• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    16,005 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    15,149 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,532 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,366 view(s)
  • ISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืนISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืน
    10,225 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction IEC Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure UN water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | Sustainability Management | — ธันวาคม 22, 2021 8:00 am
ชุดมาตรฐาน ISO14060 ช่วยให้รายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมีความแม่นยำ
Posted by Phunphen Waicharern with 1954 reads
0
  

COP 26 AND ISO 14060 FAMILY OF STANDARDS_หลังจากสิ้นสุดการประชุมสุดยอดด้านสภาพอากาศ COP 26 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2564 ที่เมืองกลาสโกว์ สกอตช์แลนด์ ผู้นำจาก 197 ประเทศทั่วโลกเห็นด้วยกับข้อตกลงด้านสภาพอากาศกลาสโกว์ฉบับใหม่ในการทำให้ประเทศต่างๆ เพิ่มเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงจากเดิมภายในปี 2573 (ค.ศ.2030) มาเป็นการลดให้ได้ภายในปีหน้า (2565) และยอมรับอย่างเป็นทางการถึงความจำเป็นอย่างมากในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกลงให้ได้ 45% ภายในปี 2573

อล็อก ชาร์มา ประธานการประชุม COP26 ได้กล่าวกับที่ประชุมสุดยอดด้านสภาพอากาศว่า เป้าหมายในการควบคุมภาวะโลกร้อนไม่ให้สูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสจะเป็นได้ก็ต่อเมื่อเรารักษาคำมั่นสัญญาและดำเนินการตามคำมั่นสัญญาให้ได้อย่างรวดเร็วตามเป้าหมาย

การวัดคำมั่นสัญญาและการดำเนินการในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสร้างขึ้นจากข้อมูล อย่างไรก็ตาม ผู้สังเกตการณ์หลายคนระบุว่า ข้อมูลที่โลกกำลังใช้นั้นไม่ถูกต้อง ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือเพียงเพราะขาดมาตรฐานในการรายงานข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการปล่อยและการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

การปล่อยมลพิษที่ไม่ได้รับรายงาน

จากการสืบสวนของหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ที่ตีพิมพ์ระหว่างการประชุม COP26 ระบุว่า หลายประเทศรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำกว่าความเป็นจริงต่อองค์การสหประชาชาติ  ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบช่องว่างขนาดมหึมาระหว่างประเทศที่ประกาศการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกับก๊าซเรือนกระจกที่กระจายขึ้นสู่บรรยากาศนั้น มีช่องว่างตั้งแต่อย่างน้อย 8.5 พันล้านไปจนถึง 13.3 พันล้านตันต่อปีของการปล่อยมลพิษที่ไม่ได้รายงาน

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากไม่มีระบบที่ยอมรับกันทั่วโลกในการวัดการปล่อยก๊าซคาร์บอน จึงทำให้การวัดขนาดของปัญหาและแนวทางแก้ไขไม่ถูกต้องตรงกัน  สิ่งที่จะช่วยแก้ไขได้ก็คือมาตรฐานซึ่งทำให้แน่ใจว่าการวัดความคืบหน้าที่แท้จริงในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั้น เป็นไปอย่างต่อเนื่องและแม่นยำ

คณะกรรมการจัดการสิ่งแวดล้อมของไอเอสโอ (Environmental Management Committee) ได้ทำการร่างมาตรฐานที่แม่นยำเพื่อจัดการกับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสภาพอากาศ

ในบรรดาประเด็นต่างๆ ที่คณะกรรมการดังกล่าวกำลังตรวจสอบ ประเด็นที่ให้ความสำคัญเป็นอย่างมากคือระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม การตรวจสอบ การทวนสอบ/การตรวจสอบ การประเมินประสิทธิภาพด้านสิ่งแวดล้อมตลอดจนการบรรเทาปัญหาและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

สับสน Net Zero….ความหมายและตัวชี้วัดแตกต่างกัน

อันโตนิโอ กูแตเรส เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้กล่าวในที่ประชุม COP 26 ว่ามีความไม่สมดุลระหว่างความน่าเชื่อถือกับความสับสนมากเกินไปเกี่ยวกับการลดการปล่อยมลพิษต่อเป้าหมายสุทธิเป็นศูนย์อันเนื่องมาจากความหมายและตัวชี้วัดที่แตกต่างกัน

ชีล่า เล็กเก็ตต์ ประธานคณะกรรมการจัดการสิ่งแวดล้อมของไอเอสโอ ISO/TC 207, Environmental management กล่าวว่าขณะนี้เป็นเวลาที่จะก้าวไปสู่การแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและรับรองว่าคำมั่นสัญญาจะยึดถือตามข้อมูลที่เชื่อถือได้และสม่ำเสมอ  เธอเชื่อว่าเลขาธิการสหประชาชาติกำลังอ้างถึงสิ่งที่เธอสังเกตเห็นในตลาดซื้อขายซึ่งมีมาตรฐานมากมายที่เกิดขึ้นจากแหล่งต่างๆ แต่ยังขาดมาตรฐานในแง่ของคำจำกัดความและตัวชี้วัด

บทบาทของมาตรฐาน

หลักการของชุดมาตรฐาน ISO 14060 สำหรับการประเมิน ตรวจสอบ และทวนสอบการปล่อยก๊าซเรือนกระจก คือ อันดับแรก ต้องมีการวัดค่านั้นเพื่อควบคุมกิจกรรม สิ่งเหล่านี้อยู่บนหลักการที่ครอบคลุมของไอเอสโอในเรื่องความสอดคล้อง ความสม่ำเสมอ การเปรียบเทียบ ความสามารถในการตรวจสอบย้อนกลับ และสำคัญที่สุดก็คือ ความถูกต้อง

ชีล่า เล็กเก็ตต์  กล่าวว่ามาตรฐานสากลเป็นกุญแจสำคัญสำหรับการรายงานตัววัดที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลการเปลี่ยน แปลงสภาพภูมิอากาศที่เชื่อถือได้และทำซ้ำได้ให้แก่ผู้เข้าร่วมทั่วโลก ความสามารถในการทำซ้ำได้เป็นลักษณะสำคัญของความสามารถในการติดตามข้อมูลทุกปี เพื่อให้เข้าใจว่าเราอยู่ที่จุดไหนเมื่อเปรียบเทียบกับจุดที่เราจำเป็นต้องก้าวไปให้ถึง ซึ่งช่วยให้สามารถปรับเทียบใหม่ตลอดเส้นทางแทนที่จะต้องรออีกหลายสิบปีให้สำเร็จตามภารกิจ

หากปราศจากความสม่ำเสมอและความถูกต้อง เป็นไปไม่ได้ที่โลกเราจะคิดวิธีการตรวจวัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการดูดซับก๊าซเรือนกระจกที่สามารถเปรียบเทียบกันได้  ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่การรายงานข้อมูลสภาพภูมิอากาศจำเป็นต้องสอดคล้องกันทั่วโลก หากเราต้องการความก้าวหน้าอย่างจริงจัง มาตรฐานสากลนี้เองที่จะกำหนดกรอบการทำงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์นี้

ความสม่ำเสมอคือหัวใจสำคัญ

ชีล่า เล็กเก็ตต์ กล่าวว่าการที่มาตรฐานสากลได้พัฒนามาจากองค์ความรู้ของผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกทั้งในประเทศกำลังพัฒนาและประเทศที่พัฒนาแล้วด้วยความเห็นพ้องต้องกันนั้น ทำให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่กว้างขวางมากเท่าที่จะเป็นไปได้ซึ่งได้รับมาจากผู้เชี่ยวชาญ ทั้งในแง่ของความเชี่ยวชาญอย่างลึกซึ้งและความกว้างขวางของการเป็นตัวแทนจากทั่วทุกมุมโลกในระหว่างการพัฒนาและการอนุมัติมาตรฐานในขั้นสุดท้าย  และทำให้ได้แง่มุมที่สำคัญในการหาแนวทางในการวัดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลก

แดเนียล ทริลลอส รองประธานคณะกรรมการบริหารสิ่งแวดล้อมของไอเอสโอ (Environmental Management Committee) ได้กล่าวในที่ประชุม COP 26 ในการประชุม International Chamber of Commerce Forum โดยเน้นย้ำถึงความจำเป็นที่ทุกคนทั่วโลกต้องเข้าใจตรงกัน โดยใช้วิธีการเดียวกันในการรายงานกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม   หากไม่มีความสอดคล้องเช่นนี้ ก็เป็นไปไม่ได้ที่จะมีข้อมูลที่แม่นยำเพื่อกำหนดเกณฑ์มาตรฐาน เป้าหมาย และพิจารณาว่าสิ่งใดใช้ได้ผลและไม่ได้ผล ซึ่งจะเป็นอุปสรรคสำคัญในการบรรลุเป้าหมายด้านสภาพอากาศ

ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2759.html



Related posts

  • ขยะนั้นสำคัญไฉนขยะนั้นสำคัญไฉน
  • ISO 45001 พร้อมประกาศใช้ในเดือน ต.ค.59ISO 45001 พร้อมประกาศใช้ในเดือน ต.ค.59
  • เปลี่ยนเรา เปลี่ยนโลก ลดปัญหาโลกร้อนเปลี่ยนเรา เปลี่ยนโลก ลดปัญหาโลกร้อน
  • ผู้หญิงแนวหน้าฝ่าวิกฤต COVID-19 งานด้านวิทยาศาสตร์ผู้หญิงแนวหน้าฝ่าวิกฤต COVID-19 งานด้านวิทยาศาสตร์
  • ความท้าทายของการรับรองมาตรฐานไอเอสโอในตลาดโลกความท้าทายของการรับรองมาตรฐานไอเอสโอในตลาดโลก

Tags: Climate Change, COP 26, Environment, Environmental Management, ISO, ISO 14000, Net-zero emissions, standard, Standardization

กดที่นี่เพื่อยกเลิกการตอบ

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

ความเห็นล่าสุด

  • Phunphen Waicharern บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak บน นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑