ประชากรโลกราว 56% อาศัยอยู่ในเมือง เทียบกับเมื่อ 50 ปีที่แล้ว มีเพียง 36% เท่านั้น มีรายงานขององค์การสหประชาชาติเมื่อปี 2561 (ค.ศ.2018) คาดการณ์ว่าตัวเลขเหล่านี้จะสูงถึง 68% หรือสองในสามของประชากรจะอาศัยอยู่ในเมืองภายในปี 2593 (ค.ศ.2050) นอกจากนี้ การที่ผู้คนไขว่คว้าหาโอกาสทางการศึกษาที่ดีขึ้นและงานที่ได้ค่าตอบแทนสูง ตลอดจนผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศก็จะทำให้พื้นที่ในชนบทน่าอยู่น้อยลงและเป็นแรงผลักดันให้ผู้คนอพยพเข้าสู่ใจกลางเมืองมากขึ้น
แน่นอนว่าเมื่อเมืองเจริญเติบโตขึ้น ก็จะมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้นเรื่อยๆ และขณะนี้มีส่วนทำให้เกิดการปล่อยก๊าซนี้จากพลังงานต่างๆ บนโลกประมาณ 70% และเนื่องจากเมืองต่างๆ มีความรับผิดชอบต่อการปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในสัดส่วนที่มาก เมืองเหล่านี้จึงเป็นเป้าหมายที่ดีสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่สามารถจะบรรเทาผลกระทบจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อสภาพอากาศของโลกได้ และเราสามารถทำให้การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มีประสิทธิผลได้ด้วยการพัฒนาและดำเนินการตามมาตรฐานสากลในการวางแผนและการสร้างเมือง
ปรับปรุงระบบการขนส่งเลยดีไหม
หนึ่งในสามของการปล่อยมลพิษจากเมืองต่างๆ มาจากการขนส่ง รถประจำทาง รถไฟ รถราง แท็กซี่ และรถยนต์ ซึ่งล้วนแต่เป็นวิถีของคนเมืองในการเดินทางไปทำงาน ไปโรงเรียน หรือเดินทางท่องเที่ยวไปในที่ต่างๆ
อย่างไรก็ตาม เมืองที่มีคาร์บอนต่ำจะเป็นเมืองที่สนับสนุนการขนส่งสาธารณะมากกว่าการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล ทำให้การปั่นจักรยานและการเดินง่ายขึ้น และสามารถเปลี่ยนไปเป็นการใช้รถยนต์ไฟฟ้าหรือเชื้อเพลิงชีวภาพที่ใช้น้ำมันเบนซินและดีเซลได้ง่ายขึ้น
ตัวอย่างเช่น ในโคเปนเฮเกน เมืองได้นำแนวคิดที่เรียกว่า “คลื่นสีเขียว” ไปใช้ ซึ่งเมื่อก่อน ไฟจราจรให้ความสำคัญกับรถยนต์ แต่ตอนนี้ เมืองหันมาให้ความสำคัญกับจักรยาน การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ได้ลดจำนวนจุดแวะพักสำหรับนักปั่นจักรยานจากค่าเฉลี่ย 6 เที่ยวต่อการเดินทาง เหลือน้อยกว่า 1 เที่ยว ซึ่งทำให้เวลาของรถประจำทางเพิ่มขึ้น จากการใช้ข้อมูลจากการเดินทางโดยรถประจำทางนี้เอง เมืองจึงได้ออกแบบระบบใหม่เพื่อแบ่งปันลำดับความสำคัญระหว่างจักรยานกับระบบขนส่งสาธารณะอย่างเหมาะสม
ข้อมูลสำหรับเมืองอัจฉริยะ
ไม่ใช่เมืองอัจฉริยะจะสามารถตรวจสอบและปรับปรุงการจราจรและการขนส่งผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลได้เท่านั้น แต่ยังสามารถรวบรวม วิเคราะห์ และตัดสินใจได้ การใช้ชีวิตในเมืองอัจฉริยะในอนาคตจึงสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ข้อมูลจากโทรศัพท์ จากจอมอนิเตอร์และในอาคาร ในระบบน้ำและพลังงานต่างๆ สามารถนำมาใช้เพื่อค้นหาว่ามีการใช้งานอยู่ที่ไหนบ้าง และทำอย่างไรจึงจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นต้น
เมื่อปี 2563 (ค.ศ. 2020) ประเทศสิงคโปร์ได้เปิดห้องทดลอง Smart Urban Co-Innovation Lab ซึ่งเป็นความร่วมมือของบริษัทกว่า 200 แห่ง รวมถึงยักษ์ใหญ่อย่าง Amazon และ Microsoft เพื่อคิดค้นนวัตกรรมโดยใช้ข้อมูลปัญญาประดิษฐ์ และแมชชีนเลิร์นนิงโดยมีเป้าหมายคือการปรับปรุงพื้นที่อุตสาหกรรมหลัก 6 แห่งสำหรับรัฐในเมือง รวมถึงความยั่งยืนและเกษตรกรรมในเมืองด้วย
เราสามารถสร้าง “สภาพภูมิอากาศ” ที่มีความยืดหยุ่นได้
ในขณะที่เมืองต่างๆ ทำงานเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เมืองยังต้องสร้างความยืดหยุ่นที่ดีขึ้นเมื่อเผชิญกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอีกด้วย ดร.เบอร์นาร์ด กินดรอซ ประธานคณะกรรมการวิชาการไอเอสโอ ISO/TC 268, Sustainable cities and communities ได้กล่าวในการประชุม COP26 ว่า เมืองทั่วโลกต้องเผชิญกับผลกระทบต่าง ๆ มากขึ้น รวมทั้งเหตุการณ์ธรรมชาติสุดขั้วหรือเหตุการณ์ที่เกิดจากน้ำมือของมนุษย์ แต่เมืองที่มีความยืดหยุ่นจะสามารถเตรียมความพร้อม ฟื้นฟู และปรับระบบรวมทั้งกระบวนการต่างๆ เพื่อให้แน่ใจว่าเมืองจะแข็งแกร่งที่สุดเท่าที่จะทำได้เมื่อต้องเผชิญกับความตึงเครียดและผลกระทบเหล่านั้น
ความยืดหยุ่นดังกล่าวอาจรวมถึงการซ่อมแซมเพื่อป้องกันน้ำท่วมตามธรรมชาติ เช่น โครงการ Room for the River ในประเทศเนเธอร์แลนด์ หรือการพัฒนาเกษตรกรรมในเมืองเพื่อให้ประชากรมีการทำกินอย่างยั่งยืนมากขึ้น และอาจรวมถึงการแนะนำนโยบายเพื่อสนับสนุนการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ทั่วทั้งอาคาร ลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลตามที่ได้พิสูจน์มาแล้วว่าได้ผลดีในลอสแองเจลิส ตลอดจนการพัฒนาที่ทำให้เกิดผลกระทบต่ำซึ่งเป็นระบบและแนวทางปฏิบัติที่ใช้วิธีการเลียนแบบกระบวนการทางธรรมชาติและส่งผลให้เกิดการแทรกซึม การคายระเหย หรือการใช้น้ำฝน เพื่อปกป้องคุณภาพน้ำ แหล่งที่อยู่อาศัยทางน้ำที่เกี่ยวข้อง และป้องกันการไหลบ่าของน้ำ
ในอดีตเมืองต่างๆ เคยเป็นแรงผลักดันที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่ตอนนี้ เมืองเหล่านี้กลายเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ซึ่งสามารถทำได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยการพัฒนาและการใช้มาตรฐานสากล
มาตรฐานสากลดังกล่าวนั้นคือมาตรฐานอะไรและมีแนวทางอย่างไรบ้าง โปรดติดตามได้ในครั้งต่อไปซึ่งเป็นตอนจบค่ะ
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2757.html
Related posts
Tags: Climate Change, Green waves, ISO, Low carbon, Public transportation, standard, Standardization, Sustainability. Smart Cities, Sustainable City, Urban agriculture
ความเห็นล่าสุด