ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์พบว่าอุณหภูมิโลกเพิ่มสูงขึ้นเร็วกว่าที่เราคิดไว้เสียอีก เมื่อต้นปีนี้ สำนักงาน Met แห่งสหราชอาณาจักรและองค์การอุตุนิยมวิทยาโลกได้เผยแพร่งานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่ามีโอกาสมากกว่า 40% ที่อุณหภูมิโลกเฉลี่ยต่อปีอย่างน้อยหนึ่งในห้าปีข้างหน้าจะสูงถึง 1.5 °C ชั่วคราวเหนือระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม
ส่วนรายงาน IPCC (International Plant Protection Convention) ได้เผยแพร่รายงานผลสรุปการศึกษาเรื่องความเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมและภูมิอากาศโลกที่ผ่านมาทั้งหมด ซึ่งพบว่ามนุษย์ได้ทำให้โลกเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาลแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในรอบหลายพันปี รวมทั้งได้คาดการณ์แนวโน้มในอนาคตที่ไม่อาจแก้ไขให้หวนคืนสู่สภาพเดิมได้อีก
รายงาน IPPC ยังระบุด้วยว่านักวิทยาศาสตร์คาดว่าหากอุณหภูมิสูงถึง 1.5 °C ถึงกลางปี 2573 (ค.ศ.2030) ก็จะเกิดจุดเปลี่ยน เช่น การสูญเสียน้ำแข็งทะเลอาร์กติก การตายของแนวปะการังขนาดใหญ่และการละลายของก๊าซมีเทนที่อุดมไปด้วยชั้นดินเยือกแข็ง เป็นต้น ทำให้ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง โดยคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลเสียในระยะยาว
ตามข้อตกลงปารีสในปี 2558 (ค.ศ.2015) ประชาคมระหว่างประเทศตกลงที่จะรักษาอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้สูงขึ้นในศตวรรษนี้ โดยรักษาไว้ให้ต่ำกว่า 2.0 องศาเซลเซียสเหนือระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม และพยายามจำกัดการเพิ่มอุณหภูมิไว้ที่ 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งเกณฑ์ 1.5 °C มีความสำคัญมากเพราะอาจเป็นจุดเปลี่ยนจนทำให้ภาวะโลกร้อนเปลี่ยนแปลงไปอย่างถาวรหรือทำให้ภาวะโลกร้อนยิ่งมีแนวโน้มสูงมากขึ้น
แนวคิดหลักอีกประการหนึ่งในรายงาน IPCC คาดไว้คือผลระยะยาวของคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นในอากาศ โลกใช้เวลาในการปรับตัวเพื่อเพิ่มคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ และ Equilibrium Climate Sensitivity (ECS) ซึ่งประมาณการว่าโลกจะอุ่นขึ้นด้วยปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศที่เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า สิ่งนี้เป็นเรื่องสำคัญเนื่องจากคาร์บอนไดออกไซด์ได้เพิ่มขึ้นจากระดับก่อนอุตสาหกรรมที่ประมาณ 280 ส่วนต่อล้าน (ppm) มาเป็นประมาณ 415 ppm ในปัจจุบัน และคาดว่าคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศจะเพิ่มเป็นสองเท่าในช่วงปี 2603 (ค.ศ.2060)
การวิจัยล่าสุด คาดการณ์การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกโดยคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าเป็น 2.6-4.5 °C ความแตกต่างระหว่าง 1.5 °C ในระยะสั้นและระหว่าง 2.6 °C และ 4.5 °C ในระยะยาวอาจดูเล็กน้อยหากมองครั้งแรก อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างระหว่าง 1.5 °C 2 °C และ 3 °C คือความแตกต่างระหว่างความแห้งแล้งเฉลี่ย 2, 4 หรือ 10 เดือนต่อปี และความแตกต่างระหว่าง 6%, 18% หรือ 68% (สำหรับการเพิ่มขึ้นของ 4.5 °C) ซึ่งหมายถึงว่าสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังทั่วโลกจะสูญเสียที่อยู่อาศัยของมันไป แนวโน้มระยะยาวเหล่านี้สามารถสังเกตได้จากสภาพอากาศสุดขั้วที่เราเห็นทั่วยุโรปและสหรัฐอเมริกาในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา
ขณะเดียวกัน นายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการองค์การสหประชาชาติได้ออกมาเรียกร้องให้ทั่วโลกร่วมมือกันเสียตั้งแต่บัดนี้ เพื่อไม่ให้มวลมนุษยชาติประสบกับมหันตภัยจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งผู้นำของประเทศต่าง ๆ ควรนำข้อมูลจากรายงานทางวิทยาศาสตร์ไปกำหนดแนวทางแก้ไขและป้องกันปัญหาเสียใหม่เพื่อผลักดันให้การประชุมสุดยอดด้านภูมิอากาศ COP26 ที่มุ่งแก้ไขภาวะโลกร้อนประสบความสำเร็จ (กำหนดจัดการประชุมที่เมืองกลาสโกว์ ประเทศสหราชอาณาจักรในเดือนพฤศจิกายน 2564)
ทางด้านทีมนักวิทยาศาสตร์ผู้จัดทำรายงานของ IPCC ได้แสดงความเห็นว่า แม้สภาพการณ์โดยทั่วไปจะเลวร้าย แต่ก็ยังคงมีความหวังว่าชาติต่าง ๆ จะตัดลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนจากระดับปัจจุบันลงได้ครึ่งหนึ่งภายในปี 2573 (ค.ศ.2030) และหยุดปล่อยคาร์บอนได้อย่างสมบูรณ์ (net zero) ภายในช่วงกลางศตวรรษนี้ ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าเมื่อถึงจุดดังกล่าว อุณหภูมิโลกจะไม่เพิ่มสูงขึ้นอีกต่อไป และมีโอกาสจะทำให้กลับคืนสู่ระดับที่เย็นลงได้ ปัจจุบัน โลกของเราจึงมาถึงจุดที่ต้องร่วมมือกันหยุดภาวะโลกร้อนก่อนที่จะสายเกินไป
ที่มา: 1. https://www.bbc.com/thai/international-58147469
2. https://www.weforum.org/agenda/2021/08/ipcc-report-on-climate-change/
3. https://www.enn.com/articles/68395-the-final-25-how-to-tackle-hard-to-reach-emissions
Related posts
Tags: Climate Change, COP26, ECS, Environmental Management, Equilibrium Climate Sensitivity, Global Warming, IPCC, Net Zero, Sustainability Management
Recent Comments