• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    15,990 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    15,135 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,513 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,360 view(s)
  • ISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืนISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืน
    10,209 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction IEC Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure UN water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | — พฤศจิกายน 3, 2021 8:00 am
“มาตรฐานสากล” ช่วยโลกบรรลุเป้าหมาย SDG ตอนที่ 1
Posted by Phunphen Waicharern with 1062 reads
0
  

ISO Standards - The Path to SDG Successทาเทียน่า วาโลวายา ได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการสำนักงานสหประชาชาติที่กรุงเจนีวา (UNOG) เมื่อสองปีก่อน ทาเทียน่าเป็นผู้หญิงคนแรกที่ดำรงตำแหน่งสูงสุดใน UNOG ซึ่งเป็นกระบอกเสียงสนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศและทำให้ผู้หญิงมีสิทธิมีเสียงมากขึ้น ตอนนี้ทาเทียน่ากำลังก้าวข้ามขอบเขตของผู้หญิงในหลาย ๆ ด้าน

หลังจากสิ้นสุดการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติครั้งที่ 76 เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 ผู้เข้าร่วมประชุมต่างก็มีความกังวลกับความท้าทายระดับโลกที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และมุ่งมั่นที่จะก้าวข้ามอุปสรรคต่าง ๆ ไปให้ได้  ท่ามกลางการหารือกันอย่างมากมาย ทำให้เกิดประเด็นที่ชัดเจนขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า และพร้อม ๆ กันนี้ ความร่วมมือระดับพหุภาคีก็มีมากขึ้นเพื่อรวมกันเป็นหนึ่งเดียวในการแก้ไขปัญหาเพื่อโลกที่ยั่งยืนและยืดหยุ่นมากกว่าเดิม

ในการสนับสนุนพหุภาคีรูปแบบใหม่นี้ เช่น ทาเทียน่า วาโลวายา เลขาธิการสำนักงานสหประชาชาติที่กรุงเจนีวา ได้ทำการจัดลำดับความสำคัญหลักในฐานะผู้นำองค์กรในการดำเนินการตามวาระระดับโลกขององค์การสหประชาชาติรวมทั้งเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ทั้ง 17 ประการ

วารสารไอเอสโอโฟกัสได้พูดคุยกับทาเทียน่า วาโลวายา เพื่อหารือเกี่ยวกับการพัฒนาต่าง ๆ เรื่องของพหุภาคี และเรื่องราวที่อยู่ในความสนใจของสังคมโลก ทั้งนี้ เนื่องจากเธอเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเลขาธิการสำนักงานสหประชาชาติที่กรุงจเจนีวา ผู้สื่อข่าวจึงได้สอบถามถึงความภาคภูมิใจในตำแหน่งนี้ ซึ่งวาโลวายาก็กล่าวเช่นกันว่ามีความภาคภูมิใจมากที่ได้ทำงานให้กับองค์การสหประชาชาติ ภารกิจนี้สำคัญกว่าที่เคยเป็นมาเนื่องจากเราตกอยู่ในสถานการณ์วิกฤตของโลกที่ไม่ใช่เพียงแค่วิกฤตสุขภาพเท่านั้น แต่ยังมีวิกฤตด้านเศรษฐกิจและสังคมอีกด้วย  และเมื่อปี 2563 (ค.ศ.2020) ยังเป็นวันครบรอบ 75 ปีขององค์การสหประชาชาติอีกด้วย ซึ่งภายใต้โครงการระดับโลกขององค์การสหประชาชาติที่มีชื่อว่า UN75 global dialogue ได้ทำการสำรวจพลเมืองทั่วโลกและพบว่ามีคนถึง 87% ต้องการความร่วมมือข้ามชาติเพื่อตอบสนองต่อวิกฤตของโลก

ในด้านอุปสรรคของผู้หญิงในการทำงานนั้น  ทาเทียน่า วาโลวายา กล่าวว่าผู้หญิงควรเริ่มต้นด้วยการขยายการเข้าถึงการศึกษาให้ได้ ตลอดชีวิตของเธอ ได้ทำงานด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศซึ่งเป็นตำแหน่งที่โดดเด่นมาก การก้าวสู่ตำแหน่งนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย และในยุคสมัยของเธอ ใคร ๆ ก็มองว่าการต่างประเทศไม่ใช่สาขาวิชาที่เหมาะกับผู้หญิง แต่เธอสามารถทำได้เพราะจบการศึกษาจากโรงเรียนด้วยคะแนนที่ดีเยี่ยมทุกด้าน ทำให้ได้เรียนในคณะเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศของสถาบันการเงินมอสโก ทุกอย่างเริ่มต้นด้วยการศึกษาในระดับพื้นฐาน ตั้งแต่โรงเรียนไปจนถึงมหาวิทยาลัย และหลังจากนั้น ผู้หญิงต้องการโอกาสที่เท่าเทียมกันในทุกขั้นตอนของอาชีพการงาน แต่ทั้งนี้ก็ต้องเริ่มต้นจากการเข้าถึงการศึกษาให้ได้ก่อน

สำหรับการแก้ปัญหาพหุภาคีเพื่อต่อสู้กับความท้าทายระดับโลกในศตวรรษที่ 21 ประเทศต่าง ๆ จะร่วมกันตอบสนองต่อปัญหาเร่งด่วนที่สุดของโลกได้อย่างไรบ้าง  วาโลวายากล่าวว่า ความท้าทายระดับโลกในเรื่องการระบาดใหญ่ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจและสังคม ความไม่เท่าเทียมทางเพศ ทั้งหมดนี้เป็นความท้าทายระดับโลกที่เราต้องหาวิธีแก้ปัญหาระดับพหุภาคี แต่สิ่งที่เธอสนับสนุนอย่างตรงเป้าก็คือ พหุภาคีนิยมรูปแบบใหม่ กล่าวคือ โลกเราต้องการเครือข่ายที่ครอบคลุมและมีความหลากหลายทางภาษาแบบบูรณาการ เนื่องจากการตัดสินใจระหว่างประเทศในขณะนี้ไม่เพียงแต่รวมถึงเสียงของประเทศสมาชิกซึ่งเป็นตัวแทนจากรัฐบาลเท่านั้น แต่ยังรวมถึงองค์กรระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค และระดับระหว่างประเทศด้วย เช่น ไอเอสโอ หน่วยงานนอกภาครัฐ ภาคเอกชน รวมทั้งกลุ่มอื่นๆ ที่มักถูกมองข้ามอย่างเยาวชนและสตรี ดังนั้น สำนักงานสหประชาชาติจึงต้องเสนอการตัดสินใจที่สมดุลกันสำหรับทุกฝ่าย และต้องเข้าใจผลที่ตามมาของการตัดสินใจเหล่านี้อย่างถ่องแท้

การตอบสนองพหุภาคีนี้มีความสำคัญเช่นกันเมื่อพูดถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาระดับโลกที่จำเป็นในการนำแผนงานไปใช้ ดังที่กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ การต่อสู้กับปัญหาเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสามารถทำได้ด้วยมาตรฐานเท่านั้น เนื่องจากมีมาตรฐานต่างๆ มากมายที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยให้อุตสาหกรรมเฉพาะด้านเป็นมิตรกับสภาพภูมิอากาศมากขึ้น และมาตรฐานจะเป็นเครื่องมือที่ดีสำหรับเราซึ่งประเทศสมาชิกสามารถนำไปใช้เพื่อช่วยในเรื่องคาร์บอนฟุตพริ้นท์โดยรวม ซึ่งแน่นอนว่ามาตรฐานต้องเป็นส่วนหนึ่งของข้อเสนอแนะพหุภาคีด้วย

ทาเทียน่า วาโลวายาได้พูดถึงเรื่องของพหุภาคีใหม่ว่าเป็นความร่วมมือในรูปแบบที่แตกต่างออกไปและมองเห็นมาตรฐานว่าจะสนับสนุนเศรษฐกิจโลกของเราในอนาคตได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตอนนี้ ศัตรูตัวฉกาจของโลกก็คือ COVID-19 แล้วปัญหานี้จะขับเคลื่อนการตัดสินใจและการสร้างฉันทามติในสังคมต่างๆ ในปัจจุบันและผลักดันให้สังคมโลกก้าวไปข้างหน้าได้อย่างไร โปรดติดตามได้ในตอนต่อไปค่ะ

ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2728.html



Related posts

  • ลีนและนวัตกรรมที่ยั่งยืนกับการเรียนรู้ ตอนที่ 2ลีนและนวัตกรรมที่ยั่งยืนกับการเรียนรู้ ตอนที่ 2
  • มาตรฐานการจัดการความมั่นคงทางชีวภาพมาตรฐานการจัดการความมั่นคงทางชีวภาพ
  • แบล็คสวอนกับไวรัสเปลี่ยนโลกแบล็คสวอนกับไวรัสเปลี่ยนโลก
  • เอไอเปลี่ยนชีวิต ตอนที่ 1เอไอเปลี่ยนชีวิต ตอนที่ 1
  • CABs เชื่อถือได้เมื่อใช้ ISO/IEC 17000 SeriesCABs เชื่อถือได้เมื่อใช้ ISO/IEC 17000 Series

Tags: COVID-19, Guidance for organizations, ISO, Multilateralism, SDG, standard, Standardization, Tatiana Valovaya, UN, UNOG

กดที่นี่เพื่อยกเลิกการตอบ

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

ความเห็นล่าสุด

  • Phunphen Waicharern บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak บน นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑