บทความ เรื่อง ไอเอสโอสนับสนุนความเท่าเทียมกันทางเพศ ตอนที่ 1 ได้กล่าวถึงความพยายามของไอเอสโอในการผลักดันเชิงกลยุทธ์ขององค์กรด้วยแผนปฏิบัติการทางเพศ (Gender Action Plan) เพื่อพัฒนาวาระเกี่ยวกับความเท่าเทียมทางเพศ โดยตระหนักดีว่ามาตรฐานสากลเป็นเครื่องมือสำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความยั่งยืนที่มากขึ้นและส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุมซึ่งมีส่วนอย่างมากต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ รวมถึง SDG 5 เกี่ยวกับความเท่าเทียมทางเพศ สำหรับบทความในตอนที่ 2 จะกล่าวถึงอุปสรรคและแนวทางการดำเนินการของไอเอสโอดังต่อไปนี้
79% ของคณะกรรมการที่ไม่พิจารณาเรื่องเพศเชื่อว่าไม่เกี่ยวข้องกับภาคส่วนของตน
การบรรลุถึงความเท่าเทียมกันทางเพศเป็นวาระสำคัญของไอเอสโอมาระยะหนึ่งแล้ว เมื่อปี 2562 (ค.ศ.2019) ไอเอสโอมีสมาชิกจำนวนมากได้แสดงความมุ่งมั่นในการดำเนินการเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเท่าเทียมทางเพศโดยลงนามในปฏิญญา UNECE ว่าด้วยมาตรฐานที่ตอบสนองต่อเพศ ด้วยแผนปฏิบัติการ Gender Action ทั่วทั้งระบบ ซึ่งกำหนดความคิดริเริ่มและกำหนดเป้าหมายระดับสูงในการสนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศในการกำหนดมาตรฐานไอเอสโอให้เป็นหนึ่งในองค์กรที่สำคัญที่สุดในการแก้ไขปัญหานี้
ไอเอสโอตระหนักดีว่าสำหรับปัญหานี้ ไม่มีทางที่จะแก้ไขได้ในระยะเวลาอันสั้น และแผนกลยุทธ์ใหม่จะได้รับการพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ในระยะแรก (พ.ศ. 2562-2564) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการรวบรวมประเด็นปัญหา ระยะที่สอง (พ.ศ. 2564-2566) เป็นเรื่องของการแก้ไขปัญหา และเนื่องจากแผนดังกล่าวถือเป็นเอกสารที่มีความเคลื่อนไหวและสามารถเปลี่ยนแปลงได้ทุกเมื่อ การดำเนินการจึงได้รับการตรวจสอบและปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ โดยมุ่งเน้นที่แรงบันดาลใจในอนาคต
เซอร์จิโอ มูจิก้า กล่าวว่าไอเอสโอกำลังพยายามดำเนินการตามแผนทั้งหมดนี้ซึ่งเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องและไอเอสโอมีความมุ่งมั่นที่จะปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
ส่วนหนึ่งของกระบวนการต่อเนื่องนี้คือจุดสังเกตแบบสอบถามอุตสาหกรรมที่มีเป้าหมายเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกว่าคณะกรรมการวิชาการไอเอสโอกำลังจัดการกับการพัฒนามาตรฐานที่ตอบสนองต่อเพศสภาพอย่างไร ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่ามาตรฐานส่วนใหญ่สร้างโดยผู้ชายเพื่อผู้ชาย และผู้หญิงไม่ได้เป็นตัวแทนในคณะกรรมการด้านเทคนิค ผลการสำรวจจากหุ้นส่วนไอเอสโอ คือไออีซี ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของ Joint Strategic Advisory Group (JSAG) และเป็นเรื่องที่น่ากังวล คือ มุมมองที่รวบรวมจากผู้ตอบแบบสอบถาม 356 คนระบุว่าขาดการตอบสนองทางเพศในการพัฒนามาตรฐาน และแสดงให้เห็นว่ายังมีงานอีกมากที่ต้องทำเพื่อให้มาตรฐานสามารถแก้ไขปัญหาทางเพศได้อย่างเต็มที่
เป็นที่น่าเสียดายสำหรับคณะกรรมการที่ไม่ได้พิจารณาเรื่องเพศซึ่ง 79% เชื่อว่าไม่เกี่ยวข้องกับภาคส่วนของตน ผู้ตอบแบบสอบถามยังตั้งข้อสังเกตอีกว่า 50% ของกรรมการไม่ได้หยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมา และในความคิดเห็นที่ได้รับ มุมมองที่เกิดซ้ำคือมาตรฐานทางเทคนิคนั้นไม่ใช่ปัญหาทางเพศ
นอกจากนี้ ในการสำรวจไอเอสโอเกี่ยวกับการเป็นตัวแทนทางเพศ การค้นพบที่สำคัญอย่างหนึ่งคือแม้ว่าในงานด้านเทคนิค ตัวเลขก็ไม่ได้เลวร้ายนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับผู้บริหารของคณะกรรมการ ซึ่งไม่ได้แปลเป็นมาตรฐานที่ตอบสนองต่อเพศสภาพเสมอไป การมีตัวแทนที่สมดุลมีความสำคัญในแง่ของการมีโอกาสที่เท่าเทียมกันและให้พื้นที่ในการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างกัน แต่มาตรฐานไม่จำเป็นต้องรวมถึงมุมมองด้านเพศ
อย่างไรก็ตาม ความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดก็นำมาซึ่งโอกาสที่ยิ่งใหญ่ได้เช่นกัน ผลการสำรวจได้ตอกย้ำถึงความจำเป็นในการสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของเพศสภาพในการจัดทำมาตรฐาน ซึ่งไอเอสโอและไออีซีจะยังคงรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเป็นตัวแทนของเพศเพื่อให้เข้าใจถึงความท้าทายได้ดียิ่งขึ้น การเผยแพร่ความรู้และการแบ่งปันแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในหมู่สมาชิกทั่วโลกของไอเอสโอนั้นมีความสำคัญ และเพื่ออำนวยความสะดวกในเรื่องนี้ จึงได้มีการเปิดตัวองค์ประกอบสำคัญอีกประการของแผนปฏิบัติการด้านเพศสภาพ ซึ่งก็คือ เครือข่ายจุดโฟกัสเรื่องเพศภาวะ (Gender Focal Point Network)
เมื่อต้นปี 2564 ไอเอสโอได้เป็นเจ้าภาพการประชุมครั้งแรกของแพลตฟอร์มใหม่ดังกล่าวเพื่อให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการด้านเพศสภาพ และเพื่อให้มั่นใจว่ามาตรฐานจะตอบสนองต่อความต้องการของทั้งชายและหญิงอย่างเท่าเทียมกัน ผ่านการมีส่วนร่วมในโครงการ International Gender Champions initiative เลขาธิการไอเอสโอได้สัญญาว่าจะส่งเสริมการมีส่วนร่วมที่ผู้หญิงมีขึ้นในโลกของการกำหนดมาตรฐาน ไม่ว่าจะในคณะกรรมการด้านเทคนิคของไอเอสโอ ผ่านทางสมาชิกไอเอสโอ หรือที่สำนักเลขาธิการไอเอสโอกลาง
ไคลี ชูมาคเกอร์ ผู้จัดการของคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 272, Forensic sciences กล่าวว่าเธอมีความภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้มีส่วนร่วมในชุมชนที่สนับสนุนความหลากหลายและความเท่าเทียมกัน และหวังว่าจะได้ทำงานร่วมกับหญิงสาวมืออาชีพที่อายุน้อยมากขึ้นในด้านมาตรฐานในปีต่อๆ ไป อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะทราบดีว่าสตรีมีความเป็นเลิศในด้านวิทยาศาสตร์หลายด้านมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็ยังไม่สามารถเข้าถึงศักยภาพที่เต็มเปี่ยมของพวกเธอได้
เลขาธิการไอเอสโอยังกล่าวด้วยว่า การทำงานร่วมกัน การสื่อสาร และความมุ่งมั่นล้วนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของภารกิจของไอเอสโอในการจัดหาแนวทางแก้ไขปัญหาความท้าทายระดับโลก การระบาดใหญ่ได้สอนบทเรียนมากมายแก่เรา บางทีสิ่งสำคัญที่สุดคือถ้าเราร่วมมือกัน เราจะประสบความสำเร็จได้มากมาย และความเท่าเทียมทางเพศเป็นสิ่งสำคัญสำหรับไอเอสโอ ซึ่งมุ่งมั่นอย่างยิ่งที่จะเพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้หญิงในการสร้างมาตรฐานและบูรณาการเพศสภาพเข้าสู่กระบวนการพัฒนามาตรฐาน แต่ไอเอสโอไม่สามารถทำเช่นนี้ได้หากปราศจากความร่วมมือและความมุ่งมั่นของพันธมิตร สมาชิก และผู้เชี่ยวชาญของไอเอสโอ
ดังนั้น ครั้งต่อไปที่เราเห็นหญิงตั้งครรภ์กำลังพยายามคาดเข็มขัดนิรภัยในรถเพื่อป้องกันการชนกระแทกกับทารกในครรภ์ หมายความว่าอย่างน้อยสำหรับเด็กๆ ไม่ว่าจะเป็นเพศใด มาตรฐานได้หล่อหลอมโลกของพวกเขาขึ้นมาและมาตรฐานนั้นก็ได้รับการออกแบบอย่างเท่าเทียมกันมากขึ้น โดยไอเอสโอได้ถือตามคำมั่นสัญญาว่าทุกคนจะมีอนาคตที่มีความปลอดภัยยิ่งขึ้น มีความครอบคลุมมากขึ้น และมีความยั่งยืนยิ่งขึ้น
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2771.html
Related posts
Tags: Diversity and inclusion, Economy, Gender Action Plan, Gender Equality, ILO, ISO, Standardization, Standards, WEF
Recent Comments