บทความเรื่อง สร้างองค์กรเข้มแข็ง เปลี่ยนแปลงด้วย “วัฒนธรรมองค์กร” ตอนที่ 1 ได้กล่าวว่า “วัฒนธรรมองค์กร” ไม่เพียงแต่เป็นปัจจัยสำคัญต่อความเจริญเติบโตขององค์กรเท่านั้น แต่ยังช่วยสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงในองค์กรด้วย โดยเฉพาะการระบาดใหญ่เช่นนี้ ได้เร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง 3 ประการที่เชื่อมโยงกันและส่งผลต่ออุตสาหกรรมทั่วไป ได้แก่ ประการแรก การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ ประการที่สอง การพัฒนารูปแบบธุรกิจใหม่ และประการที่สาม การนำวิธีการทำงานแบบใหม่มาใช้ ซึ่งองค์กรส่วนใหญ่จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างน้อย 1 ใน 3 ประการดังกล่าว โดยวัฒนธรรมองค์กรเป็นสิ่งที่ช่วยสนับสนุนให้องค์กรเกิดการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
สำหรับบทความในตอนที่ 2 จะกล่าวถึงองค์ประกอบ 7 ประการของวัฒนธรรมการปรับตัว ซึ่งวารสาร Sloan Management Review ได้ให้คำแนะนำที่สำคัญในการก้าวไปสู่เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร ดังต่อไปนี้
1. การให้ความสำคัญลูกค้าเป็นศูนย์กลาง โดยทำความเข้าใจและจัดลำดับความสำคัญความต้องการของลูกค้ามากกว่าเน้นที่ผลิตภัณฑ์หรือผลกำไร
2. การใส่ใจกับระบบนิเวศ โดยให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ที่ดีขององค์กรที่อยู่ในระบบทั้งหมด ไม่ใช่เพียงแค่บริษัทเดียว
3. การวางแนวทางการวิเคราะห์ โดยเปิดรับข้อมูลและวิเคราะห์อย่างเต็มที่เพื่อการตัดสินใจ แทนที่จะอาศัยเพียงประสบการณ์หรือวิจารณญาณเท่านั้น
4. การสะท้อนการทำงานร่วมกัน โดยมีส่วนร่วมในเชิงรุกในการทำงานร่วมกันข้ามองค์กรและการทำงานเป็นทีมมากกว่าการทำงานแบบแยกส่วน
5. การไม่มีอคติต่อการกระทำ โดยให้คุณค่ากับการทำงานที่รวดเร็ว ทันท่วงทีโดยไม่ลดความเสี่ยง และทำให้เหนือความคาดหวังอย่างสมบูรณ์แบบ
6. การมีกรอบความคิด ความเชื่อหรือทัศนคติของการเรียนรู้ โดยมีส่วนร่วมในการทดลองและเรียนรู้อย่างรวดเร็ว
7. ผู้นำต้องอยู่ในฐานะผู้สนับสนุน โดยสามารถส่งพลังและกระตุ้นผู้คนให้ทำงานด้วยความรับผิดชอบ
การมุ่งเน้นที่ลูกค้าเป็นศูนย์กลางและระบบนิเวศถือเป็นการอ้างอิงที่สำคัญสำหรับการกำหนดกลยุทธ์และการจัดลำดับความสำคัญขององค์กร องค์ประกอบเหล่านี้สามารถนำมากำหนดทิศทางและแสวงหาโอกาสโดยการมุ่งเน้นไปที่ลูกค้าและเครือข่ายได้เป็นอย่างดี
องค์ประกอบทั้ง 7 ประการของวัฒนธรรมการปรับตัวนี้มีความครอบคลุมและส่งเสริมซึ่งกันและกัน สิ่งเหล่านี้รวมกันเป็นรากฐานของวัฒนธรรมการปรับตัว ซึ่งสามารถนำเทคโนโลยีและรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ มาใช้อย่างรวดเร็ว และตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจและสภาพแวดล้อมทางสังคม
แม้ว่าองค์ประกอบเหล่านี้อาจไม่ได้มีความสำคัญเท่าเทียมกันสำหรับองค์กรของเรา แต่องค์ประกอบเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีความเกี่ยวข้องกันในระดับหนึ่ง จุดเริ่มต้นคือการประเมินวัฒนธรรมปัจจุบันขององค์กรของเรา จากจุดนี้ เราควรคำนึงถึงความสำคัญเชิงสัมพันธ์ขององค์ประกอบเหล่านี้สำหรับอนาคตขององค์กรแล้วระบุช่องว่างทางวัฒนธรรมที่สำคัญที่สุด
สำหรับองค์ประกอบของการประเมินวัฒนธรรมการปรับตัว ควรประเมินขอบเขตที่องค์กรของเราพร้อมที่จะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ เปิดรับโมเดลธุรกิจใหม่ หรือนำวิธีการใหม่ในการทำงานไปใช้ในมิติทั้ง 7 ดังกล่าว จากนั้นจึงสรุปความพร้อมด้านวัฒนธรรมโดยรวมสำหรับองค์กร
แล้วองค์กรจะเปลี่ยนวัฒนธรรมได้อย่างไร หากเราต้องเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรควร ขั้นตอนแรกคือต้องตระหนักว่าการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมเป็นงานหนัก การเปลี่ยนนิสัยของตัวเองเป็นเรื่องที่ท้าทายมาก (ยังไม่พูดถึงพฤติกรรมของพนักงานอีกหลายพันคน) สำหรับบริษัทหลายแห่ง บรรทัดฐานทางวัฒนธรรมได้ฝังแน่นตลอดหลายปีที่ผ่านมาหรือนานนับสิบปี แม้ว่าบางคนอาจยินดีต่อการเปลี่ยนแปลง แต่คนอื่นๆ อาจมองว่าบรรทัดฐานในปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จขององค์กรแล้ว และไม่จำเป็นต้องรีบร้อนเปลี่ยนแปลงตัวเอง แล้วจะต้องกังวลไปทำไม
มีตัวอย่างให้เห็นมากมายว่าหากผู้นำระดับสูงไม่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมที่ต้องการอย่างแท้จริง ความพยายามในการเปลี่ยนแปลงก็มักจะล้มเหลว ผู้นำระดับสูงจึงต้องจัดการด้วยวิธีการที่เหมาะสม โดยสร้างความสมดุลและเพิ่มขีดความสามารถให้องค์กร ทำการสื่อสารได้อย่างชัดเจน และแสดงให้เห็นถึงการเติบโตและการพัฒนาองค์กรได้ ตลอดจนส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมที่เหมาะสมที่สุด
แน่นอนว่าก่อนจะก้าวไปสู่การเปลี่ยนแปลง ย่อมเกิดความวิตกกังวล และการต่อต้านอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้หากผู้คนในองค์กรไม่เข้าใจอย่างแท้จริงถึงความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลง แล้วผู้บริหารควรทำอย่างไร โปรดติดตามได้ในบทความครั้งต่อไปซึ่งเป็นตอนจบค่ะ
ที่มา: 1. https://bit.ly/3yFymxp
2. https://sloanreview.mit.edu/article/why-every-executive-should-be-focusing-on-culture-change-now/?use_credit=dd23dc0e4d3e36465fbcb729af5b3fa2
Related posts
Tags: COVID-19, Cultural Change, Digital transformation, Management Strategy, New Business Models, New way of workings, norms, Organizational behavior, Organizational Change, Pandemic, Strategic Management
Recent Comments