• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    15,543 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    15,075 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,406 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,292 view(s)
  • ISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืนISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืน
    9,981 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change Construction & Materials COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality resilience safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | — October 27, 2021 8:00 am
กล้าฝัน กล้าลงมือทำ “นักบินอวกาศหญิงแห่งองค์การนาซา”
Posted by Phunphen Waicharern with 1506 reads
0
  

LET YOUR DREAM COMES TRUEงานสัปดาห์อวกาศโลกขององค์การสหประชาชาติปี 2564 (ค.ศ.2021) มีการเฉลิมฉลองให้กับสุภาพสตรีหรือผู้หญิงในอวกาศ และความฝันที่ยิ่งใหญ่ของผู้หญิงคือสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น ดังนั้น ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น “หากคุณมีความฝัน จงลงมือทำ” ดร. แซนดรา แม็กนัส อดีตนักบินอวกาศขององค์การนาซา NASA ได้กล่าวกับผู้หญิงทุกคนเนื่องในโอกาสนี้

ดร.แซนดรา แม็กนัส ศาสตราจารย์ประจำโรงเรียนวิศวกรรมการบินและอวกาศของแดเนียล กุกเกนไฮม์ และอดีตนักบินอวกาศของนาซ่า กล่าวว่าขอให้เชื่อมั่นในตัวเอง ถ้าคุณมีความฝัน จงไปให้ถึง และอย่าลังเลที่จะขอคำแนะนำตลอดเวลาที่ต้องการ จงอย่าให้คนอื่นมากำหนดว่าคุณเป็นใครและทำอะไรได้บ้าง

ดร.แซนดรา แม็กนัส ได้รับเลือกให้เข้าร่วม NASA Astronaut Corps ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2539 (ศ.ศ.1996)  และได้รับภารกิจ 2 ประการในการบินไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) คือ ทำหน้าที่เป็นวิศวกรการบินและเจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์ใน ISS Expedition18 โดยใช้เวลาสี่เดือนครึ่งบนยาน หลังจากได้รับมอบหมายหน้าที่ในสถานี ก็ได้ทำงานที่สำนักงานใหญ่ของนาซ่าในคณะกรรมการภารกิจสำรวจระบบ หน้าที่สุดท้ายที่องค์การนาซา คือตำแหน่งรองหัวหน้าสำนักงานนักบินอวกาศ

บุคคลต้นแบบที่เป็นผู้หญิงอย่าง ดร.แซนดรา แม็กนัส กำลังช่วยส่งเสริมให้ผู้หญิงดำเนินรอยตามหน้าที่ของผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีและเตรียมพร้อมสำหรับทักษะที่จำเป็นในการก้าวไปสู่การทำงานแห่งอนาคต

สำหรับหัวข้อ “ผู้หญิงในอวกาศ” ในงานสัปดาห์อวกาศโลก 2021 เป็นที่คาดหมายว่าจะสร้างความตระหนักมากขึ้นเกี่ยวกับปัญหาความหลากหลายทางเพศในสาขาอวกาศและระบุอุปสรรคที่ผู้หญิงต้องเผชิญเมื่อเข้าสู่อาชีพที่เกี่ยวข้องกับอวกาศ หัวข้อนี้ยังมีส่วนช่วยในการอภิปรายว่าจะสามารถเอาชนะความท้าทายเหล่านั้นได้อย่างไร

ผู้หญิงคนแรกที่ได้เดินทางไปปฏิบัติภารกิจในอวกาศคือ นักบินอวกาศหญิง วาเลนตินา วลาดิมีรอฟนา เทเรชโควา ซึ่งโคจรรอบโลก 48 ครั้ง ตั้งแต่วันที่ 16 ถึง 18 มิถุนายน พ.ศ. 2506 (ค.ศ.1963) ผู้หญิงทั่วโลกต่างให้ความสนใจและฝันว่าจะสามารถเดินทางไปในอวกาศได้เช่นกัน  และการเข้าถึงอวกาศของผู้หญิง ไม่ใช่แค่ในฐานะนักบินอวกาศ แต่ในฐานะผู้ใช้และผู้สร้างบริการด้านอวกาศด้วย เช่น การสังเกตการณ์โลกและการสื่อสารโทรคมนาคมผ่านดาวเทียม ก็ยังห่างไกลจากความเท่าเทียมกัน ตามรายงานมีเพียง 20% -22% ของผู้ปฏิบัติงานที่เป็นผู้หญิงเท่านั้นในอุตสาหกรรมอวกาศทั้งหมด

อย่างไรก็ตาม มีสัญญาณของความคืบหน้าของ Space4Women ซึ่งเป็นโครงการของสำนักงานกิจการอวกาศแห่งสหประชาชาติ ที่ทำหน้าที่เพื่อส่งเสริมการกระจายอำนาจให้กับผู้หญิงเพื่อทำงานในอวกาศ แผนการของนาซ่าที่จะนำผู้หญิงเดินทางนำยานไปจอดลงบนดวงจันทร์เป็นสัญญาณที่ดีอีกอย่างหนึ่ง เรื่องนี้เป็นเพียงตัวอย่างเล็กน้อยของแนวทางการแก้ไขปัญหาเชิงนวัตกรรมและประสิทธิภาพที่เพิ่มมากขึ้น

ในส่วนของไอเอสโอนั้น ได้ช่วยให้วาระนี้ก้าวหน้าด้วยความคิดริเริ่มต่างๆ ตั้งแต่ปฏิญญา UNECE ว่าด้วยเรื่องมาตรฐานที่ตอบสนองต่อเพศสภาพหรือ Declaration on Gender Responsive Standards  ไปจนถึงแผนปฏิบัติการด้านเพศสภาพของไอเอสโอหรือ ISO Gender Action Plan  นอกจากนี้ ยังได้พัฒนามาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากลสำหรับเครื่องบินและยานอวกาศในงานของคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 20, Aircraft and space vehicles นับตั้งแต่ก่อตั้งองค์กรเมื่อปี 2490 (ค.ศ.1947) เป็นต้นมา

เส้นทางสู่อนาคตของผู้หญิงหลายคนไม่ได้ก้าวไปได้อย่างง่ายดายอย่างที่คนทั่วไปมองเห็นจากภายนอก แต่ความพยายามฝึกฝนและเรียนรู้อย่างหนักและไม่ท้อถอยทำให้ผู้หญิงสามารถประสบความสำเร็จได้เช่นเดียวกับผู้ชาย ดังตัวอย่างของนักบินอวกาศหญิง ดร.แซนดรา แม็กนัส และ วาเลนตินา วลาดิมีรอฟนา เทเรชโควา รวมทั้งผู้หญิงอีกมากมายจากทั่วทุกมุมโลก

สำหรับสัปดาห์อวกาศโลกได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2564 โดยมีกิจกรรมนับพันรายการทั่วโลกที่สร้างแรงบันดาลใจให้คนรุ่นต่อไปและเฉลิมฉลองความสำเร็จและการมีส่วนร่วมของผู้หญิงในภาคอวกาศ กิจกรรมนี้จะยังคงดำเนินต่อไปตลอดทั้งเดือนตุลาคม 2564

ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2731.html



Related posts

  • มาตรฐานไอเอสโอช่วยส่งเสริม SMEs ได้อย่างไร ตอนที่ 2มาตรฐานไอเอสโอช่วยส่งเสริม SMEs ได้อย่างไร ตอนที่ 2
  • ถึงเวลาต้องปรับเปลี่ยนเป็น ISO 45001: 2018 ตอนที่ 1ถึงเวลาต้องปรับเปลี่ยนเป็น ISO 45001: 2018 ตอนที่ 1
  • ISO 41001 ช่วยจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกได้อย่างมีประสิทธิผลISO 41001 ช่วยจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกได้อย่างมีประสิทธิผล
  • ไอเอสโอแนะมาตรฐานสร้างความยืดหยุ่นทางไซเบอร์ให้องค์กรไอเอสโอแนะมาตรฐานสร้างความยืดหยุ่นทางไซเบอร์ให้องค์กร
  • “IWA 42” เครื่องมือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์“IWA 42” เครื่องมือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

Tags: Aircraft and space vehicles, Gender Equality, ISS, NASA, Sandra Magnus, UNECE, United Nations, Women in space, World Space Week 2021

Click here to cancel reply.

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

Recent Comments

  • Phunphen Waicharern on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak on นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • (TH) landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑