โลกของเราอยู่ในช่วงเวลาที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและต้องเผชิญท้าทายต่าง ๆ มากกว่าที่เคยเป็นมา ประเทศต่างๆ มีการเรียกร้องให้องค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนใช้หลักธรรมาภิบาลในการกำกับดูแลองค์กรเพื่อให้มั่นใจว่ามีการปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ คำนึงถึงสังคม และดำเนินการอย่างยั่งยืน
หลักธรรมาภิบาล เป็นแนวคิดสำคัญในการบริหารงานขององค์กรให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยมีหลักการบริหารงานที่เที่ยงธรรม สุจริต โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้
ธรรมาภิบาลไม่เพียงแต่สร้างความไว้วางใจเท่านั้น แต่ยังช่วยปรับปรุงผลการดำเนินงานและมีส่วนสนับสนุนความสมบูรณ์ทางสังคมและสิ่งแวดล้อม
มาตรฐานการกำกับดูแลองค์กร ISO 37000, Governance of organizations ที่ไอเอสโอเพิ่งเผยแพร่เมื่อเดือนกันยายน 2564 ได้จัดเตรียมเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับองค์กรและหน่วยงานที่กำกับดูแลในการควบคุมดูแลอย่างดี ซึ่งช่วยให้องค์กรสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิผลไปพร้อมๆ กับประพฤติตนอย่างมีจริยธรรมและมีความรับผิดชอบด้วย
ISO 37000 ได้รับการพัฒนาโดยผู้เชี่ยวชาญและเสียงตอบรับที่น่าเชื่อถือจากองค์กรทั่วโลกกว่า 70 ประเทศ โดยมีข้อมูลอ้างอิงแหล่งเดียวที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก และเหมาะสำหรับองค์กรทุกประเภท โดยไม่คำนึงถึงขนาด ประเภท หรือสถานที่ตั้ง
ธรรมาภิบาลไม่เพียงแต่ส่งเสริมสภาพแวดล้อมของความไว้วางใจ ความโปร่งใส และความรับผิดชอบเท่านั้น แต่ยังช่วยให้วัตถุประสงค์ขององค์กรสอดคล้องกับผลประโยชน์ของสังคม สร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในขณะที่จัดการและรักษาทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยวิธีธรรมาภิบาลนี้ จะช่วยวางรากฐานสำหรับความสำเร็จในระยะยาวขององค์กร และทำให้มั่นใจว่าองค์กรเหล่านี้มีส่วนในการปกป้องและฟื้นฟูระบบสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ
ดร.วิกตอเรีย เฮิร์ธ ผู้ประสานงานร่วมของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญไอเอสโอที่พัฒนามาตรฐาน ISO 37000 กล่าวว่าการกำกับดูแลองค์กรที่ล้ำสมัยและมีประสิทธิภาพนั้นเหนือกว่าการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนและความสอดคล้องกับภาระผูกพันทางกฎหมายเพราะเป็นเรื่องของการรับรู้และคาดการณ์สิ่งที่อาจเกิดขึ้นและการขับเคลื่อนประสิทธิภาพไปสู่จุดประสงค์ที่ชัดเจนและเกี่ยวข้องกับสังคม
โลกของเรากำลังก้าวสู่รูปแบบของธรรมาภิบาลใหม่ ซึ่งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต้องการการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพสูงเพื่อขับเคลื่อนความก้าวหน้าและทำให้มั่นใจคุณค่าที่ยั่งยืนอย่างแท้จริงในระยะยาว
ISO 37000 เป็นมาตรฐานเกี่ยวกับการกำกับดูแลที่ได้รับความเห็นพ้องต้องกันระดับโลกฉบับแรกซึ่งใช้ได้กับทุกองค์กรในทุกประเทศ และสามารถใช้เป็นต้นแบบสำหรับหน่วยงานกำกับดูแลเพื่อปูทางไปสู่การปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพสูง ยั่งยืน มีจริยธรรม และมีความรับผิดชอบ
มาตรฐานนี้ยังได้ชี้แจงบทบาทที่ชัดเจนและเป็นแบบบูรณาการซึ่งสามารถควบคุมดูแลหน่วยงานและผู้บริหารในองค์กร มีภาษาที่ใช้ร่วมกัน ตลอดจนหลักการ และแนวปฏิบัติก็สามารถใช้กันทั่วทุกองค์กรได้เช่นกัน
ดร.อักเซล คราเวทสกี ผู้ประสานงานร่วมของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า การส่งเงินจากหน่วยงานกำกับดูแลหลายแห่งมีการขยายตัวและซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งมาตรฐาน ISO 37000 จะช่วยให้พวกเขาบรรลุการทำงานผ่านกรอบการดำเนินงานและระบบการกำกับดูแลแบบบูรณาการ ซึ่งให้อำนาจแก่กลุ่มผู้ควบคุมและผู้มีบทบาทในองค์กรทั้งหมด
ISO 37000 ได้รับการพัฒนาโดยคณะกรรมการวิชาการไอเอสโอ ISO/TC 309, Governance of organizations ซึ่งมีเลขานุการคือ BSI ซึ่งเป็นสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศสหราชอาณาจักร
ผู้สนใจมาตรฐานดังกล่าวสามารถศึกษาได้จากห้องสมุดสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) หรือสั่งซื้อได้จากเว็บไซต์ของไอเอสโอ
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2717.html
Related posts
Tags: BSI, Economics, Ethics, Good Governance, ISO 37000, Organizations, standard, Standardization, Sustainability
ความเห็นล่าสุด