มาตรฐานไอเอสโอมีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันของคนเราในหลายด้าน สำหรับประโยชน์ของมาตรฐานไอเอสโอด้านสุขภาพ นักวิจัยมีมุมมองอย่างไรบ้าง พบกับคำตอบได้จากนักวิจัยทีมไอเอสโอที่ได้รับรางวัล ISO Research Grant ซึ่งได้สร้างความเชื่อมโยงระหว่างมาตรฐานกับการพัฒนาการดูแลสุขภาพสำหรับคนทั่วโลกมาแล้ว
ทุนวิจัยไอเอสโอเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามอย่างต่อเนื่องในการสร้างหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนเกี่ยวกับการทำให้มาตรฐานส่งเสริมชีวิตคนเราให้ได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น ปลอดภัยขึ้น และดียิ่งขึ้น ทุนวิจัยไอเอสโอนี้มีการให้รางวัลเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2564 (ค.ศ.2021) ผ่านศูนย์ CeiC (Centre for eIntegrated Care) ที่มหาวิทยาลัยดับลินซิตี้
วารสารไอเอสโอโฟกัสได้ถามคำถาม 5 ข้อกับนักวิจัย คือ ดร. มัตเตโอ ซัลลิโอ และ ดร.ศุภศิษฏ์ ดาส เพื่อค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานด้านการวิจัยของพวกเขา และความหมายของผู้ที่ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานสำหรับคนทั่วโลก
สำหรับคำถามข้อแรก คือ พวกเขากำลังติดตามดูวิธีการที่มาตรฐานสากลสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (SDGs) โดยเน้นที่ SDG 3 คือ สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (Good Health and Wellbeing) ดังนั้น คำถามสำคัญคือ แล้วความท้าทายด้านการดูแลสุขภาพที่พวกเขากำลังให้ความสำคัญอยู่คือการดูแลสุขภาพแบบไหนที่จะช่วยส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีเพื่อให้โลกของเราสามารถบรรลุเป้าหมาย SDG 3 ได้
ดร. มัตเตโอ ซัลลิโอ ตอบว่า เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติเป็นแนวทางพื้นฐานในการก้าวไปสู่อนาคตที่ดีกว่าสำหรับทุกคนในโลกนี้ ซึ่งมีการตัดสินใจร่วมกับไอเอสโอ เพื่อมุ่งเน้นไปที่ความท้าทายด้านการดูแลสุขภาพ เนื่องจากสิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตของผู้คนหลายพันล้านคนทั่วโลก จากการศึกษาก่อนหน้านี้ เขาได้พิจารณาถึงการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่เท่าเทียมและความหลากหลาย การริเริ่มสร้างขีดความสามารถ แนวทางการดำเนินการและการจัดการ และการประสานงานของกิจกรรมเพื่อให้บริการด้านการดูแลสุขภาพและการใช้เทคโนโลยีด้านสุขภาพดิจิทัล รวมทั้งช่วยระบุรูปแบบที่จะช่วยส่งต่อข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบของมาตรฐานทางเทคนิคไอเอสโอสำหรับ SDG 3 ให้กับผู้ใช้งาน
คำถามข้อที่สอง คือ จะวัดผลกระทบของมาตรฐานได้อย่างไร เนื่องจากภายในกระบวนการทำงานจะต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายในการพิจารณาสิ่งต่างๆ ที่มีอิทธิพลหรือส่งผลต่อการทำงานและมักจะเป็นสิ่งที่ซ่อนเร้นอยู่เบื้องหลังด้วย ดร.ศุภศิษฏ์ ดาส ตอบว่าการวัดผลกระทบโดยปกติขึ้นอยู่กับบริบทและมีความท้าทายหลายประการ สำหรับวิธีการแบบผสมผสานของไอเอสโออยู่บนพื้นฐานของการสุ่มตัวอย่างข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพที่รวบรวมจากการค้นหาโดยใช้ข้อความและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งมีศักยภาพเพียงพอที่จะได้มาซึ่งชุดข้อมูลที่สมบูรณ์และเน้นผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง เพื่อแจ้งวิธีการกำหนดผลกระทบและกำหนดอิทธิพลของมาตรฐานทางเทคนิคบางอย่างภายใต้ขอบเขตของ SDG 3
ในระหว่างขั้นตอนสุดท้ายของโครงการ ผลกระทบเฉพาะของมาตรฐานสารสนเทศด้านสุขภาพจะได้รับการค้นหาในเชิงปริมาณโดยการเชื่อมโยงการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากผู้เชี่ยวชาญกับผลเชิงปฏิบัติของมาตรฐานในโครงการวิจัยของยุโรปและของโครงการระดับสากล
คำถามข้อ 3 คือ งานของไอเอสโอได้รับการแบ่งประเภทออกเป็น 2 ประเภท ซึ่งแตกต่างกัน และในขั้นแรก จะวิเคราะห์ข้อความในมาตรฐานสำหรับการอ้างอิงถึงเป้าหมาย SDG3 ได้อย่างไร
ดร. มัตเตโอ ซัลลิโอ ตอบว่า ประการแรก เราจำเป็นต้องเข้าใจบริบทที่ใช้มาตรฐานทางเทคนิคและเปิดเผยต่อสาธารณะเสียก่อน ดังนั้น งานส่วนแรกคือการวิเคราะห์ข้อความโดยใช้วิธีการต่างๆ เช่น เครือข่ายการเกิดขึ้นร่วมของคำหลัก เพื่อให้เข้าใจอย่างมีประสิทธิภาพและชัดเจนว่ามาตรฐานใดบ้างที่จะรวมไว้ในการค้นหาและระบุมาตรฐานที่สามารถให้ข้อมูลที่มีความหมายได้ เพื่อแจ้งขั้นตอนคุณภาพของโครงการ
จากนี้ไป ส่วนที่สองของงานของเขาจะเน้นที่มนุษย์โดยตรง กับชุมชนมาตรฐานไอเอสโอ คำถามข้อที่ 4 คือเขาคาดหวังว่าจะได้รับข้อมูลประเภทใดจากชุมชนมาตรฐานเหล่านั้น
ดร.ศุภศิษฏ์ ดาส ตอบว่า ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นแล้วว่าเขาเชื่อในแนวทางที่เน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตรวจสอบกับบุคลากรจริงและชุมชนไอเอสโอว่ามาตรฐานทางเทคนิคที่เลือกไว้มีผลกระทบโดยตรงต่อ UN SDG 3 อย่างไร ด้วยเหตุนี้ เขาจึงตั้งเป้าที่จะร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญไอเอสโอที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนามาตรฐานในด้านที่เกี่ยวข้องกับ SDG 3 และพัฒนาวิธีการรวบรวมข้อเสนอแนะตามการสำรวจโดยยึดตามข้อค้นพบของส่วนก่อนหน้าของการศึกษา
ส่วนดร. มัตเตโอ ซัลลิโอ ตอบว่า การศึกษานี้จะเปิดโอกาสให้ได้มีส่วนร่วมกับชุมชนโดยการตรวจสอบความเหมาะสมของการค้นพบครั้งก่อนกับผู้เชี่ยวชาญที่คุ้นเคยกับมาตรฐานทางเทคนิคเป็นอย่างมากและมักใช้มาตรฐานเหล่านี้ในกิจวัตรประจำวันของพวกเขา
คำถามข้อสุดท้าย คือ แนวทางดังกล่าวสามารถปรับให้เข้ากับส่วนอื่น ๆ ในอนาคตในแง่ของการพิจารณาผลกระทบของมาตรฐานสากลต่อ SDGs อื่น ๆ ได้หรือไม่ อย่างไร
ดร.ศุภศิษฏ์ ดาส ตอบว่าเขาตั้งใจที่จะรอผลพัฒนาการศึกษานี้และรวบรวมผลลัพธ์โดยมีเป้าหมายสุดท้ายคือการตรวจสอบวิธีการ กระบวนการ และผลลัพธ์ เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในอนาคตร่วมกับมาตรฐานอื่นๆ และกับ UN SDGs อื่นๆ ให้ได้ด้วย
ดร. มัตเตโอ ซัลลิโอ ตอบว่าเขายังเชื่ออย่างยิ่งว่าการศึกษานี้ นอกเหนือจากการสนับสนุนไอเอสโอและชุมชนผู้เชี่ยวชาญด้วยข้อมูลตามหลักฐานแล้ว ยังสามารถให้ความกระจ่างชัดเจนแก่ชุมชนทางวิทยาศาสตร์และวิชาชีพด้วยตัวชี้วัดที่จะช่วยวัดผลกระทบของมาตรฐานสากลที่มีต่อ SDGs อื่น ๆ ขององค์การสหประชาชาติ
เขากล่าวต่อไปว่าเขารู้สึกเป็นเกียรติที่ได้รับการคัดเลือกจากไอเอสโอจากชุมชนทั่วโลกให้พัฒนาโครงการที่ช่วยให้เกิดประโยชน์ต่อผู้คนดังกล่าว และช่วยชุมชนไอเอสโอในการระบุตัวชี้วัดซึ่งทำให้รู้ถึงผลกระทบของมาตรฐานสากลและเพื่อพัฒนาความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมาตรฐานและ SDGs ขององค์การสหประชาชาติ
สำหรับทุน ISO Research Grant มีการจัดทุนเพื่อมอบให้ผู้ขอรับทุนทุกปี โดยจะมีส่งข้อเสนอสำหรับรางวัล 2022 ภายในเดือนมกราคม 2565 ส่วนงานวิจัยที่ดำเนินการโดยดร. มัตเตโอ ซัลลิโอ และ ดร.ศุภศิษฏ์ ดาส คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนตุลาคม 2565 (ค.ศ.2022)
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2769.html
Related posts
Tags: Good Health and Well-being, health informatics, People-centered approach, SDG3, Standardization, Standards
ความเห็นล่าสุด