการยุโรป (JRC) ได้เผยแพร่รายงานเกี่ยวกับการใช้ชีวมวลจากไม้เพื่อการผลิตพลังงาน ผู้เขียนระบุว่าความยั่งยืนของพลังงานชีวมวลมีปัญหาที่ซับซ้อนซึ่งไม่มีคำตอบเดียวที่ตอบโจทย์ได้ทุกข้อ แต่มีแนวทางการจัดการป่าไม้ที่อาจจะมีทั้งข้อดีและข้อเสียอยู่บ้างสำหรับสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพ
รายงานของ JRC เสริมด้วยว่าพลังงานชีวมวลเป็นจุดเชื่อมต่อของวิกฤตสิ่งแวดล้อมที่สำคัญสองประการของศตวรรษที่ 21 ซึ่งได้แก่ ความหลากหลายทางชีวภาพและภาวะฉุกเฉินด้านสภาพอากาศ
พลังงานชีวมวลจากป่าไม้ที่มีศักยภาพจะเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขวิกฤตทั้งสองด้าน แต่จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการผลิตสารชีวมวลอย่างยั่งยืนและมีการใช้อย่างมีประสิทธิภาพเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ องค์กรต่างๆ เช่น คณะกรรมาธิการยุโรปจึงได้จัดทำเกณฑ์ความยั่งยืนสำหรับเชื้อเพลิงชีวภาพ ในขณะที่ไอเอสโอได้พัฒนาชุดมาตรฐานทั้งหมดสำหรับเเชื้อเพลิงชีวมวลอัดแท่งและเพื่อความยั่งยืนของพลังงานชีวภาพ เพื่อสนับสนุนเรื่องนี้ด้วย
มอริส ดูแอก ซึ่งทำงานในภาคกระดาษและเยื่อกระดาษมานานหลายทศวรรษ ยืนยันว่าพลังงานชีวภาพสามารถมีบทบาทสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน ส่งเสริมโอกาสทางธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งทำให้บรรลุเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ ด้วยเหตุนี้ การใช้เชื้อเพลิงชีวมวลอัดแข็งเพื่อจุดประสงค์ในการทำความร้อนในอวกาศ การจ่ายน้ำร้อน การผลิตไฟฟ้าและพลังงานความร้อนจึงเติบโตอย่างรวดเร็วทั่วโลก
มอริส ดูแอกเป็นสมาชิกของคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 238, Solid biofuels ซึ่งช่วยสนับสนุนมาตรฐานที่ทำให้อุตสาหกรรมประสบความสำเร็จ
ในระดับประเทศ รัฐบาลทั่วโลกกำลังส่งเสริมการเปลี่ยนจากเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ เช่นเดียวกับในแคนาดา ซึ่งสถานีผลิตไฟฟ้าแห่งหนึ่งเพิ่งเปลี่ยนจากถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด ระบบทำความร้อนแบบรวมศูนย์ได้รับการติดตั้งในหลายจังหวัดและหลายท้องที่ของแคนาดา
แล้วมาตรฐานไอเอสโอสำหรับเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ดจะช่วยได้อย่างไร? คำตอบคือ คุณภาพที่แตกต่างกันของวัตถุดิบชีวมวลและการใช้เชื้อเพลิงชีวมวลอัดแข็งในรูปแบบต่างๆ ในรูปแบบของเม็ดไม้ เศษไม้ และถ่านอัดแท่ง จำเป็นต้องมีมาตรฐานของเชื้อเพลิงเหล่านี้ ทั้งสำหรับการบริโภคในท้องถิ่นและเพื่ออำนวยความสะดวกในการค้าระหว่างประเทศ
มอริส ดูแอกกล่าวว่า คุณภาพเชื้อเพลิงมีบทบาทสำคัญในการลดมลพิษทางอากาศ “เมื่อมีการพัฒนาแนวทางการปล่อยมลพิษทางอากาศ การอ้างอิงถึงมาตรฐานเชื้อเพลิงไม้ ISO/TC 238 ก็เพิ่มมากขึ้น พูดง่ายๆ ก็คือ เชื้อเพลิงชีวภาพที่ดีกว่าสามารถเผาผลาญได้อย่างมีประสิทธิภาพและสะอาดมากยิ่งขึ้น ซึ่งความยั่งยืนของพลังงานชีวภาพจากป่าไม้ก็มีความสำคัญไม่แพ้เรื่องของมาตรฐานเชื้อเพลิงชีวมวลอัดแท่งซึ่งจะได้กล่าวถึงในบทความในตอนต่อไปค่ะ
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2680.html
Related posts
Tags: bioeconomy, Fuel specification, ISO 17225, JRC, Solid biofuels, Standardization, Standards, Supply Chain, Sustainability
ความเห็นล่าสุด