ในขณะที่โรคระบาด ภัยธรรมชาติ และอาชญากรรมในโลกไซเบอร์ยังคงส่งผลกระทบต่อโลกของเรา และยังคงไม่มีอะไรที่แน่นอนหรือคาดเดาได้อย่างชัดเจน การดำเนินธุรกิจจึงต้องอาศัยความคล่องตัวและการเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดหมายอีก ซึ่งธุรกิจองค์กรที่สามารถบริหารความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพย่อมมีโอกาสที่จะก้าวข้ามอุปสรรคความไม่แน่อน เจริญเติบโตขึ้นและประสบความสำเร็จได้มากขึ้น
มาตรฐานหลักของไอเอสโอที่สามารถนำมาใช้ในการจัดการความเสี่ยงเช่นนั้นได้คือ ISO 31000 ซึ่งไอเอสโอจัดทำขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
มาตรฐาน ISO 31000: 2018, Risk management – A practical guide เป็นมาตรฐานที่ใช้ในการจัดการความเสี่ยงโดยใช้เป็นคู่มือเชิงปฏิบัติเพื่อช่วยให้องค์กรสามารถบูรณาการกรอบการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพเข้ากับธรรมาภิบาล ความเป็นผู้นำ และวัฒนธรรมด้วยการใช้ ISO 31000 อย่างเหมาะสมที่สุด
ความเสี่ยงดังกล่าวนั้นอาจรวมถึงสิ่งใดก็ตามที่สร้างความไม่แน่นอนที่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ขององค์กรหรือสร้างความเบี่ยงเบนไปจากที่คาดไว้ สิ่งนี้ไม่เพียงแต่เกี่ยวข้องกับการคุกคามต่อความแข็งแกร่งหรือศักยภาพขององค์กรเท่านั้น แต่ยังรวมถึงโอกาสที่จะได้รับด้วย และตัวอย่างของสิ่งที่ต้องพิจารณาเมื่อต้องจัดการความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ ชื่อเสียง การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น
ตัวมาตรฐานเองได้อธิบายแนวคิดพื้นฐานและหลักการของการบริหารความเสี่ยงไปพร้อมๆกับอธิบายกรอบงานและสรุปกระบวนการในการระบุและจัดการความเสี่ยง อย่างไรก็ตาม คู่มือใหม่นี้ทำให้ก้าวไปอีกขั้นหนึ่ง โดยให้ข้อมูลและบริบทที่ขยายเพิ่มเติมในส่วนย่อยใน ISO 31000 รวมถึงคำแนะนำในการพัฒนาแผนสำหรับการรวมความเสี่ยงเข้ากับการจัดการที่มีอยู่ขององค์กร การสื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การติดตามและทบทวนแผนการจัดการความเสี่ยง เป็นต้น
ดังที่กล่าวมาแล้วว่า ISO 31000 ให้แนวทางในการจัดการความเสี่ยงที่องค์กรต้องเผชิญ การประยุกต์ใช้แนวทางเหล่านี้สามารถปรับใช้ให้เข้ากับองค์กรและบริบทได้ และเป็นแนวทางร่วมกันในการจัดการความเสี่ยงทุกประเภทโดยไม่เจาะจงว่าจะอยู่ในอุตสาหกรรมใด นอกจากนี้ ยังสามารถนำไปใช้กับกิจกรรมใด ๆ ก็ได้ รวมถึงการตัดสินใจในทุกระดับอีกด้วย
ไอเอสโอได้พัฒนามาตรฐาน ISO 31000: 2018 ร่วมกับองค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNIDO (United Nations Industrial Development Organization)
ผู้สนใจสามารถศึกษาได้จากห้องสมุดของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) หรือสั่งซื้อได้จากเว็บไซต์ของไอเอสโอ ISO Store
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2773.html
Related posts
Tags: Culture, Governance, ISO, ISO 30001, Leadership, Risk Management, standard, Standardization, uncertainty, UNIDO
Recent Comments