บทความ MASCIInnoversity เรื่อง อุตสาหกรรมไวน์สร้างอนาคตด้วยมาตรฐาน ISO 26000 ตอนที่ 1 ได้กล่าวถึงผู้ผลิตไวน์หรือเหล้าองุ่นในประเทศฝรั่งเศส 3 ราย ซึ่งได้นำมาตรฐาน ISO 26000 ไปใช้ในองค์กรและประสบความสำเร็จสูงในการทำยอดขาย ได้แก่ โรงกลั่นไวน์โดเมน เดอ ลาจาส สหกรณ์ไวน์คาสเทลบาร์รี และโรงบ่มไวน์เมซง กาเบรียล เมฟเฟร ถึงแม้ว่าในช่วงแรกของการนำมาตรฐานดังกล่าวไปใช้ จะยังไม่ค่อยมีคนเข้าใจถึงความสำคัญของมาตรฐานมากนักและไม่สามารถขอรับรองตามมาตรฐานได้ แต่ในที่สุด พวกเขาก็ยื่นขอรับการรับรองที่เรียกว่า “RSE Engagé” หรือ “Vignerons Engagés” จาก AFNOR ซึ่งเป็นสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศฝรั่งเศส มาติดตามกันว่าพวกเขาเริ่มต้นนำมาตรฐาน ISO 26000 ไปใช้ได้อย่างไร และสามารถประสบความสำเร็จท่ามกลางวิกฤตการระบาดใหญ่ในขณะนี้
เอเตียน มาฟเฟร ซีอีโอของเมซง กาเบรียล เมฟเฟร โรงบ่มไวน์ขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในประเทศฝรั่งเศส กล่าวว่า ในการเริ่มต้นนำมาตรฐานความรับผิดชอบทางสังคม ISO 26000 ไปใช้นั้น ขั้นตอนแรกคือการประเมินเบื้องต้นเกี่ยวกับสถานะความรับผิดชอบต่อสังคมในปัจจุบัน วิเคราะห์ความเสี่ยง ระบุจุดแข็งและจุดอ่อน และกำหนดกลยุทธ์ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นงานหนักแต่จำเป็นต้องทำและคุ้มค่ามาก ซึ่งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต้องมีบทบาทสำคัญ เพราะพวกเขาไม่เพียงแต่ได้รับผลกระทบจากทุกการตัดสินใจขององค์กรแต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาด้วย โดยเฉพาะพนักงาน
พวกเขาต้องการค้นหาโครงการที่สร้างผลกระทบและจูงใจพนักงาน เขารู้สึกทึ่งมากที่เห็นทุกคนมีความกระตือรือร้น เขาได้เสนอชื่อหัวหน้าโครงการ และจัดการประชุมหลายครั้ง ตอนนี้ เขาปฏิบัติตามกระบวนการที่มีโครงสร้างในการระบุและวัดผลโครงการทุกปี เพื่อให้ทุกคนเห็นความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น และสามารถสร้างความแตกต่างให้กับองค์กรได้
โครงการเหล่านั้นครอบคลุมทุกอย่างตั้งแต่การจัดการน้ำและพลังงาน ไปจนถึงสุขภาพและความปลอดภัยในที่ทำงาน และอื่นๆ อีกมากมาย นอกจากนี้ ยังให้ความสนใจกับสุขภาพและสวัสดิภาพของพนักงานมากขึ้น และขณะนี้ เขากำลังดำเนินการโครงการเพื่อให้ความสำคัญกับพนักงานที่เกี่ยวข้องกับสมาคมในท้องถิ่น และทำการสื่อสารเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของสมาคม และแน่นอน ผลลัพธ์ที่ได้คือความพึงพอใจของพนักงานเพิ่มขึ้น
บรูโน เลอ เบรอตง เจ้าของโรงกลั่นโรงกลั่นไวน์โดเมน เดอ ลาจาส กล่าวว่าการมีส่วนร่วมกับชุมชนท้องถิ่นเป็นส่วนสำคัญของกระบวนการ นอกเหนือจากการบริจาคให้กับโครงการในท้องถิ่นและการเสนอการฝึกงานให้กับผู้มาใหม่ในอุตสาหกรรมแล้ว โดเมน เดอ ลาจาส ยังทำให้องุ่นมีประโยชน์ต่อธุรกิจในท้องถิ่นอีกด้วย ตัวอย่างเช่น การศึกษาโดยบริษัทในท้องถิ่นเกี่ยวกับผลกระทบของการใช้ปัสสาวะของมนุษย์ในการทดน้ำและให้ปุ๋ยแก่เถาองุ่นที่ให้ผลผลิตมากกว่าแค่องุ่น นอกจากนี้ ยังให้โอกาสอันมีค่าแก่ธุรกิจที่ดำเนินโครงการและช่วยพัฒนาเทคโนโลยีที่อาจช่วยประหยัดน้ำได้มากในภูมิภาคที่ร้อน แห้งแล้ง และต้องการน้ำเป็นอย่างมากด้วย และด้วยความคิดที่ว่าการนำ ISO 26000 มาใช้เป็นความจำเป็นอย่างยิ่ง ทำให้พวกเขาเข้าใจดีขึ้นว่าตนเองสามารถสร้างประโยชน์ได้มากมายเพียงใด
เบอร์นาร์ด พัลลิส ผู้อำนวยการทั่วไปของสหกรณ์ไวน์คาสเทลบาร์รี ยังเป็นเสาหลักของชุมชน โดยให้โอกาสแก่ผู้ปลูกองุ่นรุ่นเยาว์จับคู่กับคนที่มีประสบการณ์มากขึ้นในการเรียนรู้การค้าขาย พวกเขายังทำงานเพื่อหลีกเลี่ยงการขายไร่องุ่นและนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น ถ้ามีใครซื้อสวนองุ่นด้วยความตั้งใจที่จะถอนเถาองุ่นออกและสร้างบ้านหลังใหญ่ที่ไม่เข้ากับภูมิภาค มันอาจทำให้สวนองุ่นโดยรอบเสียภาพลักษณ์ชื่อเสียงและเปลี่ยนภูมิทัศน์ไปอย่างสิ้นเชิง
เบอร์นาร์ดตั้งข้อสังเกตว่าถึงแม้ว่าไวน์จะเป็นเรื่องของวัฒนธรรม แต่อุตสาหกรรมยังคงต้องพึ่งพาสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนใหญ่ด้วย และต้นปี 2564 พวกเขา ได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์อันหนาวเหน็บของฤดูใบไม้ผลิในเดือนเมษายน ซึ่งทำลายพืชผลในไร่องุ่นบางแห่งถึง 100% เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นบ่อยขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงสี่ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมนี้ตกเป็นเหยื่อของสภาพอากาศที่เลวร้าย และพวกเขาพยายามอย่างมากที่จะให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมเพราะพวกเขารู้ว่าต้องรับผิดชอบต่อผลกระทบของวันนี้ และสิ่งที่จะเกิดขึ้นในวันพรุ่งนี้ด้วย
ด้วยเหตุนี้เองที่สมาชิกผู้รับจ้างผลิตของสหกรณ์ไวน์คาสเทลบาร์รี จึงต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งนอกเหนือไปจากเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ เช่น การจัดการน้ำและศัตรูพืช พวกเขายังมีโครงการที่จะร่วมมือกับผู้ผลิตไวน์ 20 รายในระยะเวลาสองปี ช่วยลดการใช้สารเคมีใดๆ บนเถาองุ่นได้เป็นอย่างมาก ถึงแม้ว่าจะไม่สมบูรณ์เพียบพร้อม แต่ก็เป็นความคิดริเริ่มที่สามารถขยายไปสู่ผู้อื่นได้ในอนาคต
โรงบ่มไวน์เมซง กาเบรียล เมฟเฟร ยังดำเนินงานในลักษณะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาระยะหนึ่งแล้ว และภายในปี 2023 มีเป้าหมายที่จะทำให้ผลผลิตอย่างน้อย 50% ติดฉลากที่เรียกว่า HVE (Haute Valeur Environmentale) ซึ่งหมายถึงการให้ความสำคัญสูงมากกับสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังภูมิใจที่จะบอกว่าเป็นผู้ผลิตรายแรกที่พัฒนาขวดไวน์ไร้ฉลากโดยใช้การแกะสลักนูนที่มีน้ำหนักเพียง 400 กรัม (น้ำหนักเฉลี่ย 500 กรัม+) ทำให้สามารถประหยัดแก้วได้ตั้งแต่ปี 2552 เมื่อโครงการเริ่มต้นขึ้น และนี่ไม่ใช่แค่การกระทำในวงกว้างเท่านั้น แต่สามารถลงรายละเอียดได้ ตัวอย่างเช่น สมาชิกที่ปลูกองุ่นของสหกรณ์ไวน์คาสเทลบาร์รี จำเป็นต้องใช้ฟีโรโมนแทนสารเคมีเพื่อไล่ผีเสื้อที่ทำลายล้างผลองุ่น ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสารกระจายแสงที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ เป็นต้น
ผู้ผลิตทั้งสามรายเห็นด้วยว่า ISO 26000 เป็นการเดินทางที่ยาวนานและยากลำบาก แต่ก็ทำให้เห็นโอกาสต่างๆ บรูโน่กล่าว และกิจกรรมหรือวิธีการทำงานทั้งหมดก็เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำ ซึ่งกลยุทธ์ที่คิดอย่างชาญฉลาดเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพวกเขา แต่ไม่ใช่เพื่อหวังว่าจะได้รับเกียรติชื่อเสียง ในขณะที่พวกเขาทั้งหมดเห็นการปรับปรุงโรงบ่มไวน์ของตนเอง แต่สิ่งที่เป็นความปรารถนาที่แท้จริงในการสร้างสิ่งที่มีค่าคือการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมต่อโลกให้น้อยลง และทำให้โลกเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นด้วยมาตรฐาน ISO 26000
ISO 26000 เป็นมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมที่ไม่สามารถขอรับการรับรองได้ แต่ AFNOR ซึ่งเป็นสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศฝรั่งเศส ได้พัฒนาเครื่องหมายรับรองของตนเองขึ้นมา คือ “Label Engagé RSE” ซึ่งยึดตามแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคม ISO 26000 และองค์กรที่ปฏิบัติตามคำแนะนำตาม ISO 26000 จะได้รับการประเมินและ จัดอันดับในระดับ 1 ถึง 4 โดยระดับ 4 เป็น “แบบอย่าง” ก้าวไปอีกขั้นสำหรับอุตสาหกรรมไวน์ ทั้งนี้ AFNOR ได้ร่วมมือกับสมาคม Vignerons Engagés เพื่อสร้างการรับรองเฉพาะอุตสาหกรรมดังกล่าว
ความรับผิดชอบต่อสังคมคืออะไร
ความรับผิดชอบต่อสังคม หมายถึง ความรับผิดชอบขององค์กรต่อผลกระทบของการตัดสินใจและกิจกรรมที่มีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ผ่านพฤติกรรมที่โปร่งใสและมีจริยธรรมที่เอื้อต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมถึงสุขภาพและสวัสดิภาพของสังคม คำนึงถึงความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เป็นไปตามกฎหมายที่บังคับใช้และสอดคล้องกับบรรทัดฐานสากล และบูรณาการทั่วทั้งองค์กรและการปฏิบัติของความสัมพันธ์ระหว่างกัน ซึ่งปรากฏอยู่ในมาตรฐาน ISO 26000 แนวทางความรับผิดชอบต่อสังคมนั่นเอง
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2700.html
Related posts
Tags: AFNOR, Castelbarry, Community, COVID-19, Haute Valeur Environmentale, HVE, ISO 26000, Label Engagé RSE, Montpellier, Montpeyroux, social responsibility, Stakeholder, standard, Standardization, Sustainability, Wine, Wine producers
ความเห็นล่าสุด