เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2564 องค์กรชั้นนำของโลก 5 องค์กรได้ร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดมาตรฐานสากลประจำปี 2564 (ค.ศ.2021)ในรูปแบบเสมือนจริงเนื่องจากทั่วโลกยังคงเกิดการระบาดใหญ่ของ COVID-19 สำหรับองค์กรชั้นนำดังกล่าว ได้แก่ UNI (หน่วยงานสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศอิตาลี) CEI (คณะกรรมการอิเล็กทรอเทคนิกส์ของประเทศอิตาลี) ไออีซีหรือคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐานสาขาอิเล็กทรอเทคนิกส์ ไอเอสโอหรือองค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน และไอทียูหรือสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ
หน่วยงานดังกล่าวได้ออกแถลงการณ์ร่วมกันเรียกร้องให้ทุกประเทศยอมรับ สนับสนุน และนำมาตรฐานสากลมาใช้ เพื่อมีส่วนร่วมโดยตรงต่อเสาหลักสามประการของ G20 presidency ของประเทศอิตาลีซึ่งการประกาศดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการประชุมสุดยอดมาตรฐานสากลและทำเพื่อผู้คน ผืนแผ่นดินและความมั่งคั่ง (People, Planet and Prosperity)
เหล่าผู้นำขององค์กรความร่วมมือด้านมาตรฐานโลก (World Standards Cooperation: WSC) ได้วิงวอนขอให้ผู้กำหนดนโยบายและผู้นำรัฐบาล ให้ความสำคัญกับมาตรฐานในการมีบทบาทอำนวยความสะดวกเพื่อให้ทุกองค์กรสามารถฟื้นตัวขึ้นเพื่อความยั่งยืนในทุกระดับ การประกาศดังกล่าวระบุว่าหากรัฐบาลมีการอ้างอิงมาตรฐานในระดับนโยบาย รัฐบาลจะสามารถสนับสนุนการจ้างงาน สุขภาพ และการศึกษาของผู้คน (People) ได้อย่างมีนัยสำคัญ มีส่วนทำให้เกิดความยั่งยืน (Planet) และช่วยให้ธุรกิจฟื้นตัวทางเศรษฐกิจได้ (Prosperity)
ผู้นำ WSC เน้นย้ำว่าการระบาดใหญ่ในปัจจุบันได้แสดงให้เห็นประโยชน์ของระบบดิจิทัลต่อทั้งสามเสาหลักและบทบาทสำคัญที่มาตรฐานสากลมีต่อการสนับสนุนสิ่งเหล่านี้ มาตรฐานสากลเป็นแกนหลักของเทคโนโลยีดิจิทัลที่สร้างภาษาทั่วไปและสามารถส่งมอบคุณภาพและความเข้ากันได้สำหรับผู้ใช้งานทุกคน
เทคโนโลยีดิจิทัลที่ทำงานอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพเพื่อประโยชน์ของสังคมทำให้มั่นใจในอนาคตที่มีความยั่งยืน ความเท่าเทียมกัน และความเจริญก้าวหน้า
วิธีแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพสำหรับการดำเนินการด้านสภาพอากาศและความยั่งยืนทางเศรษฐกิจก็คือการใช้งานรูปแบบใหม่ของการทำงานร่วมกันและการเปิดโอกาสที่สร้างสรรค์ใหม่สำหรับนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีดิจิทัลที่ได้รับการสนับสนุนจากมาตรฐานสากล
ฟิลิปส์ เมทสเกอร์ เลขาธิการไออีซีกล่าวว่างานด้านมาตรฐานสากลและการประเมินความสอดคล้องคือการสนับสนุนความพยายามในการสร้างโลกที่ยั่งยืนและครอบคลุมมากขึ้น ซึ่งสำหรับไออีซีแล้ว สิ่งนี้หมายถึงการสนับสนุนให้สังคมหันมาใช้ไฟฟ้าทั้งหมดและมีเศรษฐกิจแบบไร้คาร์บอน ซึ่งจะช่วยรับรองความก้าวหน้าของโลกด้วยการเข้าถึงพลังงานซึ่งหาซื้อได้ทั่วโลกที่สร้างจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนและยั่งยืน
นอกจากนี้ มาตรฐานสากลและการประเมินความสอดคล้องยังสามารถปูทางไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนที่ดูแลทรัพยากรของเราได้ดียิ่งขึ้น สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องมืออันทรงพลังที่สามารถช่วยรัฐบาลและหน่วยงานกำกับดูแลในการดำเนินนโยบายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและบรรลุเป้าหมายการพัฒนาได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
ประชาคมมาตรฐานสากลต้องขับเคลื่อนความพยายามของพหุภาคีในขณะที่โลกของเราก้าวผ่านช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน และมองไปข้างหน้าเพื่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกอย่างเข้มแข็ง สมดุล และครอบคลุม มาตรฐานสากลเป็นเครื่องมืออันทรงพลังที่จะช่วยให้บรรลุพันธกรณีที่เกิดจากความร่วมมือดังกล่าว และทำให้เราสามารถสร้างอนาคตที่ยั่งยืนได้
แชซับ ลี ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานโทรคมนาคมของ ITU เน้นย้ำถึงความสำคัญของการทำให้ทุกคนมีเสียงในการตัดสินใจว่าความสามารถทางเทคโนโลยีใหม่ ๆ ควรเป็นปัจจัยสำคัญต่ออนาคตของเราอย่างไร
เนื่องจากมาตรฐานสากลแสดงถึงความมุ่งมั่นโดยสมัครใจในการทำงานร่วมกันในรูปแบบใหม่ มาตรฐานเหล่านี้จึงต้องช่วยให้มั่นใจว่านวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อความยั่งยืนนั้นมีการแบ่งปันกันทั่วโลก
การเรียกร้องให้ดำเนินการดังกล่าวยังเป็นการกระตุ้นให้ทุกประเทศมั่นใจว่ามาตรฐานและการเผยแพร่ในระดับสากลจะสามารถเร่งให้เกิดความสำเร็จตามข้อตกลงปารีส ซึ่งเป็นเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ และการเรียกร้องให้ดำเนินการของสหประชาชาติว่าด้วยการปรับตัวและความยืดหยุ่น สิ่งเหล่านี้สอดคล้องกับปฏิญญาลอนดอนของไอเอสโอซึ่งมีการลงนามในการประชุมสมัชชาใหญ่ประจำปีล่าสุด ซึ่งระบุถึงความมุ่งมั่นของไอเอสโอที่จะทำงานร่วมกับสมาชิกและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่ออำนวยความสะดวกและบรรลุเป้าหมายเหล่านี้
นอกจากนี้ ไอเอสโอและไออีซียังได้พัฒนา Climate Action Kitซึ่งเป็นแพ็คเกจเพื่อสนับสนุนผู้กำหนดนโยบายในความมุ่งมั่นในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิ แพคเกจนี้นำเสนอกรณีศึกษาว่ามาตรฐานสามารถสนับสนุนนโยบายสาธารณะและมีอิทธิพลต่อการริเริ่มด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้อย่างไร
เรนโซ โทเมลลินี หัวหน้าที่ปรึกษาด้านเทคนิคของโรแบร์โต ชิงโกลานี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเปลี่ยนผ่านเชิงนิเวศของอิตาลี ได้กล่าวปิดงานโดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของมาตรฐานในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ และกล่าวว่ามาตรฐานสากลมีความสำคัญต่อการรับมือกับความท้าทายที่โลกของเรากำลังเผชิญ ทั้งในระดับเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม และขอแสดงความยินดีกับผู้นำมาตรฐานและผู้เข้าร่วมในงานนี้สำหรับความร่วมมือ ความมุ่งมั่น และความสำเร็จที่ผ่านมาด้วย
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2742.html
Related posts
Tags: CEI, Climate action Kit, G20 Presidency, IEC, ISO, ITU, People, Planet and Prosperity, SDG, standard, Standardization, UNI, WSC, zero-carbon economy
Recent Comments