• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    15,243 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    15,010 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,329 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,211 view(s)
  • ISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืนISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืน
    9,842 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change Construction & Materials COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality resilience safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Strategic Management | — November 5, 2021 8:00 am
“มาตรฐานสากล” ช่วยโลกบรรลุเป้าหมาย SDG ตอนที่ 2
Posted by Phunphen Waicharern with 1413 reads
0
  

ISO Standards - The Path to SDG Success(2)บทความ MASCIInnoveristy เรื่อง มาตรฐานสากล” ช่วยโลกบรรลุเป้าหมาย SDG ตอนที่ 1 วารสารไอเอสโอโฟกัสได้พูดคุยกับทาเทียน่า วาโลวายา ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการสำนักงานสหประชาชาติที่กรุงเจนีวา (UNOG) เมื่อสองปีที่แล้ว และทาเทียน่าเป็นผู้หญิงคนแรกที่ดำรงตำแหน่งสูงสุดใน UNOG  มีคำถามหลายเรื่องที่อยู่ในความสนใจของผู้คน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการที่ผู้หญิงสามารถก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำองค์กรระดับโลกซึ่งวาลาโวยาให้ความเห็นว่าต้องเริ่มจากการศึกษาในขั้นพื้นฐานให้ได้ก่อน เรื่องการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศซึ่งมาตรฐานจะเป็นเครื่องมือที่ดีมาก  ไปจนถึงเรื่องของการตอบสนองต่อปัญหาเร่งด่วนที่สุดของโลกคือ COVID-19 ซึ่งโลกต้องการความร่วมมือระดับพหุภาคีมากขึ้น

สำหรับบทความในตอนนี้ จะกล่าวถึงความร่วมมือของสังคมโลกในการสร้างฉันทามติและผลักดันให้สังคมโลกก้าวไปข้างหน้าได้อย่างยั่งยืน ซึ่งวาโลวายาได้กล่าวว่าทุกวันนี้ โลกเราอยู่ท่ามกลางการแบ่งแยกต่าง ๆ และผลประโยชน์ส่วนตน แต่โลกของเราต้องการผู้นำประเทศเพื่อรักษาหลักการพหุภาคีของความร่วมมือ การสร้างฉันทามติ การดำเนินการร่วมกันในความสัมพันธ์ของโลกและกิจการทั่วโลก ยกตัวอย่างเช่น การที่รัสเซียเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก ซึ่งทาเทียน่า วาโลวายามีส่วนเกี่ยวข้องในขณะนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับโลกของเราในหลาย ๆ ด้าน เนื่องจากมาตรฐานได้รับการยอมรับว่าเป็นจำเป็นในการทำให้เศรษฐกิจโลกมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ช่วงที่เธออยู่ระหว่างปฏิบัติงานที่สหภาพเศรษฐกิจยูเรเชีย (EAEU) ก็ได้รับผิดชอบเรื่องการบูรณาการและประเด็นเศรษฐกิจมหภาค จึงมักจะมีการหารือกันระหว่างประเทศสมาชิก 5 ประเทศเกี่ยวกับการใช้มาตรฐานระดับประเทศ  ในไม่ช้าก็เห็นได้ชัดว่ากฎระเบียบของ EAEU ไม่ใช่แค่การใช้มาตรฐานระดับชาติของประเทศใดประเทศหนึ่งเพราะเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดหรือประเทศที่มีประวัติการทำงานยาวนานที่สุดในหัวข้อที่กำหนด แต่ควรสร้างบรรทัดฐานทางกฎหมายใหม่ตามมาตรฐานระดับประเทศที่ทันสมัยที่สุด โดยคำนึงถึงแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดระดับสากลจากมุมมองทางวิทยาศาสตร์ด้วย

วาโลวายากล่าวว่ามาตรฐานไม่ควรถูกมองว่าเป็นภาระ แต่เป็นตัวสนับสนุนอย่างดี ตัวอย่างเช่น ช่วงที่เธอทำงานที่ EAEU ก็ได้แนะนำมาตรฐานการปล่อยมลพิษจำนวนหนึ่งสำหรับรถยนต์ในระดับสหภาพซึ่งเป็นขั้นตอนสำหรับกฎระเบียบการปล่อยมลพิษที่มักเรียกว่า Euro 3, Euro 4, Euro 5 และอื่น ๆ สำหรับงานเบา ยานพาหนะ แม้จะมีต้นทุนสูงสำหรับผู้ผลิต แต่ก็ยังคงเดินหน้ากันต่อไปเพราะต้องทำอะไรบางอย่างเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้ได้ และเตรียมพร้อมที่จะแข่งขันในเวทีระดับโลก

นอกจากนี้  สำหรับคำถามที่ว่าศัตรูตัวฉกาจของโลกตอนนี้คือ COVID-19 ปัญหาระดับโลกที่เกิดขึ้นเช่นนี้จะขับเคลื่อนการตัดสินใจและการสร้างฉันทามติในสังคมต่างๆ ในปัจจุบันให้เร็วขึ้นได้อย่างไร วาโลวายากล่าวว่าการระบาดใหญ่ได้แสดงให้เราเห็นอย่างชัดเจนว่าเราพึ่งพาอาศัยกันอย่างไร ความโดดเดี่ยวไม่ใช่คำตอบ และตอนนี้เราทุกคนก็อยู่ในเรือลำเดียวกัน เราจำเป็นต้องค้นหาวิธีแก้ปัญหาระดับโลกเพราะวิธีแก้ปัญหาระดับประเทศจะใช้ได้ระยะหนึ่งเท่านั้น แต่จะไม่ได้ผลในระยะยาว สิ่งที่โรคระบาดกำลังบอกเราจริง ๆ คือ เราจำเป็นต้องมีกลยุทธ์ร่วมกันเพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับมาตรการที่เหมาะสม และวิธีประสานงานเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และแน่นอนว่า เราจำเป็นต้องมีกลยุทธ์ระดับโลกในการจัดหาวัคซีนให้กับทุกคนทั่วโลก

สำหรับการใช้ระบบดิจิทัลช่วยให้โลกของเราผ่านช่วงวิกฤตการในหลายเดือนที่ผ่านมาได้  และการที่เราจะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างเต็มที่เพื่อประโยชน์ของสังคมได้นั้น เธอกล่าวว่าจากการสำรวจออนไลน์ทั่วโลกของสหประชาชาติซึ่งให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับมุมมองของโลก ความเชื่อของเธอคือระบอบประชาธิปไตยทางตรงเช่นนี้จะกลายเป็นบรรทัดฐานในนโยบายทางการแพทย์ในอนาคตมากขึ้น จะช่วยให้เราเข้าถึงผู้คนได้กว้างขึ้นโดยพิจารณามุมมองที่หลากหลายเมื่อทำการตัดสินใจที่สำคัญ

ในขณะเดียวกัน โลกของเรากำลังประสบกับความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล ในขณะที่มนุษยชาติส่วนใหญ่บนในโลกนี้อาศัยระบบดิจิทัลนี้แล้ว แต่มีคนอีกประมาณ 46% ไม่ได้เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ถ้าอนาคตของการศึกษาคือดิจิทัล แต่เด็กจำนวนมากไม่มีอินเทอร์เน็ต พวกเขาจะได้รับการศึกษาแบบใดกัน ดังนั้น แม้ว่าโลกของเราจะมีโอกาสมากมาย แต่ก็มีความท้าทายมากมายเช่นกัน

เธอกล่าวว่าการระบาดใหญ่ทำให้เป้าหมายของวาระการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDG) ปี 2030 มีความเกี่ยวข้องมากขึ้นกว่าเดิม และเราต้องทำทุกวิถีทางเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ผู้คนมักคิดว่ามาตรฐานไปเอสโอเกี่ยวข้องกับหัวข้อทางเทคนิคเท่านั้น เช่น ไฟฟ้าและอื่นๆ ที่คล้ายกัน แต่จริง ๆ แล้ว เป็นเรื่องที่กว้างกว่านั้นมากซึ่งไอเอสโอมีมาตรฐานสากลสำหรับทุก SDG ดังนั้น ในแง่นี้ มาตรฐานจึงมีบทบาทสำคัญมาก เช่น เรื่องของการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศ ไอเอสโอมีมาตรฐานที่ช่วยบรรเทาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและปรับให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ไอเอสโอและยูเอ็น (องค์การสหประชาชาติ) ได้ทำงานร่วมกันตั้งแต่ก่อตั้งไอเอสโอเมื่อปี 2490 (ค.ศ.1947) และยังสามาถทำอะไรได้อีกมากมายเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือนี้ให้โลกพัฒนาอย่างยั่งยืนมากขึ้น องค์การสหประชาชาติไม่อาจพอใจกับการดำเนินงานตามปกติเพื่อจัดการกับปัญหาข้างหน้า แต่จำเป็นต้องมีระบบพหุภาคีที่ครอบคลุมมากขึ้น ซึ่งรวมถึงการเจรจากับองค์กรระหว่างประเทศด้วย เพราะเราทุกคนมีเป้าหมาย SDGs ร่วมกัน เช่น ความเท่าเทียมทางเพศและการแก้ไขวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และแม้ว่ายูเอ็นและไอเอสโอจะมีเครื่องมือที่แตกต่างกันเพื่อจัดการกับความท้าทายเหล่านี้ แต่ก็สามารถเป็นส่วนเสริมซึ่งกันและกันได้มาก บ่อยครั้ง สิ่งเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการสนับสนุนของมาตรฐานสากลเท่านั้น ความล้มเหลวในการใช้มาตรฐานในระดับสากลอาจสร้างอุปสรรคทางเทคนิคที่ขัดขวางการค้าเสรีและยุติธรรมได้  ดังนั้น โลกของเราจะต้องเพิ่มความร่วมมือให้มากขึ้น และแน่นอนว่ายูเอ็นและไอเอสโอมีสิ่งที่ต้องทำร่วมกันในประเด็นต่าง ๆ ดังกล่าวเพื่อประโยชน์ของคนทั่วโลกต่อไป

ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2728.html



Related posts

  • การสร้างองค์กรให้เป็น SFO ตอนที่ 6 การกำหนดจุดมุ่งหมายเชิงยุทธศาสตร์การสร้างองค์กรให้เป็น SFO ตอนที่ 6 การกำหนดจุดมุ่งหมายเชิงยุทธศาสตร์
  • ไอเอสโอปรับปรุงมาตรฐานเครื่องจักรกลเกษตรไอเอสโอปรับปรุงมาตรฐานเครื่องจักรกลเกษตร
  • แนะนำมาตรฐานแนวทางการกำหนดราคาต่อหน่วยสินค้าแนะนำมาตรฐานแนวทางการกำหนดราคาต่อหน่วยสินค้า
  • อนาคตของยานยนต์พลังงานสะอาด  ตอนที่ 1อนาคตของยานยนต์พลังงานสะอาด ตอนที่ 1
  • สร้างคุณค่าแบรนด์ยุคใหม่ด้วย ISO ISO 20671 ตอนที่ 2สร้างคุณค่าแบรนด์ยุคใหม่ด้วย ISO ISO 20671 ตอนที่ 2

Tags: COVID-19, Emission, Guidance for organizations, ISO, Multilateralism, SDG, standard, Standardization, Tatiana Valovaya, UN, UNOG

Click here to cancel reply.

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

Recent Comments

  • Phunphen Waicharern on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak on นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • (TH) landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑