บนโลกนี้มีคนในบางพื้นที่ยังขาดแคลนอาหารและหิวโหยอยู่อีกมากมาย แต่ถ้าโลกของเรามีระบบการเกษตรที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง ทุกคนบนโลกนี้ก็จะมีอาหารเพียงพอ อีกทั้งจะไม่ต้องประสบกับปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วย
วันอาหารโลก (World Food Day) ตรงกับวันที่ 16 ตุลาคม ของทุกปี ในปี 2564 นี้ (ค.ศ.2021) องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization: FAO) ได้รณรงค์ในหัวข้อ “Our actions are our future” โดยมีแนวคิดว่าอนาคตในเรื่องของอาหารอยู่ในมือของพวกเราทุกคนซึ่งสามารถลงมือทำได้ด้วยตัวเองด้วยการผลิตอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการและมีความยั่งยืน ในขณะเดียวกัน เราทุกคนก็สามารถลดการสูญเสียและขยะจากอาหารได้ด้วยตัวเอง เราสามารถเริ่มจากการมีความรับผิดชอบและตระหนักถึงความสำคัญของวิถีที่ชีวิตที่ยั่งยืนและมีสุขภาพดี เราสามารถลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ สิ่งเหล่านี้ทำให้เราทุกคนจำเป็นต้องลงมือทำบางอย่างเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวให้ได้ ซึ่งในส่วนของไอเอสโอตระหนักดีว่ามีหลายสิ่งหลายอย่างที่สามารถทำได้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว และไอเอสโอก็มีมาตรฐานเป็นจำนวนมากที่ช่วยในเรื่องนี้
เอกสารทางวิชาการ ISO/TS 26030, Social responsibility and sustainable development – Guidance on using ISO 26000:2010 in the food chain เป็นเอกสารที่เกี่ยวกับเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งไอเอสโอได้ให้แนวทางเกี่ยวกับวิธีการที่องค์กรในห่วงโซ่การผลิตอาหารสามารถนำไปใช้เพื่อก้าวสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน และช่วยให้องค์กรต่างๆ เช่น บริษัทอาหาร ฟาร์ม สหกรณ์ ผู้แปรรูป และผู้ค้าปลีก จัดทำรายการกิจกรรมที่จะนำไปสู่ความรับผิดชอบต่อสังคมได้มากขึ้น
ข้อกำหนดทางเทคนิคนี้เป็นเพียงหนึ่งในมาตรฐานจำนวนมากกว่า 1,600 ฉบับและเป็นเอกสารแนวทางสำหรับภาคการผลิตอาหารที่มีส่วนช่วยในการยุติความหิวโหยในโลกได้โดยตรงด้วยการสร้างความมั่นใจในผลิตภัณฑ์อาหาร การปรับปรุงวิธีการทางการเกษตร และการส่งเสริมการจัดซื้อที่ยั่งยืนและมีจริยธรรม ซึ่งรวมถึงชุดมาตรฐาน ISO 22000 เกี่ยวกับการจัดการความปลอดภัยของอาหารซึ่งครอบคลุมมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอาหาร การทำฟาร์ม บรรจุภัณฑ์ การจัดเลี้ยงและอาหารสัตว์และการผลิตอาหารสัตว์ด้วย
การช่วยเหลือให้ภาคเกษตรกรรมสามารถปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนและได้รับค่าจ้างที่เหมาะสมก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่มีความสำคัญ ดังนั้น ไอเอสโอจึงได้พัฒนาข้อตกลงการประชุมเชิงปฏิบัติการระหว่างประเทศที่เรียกว่า IWA 29, Professional farmer organization – Guidelines (International Workshop Agreement: IWA) ซึ่งองค์กรเกษตรกรมืออาชีพสามารถนำแนวปฏิบัติไปใช้ได้ อันเป็นการสนับสนุนความเป็นมืออาชีพขององค์กรเกษตรกรรายย่อยในตลาดเกิดใหม่ และทำให้สามารถเข้าสู่ตลาดโลกได้ มี นอกจากนี้ ยังสามารถเสริมด้วยชุดมาตรฐาน ISO 34101 เกี่ยวกับโกโก้ที่ยั่งยืนและตรวจสอบย้อนกลับได้ ซึ่งมีชุดแนวทางปฏิบัติทางการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้มีการตรวจสอบย้อนกลับของเมล็ดโกโก้ได้ดีขึ้น และมีสภาพการทำงานที่ดีขึ้นสำหรับทุกคนที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทานของโกโก้
ไอเอสโอยังมีมาตรฐานอีกหลายฉบับที่มุ่งเน้นวิธีการผลิตที่ยั่งยืนและมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น ISO 26000 สำหรับความรับผิดชอบต่อสังคม และ ISO 20400 สำหรับการจัดซื้ออย่างยั่งยืน สิ่งเหล่านี้ส่งเสริมสภาพการทำงานที่มีจริยธรรมและส่งเสริมแนวทางการจัดซื้ออย่างมีจริยธรรมตลอดทั้งห่วงโซ่การผลิตอาหารทั้งหมด
มาตรฐานสากลไอเอสโอจะมีส่วนช่วยโลกของเราในเรื่องของเกษตรกรรมและอาหารการกินได้อย่างไร สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ของไอเอสโอ ซึ่งมีเรื่องราวและมาตรฐานที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่สนใจเรื่องของมาตรฐานด้านอาหารและการเกษตร
ที่มา: 1. https://www.iso.org/news/ref2732.html
2. https://www.fao.org/world-food-day/about/en
Related posts
Tags: Agriculture, Food chain, ISO, ISO 22000 series, ISO 26000, ISO 34101, ISO/TS 26030, IWA 29, social responsibility, Standardization, Sustainability Management, Sustainable Development
Recent Comments