นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกทราบดีว่าผลกระทบของภาวะโลกร้อนส่งผลเสียต่อโลกมากมายหลายอย่างรวมทั้งระดับน้ำทะเลที่จะเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากธารน้ำแข็งที่กำลังละลาย และอุณหภูมิทั่วโลกที่กำลังสูงขึ้นจากการขยายตัวทางความร้อนของน้ำในมหาสมุทร ซึ่งประเทศในหมู่เกาะแคริบเบียนก็มีความตื่นตัวที่จะปกป้องดินแดนของตนให้พ้นจากภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ในภูมิภาค CARICOM (ประชาคมและตลาดร่วมแคริบเบียน หรือ Caribbean Community and Common Market) ซึ่งผู้คนและระบบนิเวศต่างต้องเผชิญกับภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นจากปัญหาดังกล่าวข้างต้น ทำให้ผู้ที่ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานจะต้องมารวมตัวกันเพื่อสนับสนุนปฏิญญาลอนดอนเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา
อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างต่อเนื่องไม่เพียงแต่จะส่งผลเสียต่อประเทศในหมู่เกาะต่างๆ เท่านั่น แต่ยังส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อพวกเราทุกคน และสำหรับบางหมู่เกาะ อาจกลายเป็นจุดจบได้ในที่สุด
ภัยคุกคามจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นเป็นปัญหาร้ายแรงสำหรับประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศที่อยู่ในพื้นที่ราบลุ่มและหมู่เกาะต่างๆ สถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดที่จะเกิดขึ้นคือ เกาะต่างๆ จมหายลงไปใต้น้ำ แต่วิธีมากมายหลายอย่างที่จะช่วยแก้ไขปัญหาได้ทันที เช่น การลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลและเปลี่ยนไปใช้พลังงานสะอาด เป็นต้น
รูปแบบของสภาพอากาศที่กระจัดกระจายมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อภูมิภาคต่างๆ ของโลก เช่น ในหมู่เกาะแคริบเบียน ซึ่งในช่วงเวลาหลายล้านปี เจริญเติบโตภายใต้ความสมดุลที่ละเอียดอ่อนระหว่างกระแสน้ำในมหาสมุทรและลมที่พัดไปในทิศทางเดียว และจากการคาดการณ์ของฤดูฝนและฤดูแล้งปกติ เมื่อรวมกับผลของหายนะจากภาวะโลกร้อนต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล และโดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวปะการัง ก็เป็นเรื่องที่ชัดเจนมากว่าจะต้องมีการเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้ได้
การทำมาหากินหลายอย่างขึ้นอยู่กับการท่องเที่ยวซึ่งได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงตั้งแต่เริ่มมีการระบาดของ COVID เช่นเดียวกับที่อื่นๆ มีแผนการฟื้นฟู แต่ในระยะยาว ทั้งรัฐบาลและชาวเกาะเองต่างก็ทราบดีว่าต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นลำดับแรก ซึ่งส่งผลให้สังคมมุ่งสู่การลดคาร์บอนเป็นศูนย์
ทั่วทั้งทะเลแคริบเบียน หน่วยงานมาตรฐานระดับชาติเป็นตัวแทนของหน่วยงานระดับภูมิภาค CROSQ (องค์กรระดับภูมิภาคของ CARICOM เพื่อมาตรฐานและคุณภาพ) ซีอีโอ เดอริค โอมาร์ เป็นผู้กำหนดมาตรฐานมาตลอดชีวิตและเป็นผู้ให้การสนับสนุนการดำเนินการด้านสภาพอากาศ ซึ่งเหมือนกับผู้เชี่ยวชาญระดับโลกหลายคนที่เชื่อว่าการรักษาคำมั่นสัญญาที่จะจำกัดการเพิ่มอุณหภูมิให้อยู่ที่ 1.5 °C สูงสุดเป็นสิ่งสำคัญ จากการจัดงานเสมือนจริงเมื่อต้นปีนี้ซึ่งสำรวจพลังงานที่ยั่งยืนแสดงให้เห็นว่า CROSQ ให้ความช่วยเหลือในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและในการใช้พลังงานที่ยั่งยืนได้อย่างไร ตอนนี้งานนี้กำลังพัฒนาขึ้นไปอีกขั้นหนึ่งแล้ว
สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาที่ซับซ้อนซึ่งต้องแก้ไขปัญหาร่วมกันและมีผลลัพธ์ที่วัดได้ สถานการณ์ต้องการการดำเนินการอย่างเร่งด่วนและจำเป็นต้องมีมาตรฐานสากลเพื่อทำให้สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่จริงแท้แน่นอน จึงทำให้สมาชิก CROSQ สนับสนุนปฏิญญาลอนดอนอย่างเต็มที่
สมาชิก CROSQ ได้ให้คำมั่นต่อปฏิญญาลอนดอน ซึ่งเป็นการประกาศครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์การประชุมสมัชชาไอเอสโอ ประจำปี 2564 ผู้สนับสนุนปฏิญญาได้เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันโดยตั้งใจที่จะใช้มาตรฐานสากลและระบบของไอเอสโอเพื่อแก้ปัญหาความท้าทายเร่งด่วนที่สุดของโลกเราซึ่งก็คือปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ผู้สนใจศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ใน London Declaration เกี่ยวกับการพัฒนามาตรฐานไอเอสโอเพื่อเป็นแนวหน้าในการต่อสู้เพื่อปกป้องโลกของเราให้พ้นจากภัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ที่มา: 1. https://www.greenpeace.org/thailand/explore/protect/climate/impacts/
2. https://www.iso.org/ref2770.html
Related posts
Tags: Caribbean, CARICOM, climate action, Climate Change, COVID-19, CROSQ, Innovation, ISO, Society, Standardization, Standards, Sustainability
Recent Comments