ท่ามกลางโลกที่ถูกออกแบบมาโดยผู้ชาย ไอเอสโอมองเห็นคุณค่าของผู้หญิงและการก้าวไปสู่ความเท่าเทียมทางเพศและความก้าวหน้าแล้วตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนข้อที่ 5 ( SDG 5: Gender Equality) ขององค์การสหประชาชาติด้วยแผนปฏิบัติการความเท่าเทียมกันทางเพศ (Gender Action Plan) ซึ่งจะทำให้บรรลุเป้าหมายข้อนี้
เราเคยสงสัยกันหรือไม่ว่าทำไมผู้ชายถึงยกปูนซีเมนต์ขนาดมาตรฐานได้สะดวก แต่จะทำได้ไม่ง่ายเลยสำหรับผู้หญิง หรือ ทำไมก้อนอิฐจึงพอดีกับมือของผู้ชาย แต่ไม่พอดีกับมือของผู้หญิง คำตอบก็คือเพราะเราอยู่ในโลกของมนุษย์ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่น่าแปลกใจสำหรับทุกคน และยังเห็นได้ชัดในทุกแง่ทุกมุมในชีวิต ตั้งแต่ก้อนอิฐและปูน ไปจนถึงระบบการเงินและการเมืองของเรา
การปรับปรุงความเท่าเทียมทางเพศจะนำไปสู่การเพิ่ม GDP ของสหภาพยุโรปต่อหัวที่ 1.95-3.15 ล้านล้านยูโร
โลกของเราอาจจะไม่เคยมีการดำเนินการเพื่อเรื่องของความเท่าเทียมกันทางเพศอย่างเป็นรูปธรรรมมาก่อน เมื่อปี 2562 (ค.ศ.2019) ดัชนี SDG Gender Index ได้เปิดเผยว่า โดยรวมแล้ว ไม่มีประเทศใดที่สามารถบรรลุความเท่าเทียมทางเพศได้ภายในปี 2573 (ค.ศ.2030) และตามรายงาน Global Gender Gap Report ประจำปี 2564 ของสภาเศรษฐกิจโลกหรือ WEF (World Economic Forum) ได้เพิ่มเวลาให้อีก 36 ปีเพื่อปิดช่องว่างทางเพศ และผลักดันความเท่าเทียมทางเพศให้กลับคืนมาทีละรุ่น
การประชุมขององค์การการค้าโลกในงาน WTO Public Forum 2021 ได้ตอกย้ำมุมมองที่น่าเศร้าโดยอ้างอิงตัวเลขขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ที่แสดงการสูญเสียการจ้างงานทั่วโลกที่ 114 ล้านตำแหน่งเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2019 โดยมีจำนวนการสูญเสียสูงสุดที่ส่งผลกระทบต่อผู้หญิงลดลง 5% แม้จะมีบางเรื่องที่โดดเด่นมากขึ้นอย่างเช่นรัฐธรรมนูญใหม่ของชิลี ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เขียนโดยชายและหญิงจำนวนเท่ากัน และแสดงถึงการเผชิญกับความท้าทายครั้งใหญ่ของผู้หญิง
ส่งเสริมเศรษฐกิจที่กำลังเติบโต
ความเท่าเทียมทางเพศเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืนและครอบคลุม จึงไม่น่าแปลกใจที่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDG 5 ขององค์การสหประชาชาติระบุว่า “ความเท่าเทียมทางเพศไม่ได้เป็นเพียงสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานเท่านั้น แต่ยังเป็นรากฐานที่จำเป็นสำหรับโลกที่สงบสุข เจริญรุ่งเรือง และยั่งยืน” อย่างไรก็ตาม เป็นไปตามที่ UN Women ได้ชี้ให้เห็นว่านับตั้งแต่เรื่องการเมือง ความบันเทิง ไปจนถึงเรื่องของการทำงาน ผู้หญิงและเด็กผู้หญิงทั่วโลกส่วนใหญ่ไม่ได้มีบทบาทเท่าใดนัก
ความเท่าเทียมกันทางเพศไม่เพียงแต่เป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจด้วย ตัวเลขต่างๆ ยืนยันเช่นนั้น ยกตัวอย่างเช่น European Institute of Gender Equality (EIGE) ระบุว่าภายในปี 2593 (ค.ศ.2050) การปรับปรุงความเท่าเทียมทางเพศจะนำไปสู่การเพิ่ม GDP ของสหภาพยุโรปต่อหัวที่ 6.1% ถึง 9.6 % ซึ่งมีมูลค่า 1.95- 3.15 ล้านล้านยูโร การปรับปรุงความเท่าเทียมทางเพศจะนำไปสู่การจ้างงานเพิ่มขึ้น 10.5 ล้านตำแหน่งภายในปี 2593 ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้หญิงและผู้ชาย
การจัดการกับประเด็นความเท่าเทียมกันทางเพศจะช่วยกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลกได้มากกว่า 4% ความสำคัญของเรื่องนี้ได้รับการเน้นย้ำโดยความคิดริเริ่มจากงาน International Gender Champions ประจำปี 2558 ซึ่งเครือข่ายผู้นำจากกว่า 60 ประเทศรวมถึงเลขาธิการไอเอสโอ เซอร์จิโอ มูจิก้า ได้สนับสนุนให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจทั้งหญิงและชายที่มีความมุ่งมั่นสามารถสร้างความเท่าเทียมทางเพศให้เกิดขึ้นจริงในภาคส่วนของตนเอง
กลยุทธ์ใหม่
ความคืบหน้าเรื่องความเท่าเทียมกันทางเพศเป็นไปอย่างช้าๆ แต่การระบาดใหญ่ได้เพิ่มความเร่งด่วนขึ้นมาใหม่ และเช่นเดียวกับองค์กรอื่นๆ อีกหลายแห่ง ไอเอสโอได้ตอบสนองต่อความท้าทายนี้และผลักดันเชิงกลยุทธ์ขององค์กรด้วยแผนปฏิบัติการทางเพศ (Gender Action Plan) เพื่อพัฒนาวาระเกี่ยวกับความเท่าเทียมทางเพศ เนื่องจากมาตรฐานกระทบต่อชีวิตของเราเกือบทุกด้าน ที่ไอเอสโอจึงตระหนักดีว่าองค์กรและสมาชิกมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนความเท่าเทียมทางเพศ และเนื่องจากมาตรฐานอำนวยความสะดวกทางการค้า ลดต้นทุน และสนับสนุนนวัตกรรม ดังนั้น การดำเนินการให้มีประสิทธิภาพจึงต้องตอบสนองต่อความท้าทายทั้งในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งเพศสภาพจะต้องกลายเป็นส่วนสำคัญของมาตรฐาน อย่างน้อยก็ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย
เลขาธิการไอเอสโอได้กล่าวว่าที่ไอเอสโอมีความตระหนักดีว่ามาตรฐานสากลเป็นเครื่องมือสำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความยั่งยืนที่มากขึ้นและส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุม ทั้งหมดนี้มีส่วนอย่างมากต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งรวมถึง SDG 5 เกี่ยวกับความเท่าเทียมทางเพศ
อคติทางเพศสามารถส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพของผู้หญิง ดังเช่นในรายงานของ Fierce Healthcare ซึ่งได้เน้นย้ำถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับโรคหลอดเลือดหัวใจ ไปจนถึงสุขภาพจิตและการจัดการความเจ็บปวด นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ที่ทดสอบและออกแบบโดยผู้ชายอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุในที่ทำงานมากขึ้นและมีความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้หญิงในการทำงานมากขึ้นหากผู้หญิงนำไปใช้ ตัวอย่างเช่น ในสหราชอาณาจักร รายงานของสภาสหภาพแรงงาน (TUC) ระบุว่าอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล เช่น ชุดเกราะ เสื้อกั๊ก Stab Vest เสื้อชูชีพและเสื้อแจ็คเก็ต ไม่เหมาะสมสำหรับผู้หญิงและโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการบริการฉุกเฉิน
เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจะบรรลุถึงความเท่าเทียมกันทางเพศได้อย่างไร ไอเอสโอมีคำตอบให้กับโลกของเราแล้ว โปรดติดตามได้ในตอนจบในครั้งหน้าค่ะ
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2771.html
Related posts
Tags: Diversity and inclusion, Economy, Gender Action Plan, Gender Equality, ILO, ISO, Standardization, Standards, WEF
ความเห็นล่าสุด