ปัจจุบัน องค์กรทั่วโลกทุกภาคส่วนให้ความสำคัญกับการแก้ไขและป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อม จะเห็นได้ว่าการดำเนินงานของทั้งภาครัฐและภาคเอกชนต่างมุ่งสู่พลังงานสะอาดและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก(คาร์บอนไดออกไซด์) สุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ซึ่งปฏิญญาลอนดอน (London Declaration) ซึ่งที่เปิดตัวเมื่อเดือนกันยายน 2564 เป็นแรงผลักดันจากไอเอสโอเช่นกันในแนวทางการดำเนินการด้านสภาพอากาศและยกระดับงานระหว่างประเทศเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์
การวิจัยล่าสุดแสดงให้เห็นว่าบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลกน้อยกว่า 25% กำลังดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศขั้นพื้นฐาน และยุโรปจะพลาดเป้าหมายด้านสภาพอากาศในปี 2030 ไปภายใน 21 ปี ปฏิญญาดังกล่าวให้คำมั่นสัญญาว่าจะนำเอาข้อพิจารณาด้านสภาพอากาศที่สำคัญไว้ในมาตรฐานใหม่ทุกมาตรฐานที่มีการพัฒนาขึ้นมา นอกจากนี้ยังจะเพิ่มข้อกำหนดเหล่านี้ในมาตรฐานที่มีอยู่ทั้งหมดแบบย้อนหลังเมื่อมีการแก้ไข ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างเหนือชั้น
สมาชิกของไอเอสโอได้ยอมรับปฏิญญาลอนดอน “คำมั่นสัญญาด้านสภาพภูมิอากาศของไอเอสโอ” ซึ่งมาจากตัวแทนของประเทศต่างๆ ทั่วโลกรวม 164 ประเทศ ความมุ่งมั่นครั้งประวัติศาสตร์นี้มาจากสรุปผลการจัดงาน ISO Week 2021 โดยมีเจ้าภาพจัดงานออนไลน์คือ สถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศอังกฤษ (British Standards Institution: BSI)
ปฏิญญาดังกล่าวระบุว่ามาตรฐานไอเอสโอให้คำมั่นที่จะทำงานร่วมกับสมาชิก ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และพันธมิตร เพื่อให้มั่นใจว่ามาตรฐานสากลและการเผยแพร่ของไอเอสโอจะมีส่วนเร่งให้ข้อตกลงปารีสประสบความสำเร็จตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (UN SDGs) ให้เร็วขึ้น รวมถึงข้อเรียกร้องขององค์การสหประชาชาติสำหรับปฏิบัติการด้านการปรับตัวและความยืดหยุ่น (United Nations Call for Action on Adaptation and Resilience)
เซอร์จิโอ มูจิก้า เลขาธิการไอเอสโอ เอ็ดดี้ เอ็นโจโรเก้ ประธานไอเอสโอ และ ดร.สก๊อตต์ สตีดแมน ผู้อำนวยการสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศสหราชอาณาจักร (BSI) ได้กล่าวถึงมาตรฐานสากลว่าเป็นมาตรฐานที่ได้รับความเห็นพ้องต้องกันในการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นบทบาทที่สำคัญสำหรับรัฐบาลและอุตสาหกรรมและหมายความว่าทุกภาคส่วนสามารถเร่งความสำเร็จของเป้าหมายด้านสภาพอากาศได้ ปฏิญญาดังกล่าวจะช่วยให้มั่นใจว่ามาตรฐานที่เป็นมิตรต่อสภาพอากาศจะกลายเป็นบรรทัดฐานในทุกอุตสาหกรรมได้
ทั้งนี้ เอ็ดดี้ เอ็นโจโรเก้ ประธานไอเอสโอได้เน้นว่าเมื่อตอนที่เขารับตำแหน่งประธานไอเอสโอ เขาก็มีมุมมองว่ามาตรฐานไอเอสโอสามารถเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาสำหรับการพัฒนาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ ตอนนี้ ผ่านไปสองปีแล้ว เขามีความเชื่อมั่นที่หยั่งรากลึกว่าเขาต้องการทำให้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเกิดขึ้นในอนาคตสำหรับคนรุ่นต่อไปให้ได้
ปัจจุบัน ไอเอสโอได้พัฒนามาตรฐานมากกว่า 1,000 รายการ ซึ่งรวมถึงมาตรฐานที่สนับสนุนการปรับเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศและการบรรเทาผลกระทบที่ส่งผลโดยตรงต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติว่าด้วยการดำเนินการด้านสภาพอากาศ ไอเอสโออยู่ในตำแหน่งที่ไม่เหมือนใครในการให้คำแนะนำแก่องค์กรทุกประเภท โดยไม่คำนึงถึงขนาด ขอบเขต หรือสถานที่ตั้ง ในการนำไปปฏิบัติ บูรณาการ และส่งเสริมพฤติกรรมที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
ปฏิญญาลอนดอนมีการเน้นย้ำถึงบทบาทสำคัญของมาตรฐานสากลในการช่วยเหลือชุมชน องค์กร และอุตสาหกรรมในการเปลี่ยนผ่านไปสู่แหล่งพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดกว่า นอกจากนี้ ยังช่วยรักษาความหลากหลายทางชีวภาพไปพร้อมๆ กับการเปิดตลาดสำหรับนวัตกรรมที่จัดการกับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมทั่วโลกด้วย
เซอร์จิโอ มูจิก้า เลขาธิการไอเอสโอ ได้เน้นว่าไอเอสโอมุ่งมั่นที่จะดำเนินการเพื่อส่งเสริมการรับรู้ถึงบทบาทของมาตรฐานไอเอสโอในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไอเอสโอได้ให้คำมั่นสัญญาที่สำคัญในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและเผยแพร่ความหวังนี้ผ่านปฏิญญาลอนดอน ไอเอสโอได้ขอให้ประชาคมระหว่างประเทศทำงานร่วมกันเพื่อรักษาเจตนารมณ์และจิตวิญญาณในการทำให้มาตรฐานสากลเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินการเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ
ในงาน ISO Week 2021 ไอเอสโอยังได้เปิดตัว “Climate Action Kit” ซึ่งเป็นคู่มือสนับสนุนผู้กำหนดนโยบายสำหรับความมุ่งมั่นในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิ คู่มือนี้นำเสนอกรณีศึกษาว่ามาตรฐานสามารถสนับสนุนนโยบายสาธารณะและมีอิทธิพลต่อการริเริ่มด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้อย่างไร ซึ่งจะเป็นตัวอย่างของความร่วมมือที่ดีระหว่างหน่วยงานมาตรฐานระดับประเทศและผู้กำหนดนโยบายของรัฐบาล โดยที่มาตรฐานและการริเริ่มอื่นๆ ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติได้จัดเตรียมแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไว้แล้ว
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2726.html
Related posts
Tags: Adaptation and Resilience, BSI, Climate action Kit, Climate Change, Environment, ISO, London Declaration, SDGs, standard, Standardization, Sustainability, UN
Recent Comments