บทความ MASCIInnoversity เรื่อง ไอเอสโอชวนเมืองใหญ่ลดคาร์บอน มุ่งสู่ความยั่งยืน ตอนที่ 1 ได้กล่าวถึงประชากรส่วนใหญ่ของโลกอาศัยอยู่ในเมือง และมีแนวโน้มจะอพยพเข้ามาอาศัยในเมืองมากขึ้นในอนาคตด้วย ทำให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น หากจะบรรเทาปัญหาผลกระทบนี้ ก็จะสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิผลด้วยการวางแผนและการสร้างเมืองด้วยการพัฒนาและดำเนินการตามมาตรฐานสากล ซึ่งมีแบบอย่างจากเมืองใหญ่ในบางประเทศมาแล้ว สำหรับบทความในครั้งนี้ จะกล่าวถึงมาตรฐานสากลที่มีบทบาทสำคัญในการบรรเทาปัญหาผลกระทบจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ดังต่อไปนี้
เมื่อต้องมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม คนเราจำเป็นต้องมีการปรับปรุงวิธีการให้ดีขึ้นเพื่อช่วยดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม เริ่มตั้งแต่ผู้กำหนดนโยบายนักวางแผน นักพัฒนา ไปจนถึงชุมชน โดยมีตัวช่วยคือ มาตรฐานสากลที่ช่วยให้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดและตัวบ่งชี้ที่สำคัญสำหรับการวัดผลสำเร็จ
เนื่องจากรัฐบาลท้องถิ่นมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเมือง มาตรฐาน ISO 37101 จึงมุ่งเป้าไปที่ผู้นำเมืองเพื่อให้สามารถช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นพิเศษ ซึ่งสามารถใช้โดยผู้นำที่ทำงานภายชุมชนหลายชุมชนที่อยู่รวมกันจนกลายเป็นเมือง โดยช่วยให้พวกเขาสามารถสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนในด้านต่างๆ ได้ เช่น สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี การขนส่งและการจัดการสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
มาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับร่วมกันในระดับสากลมีความสำคัญในทุกหนแห่งตั้งแต่อาคารแต่ละหลังไปจนถึงการพัฒนาเมืองขนาดใหญ่ มาตรฐานช่วยให้รัฐบาลสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับชุมชนและปรับปรุงการมีส่วนร่วมกับผู้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ในเมือง สนับสนุนความก้าวหน้าในทุกขั้นตอนของโครงการก่อสร้าง ตั้งแต่กลยุทธ์และการวางแผนไปจนถึงการก่อสร้าง และแท้จริงแล้วก็เพื่อเพิ่มอายุการใช้งานของอาคารด้วย
มาตรฐานสากล – แนวทางที่มีเหตุผล
มาตรฐานไอเอสโอยังช่วยให้ผู้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา เพื่อให้มั่นใจว่าในขณะที่เราสร้างเมืองเพื่อความยืดหยุ่นและความยั่งยืน เรายังสร้างเมืองเหล่านี้เพื่อสุขภาพและความเจริญก้าวหน้าขึ้นอีกด้วย คณะอนุกรรมการวิชาการไอเอสโอ . ISO/TC 268’s subcommittee SC 1, smart community infrastructure ซึ่งดูแลมาตรฐาน ISO 37101 นั้นมุ่งเน้นไปที่การสร้างโครงสร้างพื้นฐานของชุมชนในท้องถิ่นที่ช่วยให้สิ่งแวดล้อมมีความเข้มแข็งสำหรับโลกและประชากรในเมือง
ดร.กินดรอซ ได้อธิบายไว้ว่า มาตรฐานช่วยสนับสนุนแนวทางที่มีเหตุผลในการพัฒนาเมืองด้วยวิสัยทัศน์ระยะยาวซึ่งกำหนดไว้อย่างชัดเจนด้วยกลยุทธ์และแผนงาน และด้วยการเรียนรู้จากแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด เราจะสามารถลดความเสี่ยงในการตัดสินใจและสร้างความไว้วางใจในการพัฒนาที่ยั่งยืนจากชุมชนได้
คณะกรรมการไอเอสโอดังกล่าวกำลังทำงานเพื่อพัฒนามาตรฐานให้กับเมืองใหม่ซึ่งสามารถช่วยชะลอการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มาตรฐานดังกล่าวรวมถึงกรอบการทำงานและคำแนะนำสำหรับนักวางแผนที่ต้องการพัฒนาเมืองอัจฉริยะและมีความยืดหยุ่น ซึ่งจัดเตรียมไว้สำหรับประชากรเมืองในรูปแบบที่มีความยั่งยืน
จากการประมาณการว่าสองในสามของประชากรที่จะอาศัยอยู่ในเขตเมืองภายในปี 2050 ไอเอสโอได้ให้แนวทางตามมาตรฐานกับผู้นำจากภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรที่มีความสมัครใจในการนำมาตรฐานไปใช้ เพื่อให้แน่ใจว่าเมืองในอนาคตของเราจะมีพลเมืองเป็นศูนย์กลางและมีการร่วมมือกันตลอดจนเชื่อมต่อผ่านเทคโนโลยีได้
มาตรฐานสากลดังกล่าวที่ช่วยให้เมืองต่างๆ มีความยั่งยืนมากขึ้นเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ปฏิญญาลอนดอนของไอเอสโอประกอบเป็นภาพที่สมบูรณ์ขึ้น ปฏิญญานั้นลงนามโดยสมาชิกไอเอสโอจาก165 ประเทศซึ่งเป็นคำมั่นสัญญาที่ทำให้มั่นใจว่ามาตรฐานสากลไอเอสโอ และเอกสารเผยแพร่ทางวิชาการของไอเอสโอจะช่วยเร่งความสำเร็จตามข้อตกลงปารีสขององค์การสหประชาชาติ และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนตลอดจนข้อเรียกร้องขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริงต่อไป
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2757.html
Related posts
Tags: adaptation, Climate Change, ISO 37101, resilience, standard, Standardization, Sustainability. Smart Cities, Sustainable City, United Nations
Recent Comments