• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    15,990 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    15,135 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,512 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,358 view(s)
  • ISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืนISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืน
    10,208 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction IEC Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure UN water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | — January 24, 2022 8:00 am
วาระ 2030 เพื่ออนาคตที่ยั่งยืนของมนุษยชาติ ตอนที่ 2
Posted by Phunphen Waicharern with 1667 reads
0
  

ISO AND UN STRONGLY WORK FOR AGENDA  2030 2บทความ MASCIInnoversity เรื่อง วาระ 2030 เพื่ออนาคตที่ยั่งยืนของมนุษยชาติ ตอนที่ 1 ได้กล่าวถึงความสำคัญและความจำเป็นเร่งด่วนของวาระ 2030 หรือวาระเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนซึ่งทั่วโลกจำเป็นต้องเร่งดำเนินการเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายได้ทันเวลาท่ามกลางความท้าทายของการระบาดใหญ่ที่ยังคงส่งผลต่อสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคมอยู่เช่นทุกวันนี้

ไอเอสโอและองค์การสหประชาชาติได้มีความร่วมมือแก้ไขปัญหาของโลกก่อนที่จะเกิดวาระ 2030 มาอย่างยาวนานโดยผลักดันให้มีการนำมาตรฐานมาใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหา เกี่ยวกับเรื่องนี้  ทาเทียน่า วาโลวายา  อธิบดีประจำสำนักงานสหประชาชาติที่เจนีวา (United Nations Office at Geneva: UNOG) ได้ให้ความสำคัญกับความร่วมมือในการใช้มาตรฐานสากลมาเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน  และยังได้ระบุว่าการแก้ไขปัญหาภายใต้ข้อจำกัดทำให้เราต้องทำให้สิ่งที่มีอยู่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้มากขึ้น  ซึ่งไอเอสโอถือว่าเป็นหนึ่งในหลักปฏิบัติที่สำคัญ เช่นการเพิ่มประสิทธิภาพน้ำ อันเป็นมาตรฐานที่ไอเอสโอได้พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำและจะได้กล่าวในรายละเอียดดังต่อไปนี้

หัวข้อเรื่องน้ำและประสิทธิภาพการใช้น้ำเป็นหัวข้อสำคัญ ปัจจุบันประกอบด้วยมาตรฐานมากกว่า 1,000 รายการ  ยกตัวอย่างเช่น มาตรฐาน ISO 46001, Water efficiency management systems – Requirements with guidance for use ซึ่งเป็นระบบการจัดการประสิทธิภาพน้ำที่เป็นข้อกำหนดพร้อมคำแนะนำสำหรับการใช้งาน มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้องค์กรทุกขนาดและทุกสถานะมีประสิทธิภาพการใช้น้ำมากขึ้น มีวิธีการและเครื่องมือสำหรับการประเมินและบัญชีสำหรับการใช้น้ำ ตลอดจนวิธีการระบุ และดำเนินมาตรการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน มาตรฐานเหล่านี้มีส่วนสนับสนุนโดยตรงต่อ SDG 6 (การจัดการน้ำและสุขาภิบาล) ซึ่งสร้างความมั่นใจว่ามีความพร้อมและการจัดการน้ำและการสุขาภิบาลอย่างยั่งยืนสำหรับทุกคน

ทาเทียน่า วาโลวายา  อธิบายว่า โลกยุคโลกาภิวัตน์ที่เผชิญกับความท้าทายระดับโลก จริงๆ แล้ว จำเป็นต้องมีการดำเนินการร่วมกันทั่วโลก เธอกล่าวว่าปัญหาระดับโลกในปัจจุบันทำให้มีการตัดสินใจเร็วขึ้นและเกิดการสร้างฉันทามติในสังคมต่างๆ

สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ไอเอสโอทำคือการประสานแนวทางต่างๆ ให้เป็นแนวทางเดียวกันเพื่อจัดการกับความท้าทายระดับโลกในปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่น เรื่องของการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศสามารถต่อสู้ได้ด้วยมาตรฐานเท่านั้น เนื่องจากมีมาตรฐานจำนวนมากที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้อุตสาหกรรมเฉพาะด้านเป็นมิตรกับสภาพอากาศมากขึ้น

ไอเอสโอได้พัฒนามาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมมากกว่า 900 มาตรฐานซึ่งมีส่วนโดยตรงต่อ SDG 13 ในเรื่องการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  และองค์กรยังคงมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการประชุมสุดยอดกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของภาคี (COP) ซึ่งผู้เชี่ยวชาญได้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของมาตรฐานในการเปิดตลาดโลกสำหรับพลังงานสะอาดและเทคโนโลยีประหยัดพลังงานและสนับสนุนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และแนวปฏิบัติเพื่อบรรเทาปัญหาดังกล่าว

มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมยังช่วยให้รัฐบาลและองค์กรสามารถจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  ชุดมาตรฐานนี้ได้รับการยอมรับว่าจำเป็นสำหรับตลาดก๊าซเรือนกระจก (GHG) สำหรับความเป็นกลางทางคาร์บอน การลดคาร์บอนและขาย การแลกเปลี่ยน การชดเชยเครดิต และกลยุทธ์และนโยบายคาร์บอนต่ำ มาตรฐานทำให้ไอเอสโอมีเครื่องมือที่ดีมากในการใช้กลยุทธ์สำหรับการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ วาโลวายาเชื่อมั่นว่าแผนงานสำหรับปี 2573 (ค.ศ.2030) มาตรฐานไอเอสโอได้ให้ตัวบ่งชี้ที่เราต้องพิจารณาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น

ต้องไม่ทิ้งผู้หญิงไว้ข้างหลัง

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบมากขึ้นต่อประชากรในภาคส่วนที่ต้องพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติในการดำรงชีวิต และผู้ที่ต้องตอบสนองต่อภัยธรรมชาติโดยตรง เช่น พายุเฮอริเคน น้ำท่วม หรือภัยแล้ง  ผู้หญิงมักเผชิญกับความเสี่ยงที่มีเพิ่มขึ้นจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในสถานการณ์ที่ขาดแคลน  คนจนส่วนใหญ่ในโลกยังคงรวมถึงผู้หญิง นอกจากนี้ การเป็นตัวแทนที่ไม่เท่าเทียมกันของผู้หญิงในกระบวนการตัดสินใจและตลาดแรงงานทำให้ผู้หญิงไม่สามารถมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ

การส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียมกันทางเพศเป็นเป้าหมายหลักของ SDG 5  ซึ่งวาโลวายาในฐานะสตรีคนแรกของสำนักงานสหประชาชาติที่ดำรงตำแหน่งอธิบดีในกรุงเจนีวา เชื่อมั่นว่าการจัดการกับความรับผิดชอบทางเพศจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในโลกที่เท่าเทียมกัน เธอเน้นย้ำว่าในขณะที่มีความพยายามระดับโลกในการบรรลุ SDG 5 แต่อุปสรรคก็ยังคงมีอยู่  จึงจำเป็นต้องสร้างโอกาสที่เท่าเทียมกันให้เกิดขึ้นสำหรับทั้งผู้หญิงและผู้ชาย และโลกเราต้องการมาตรฐานที่คำนึงถึงเรื่องนี้

ไอเอสโอได้ร่วมกับหลายองค์กรเพื่อลงนามในประกาศ “2019 Declaration on Gender Responsive Standards and Standards Development” ของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจแห่งสหประชาชาติสำหรับยุโรปเมื่อปี 2562 (ค.ศ.2019) ดังนั้น ไอเอสโอจึงแสดงความมุ่งมั่นและให้ความสำคัญกับเรื่องความเท่าเทียมกันทางเพศในการพัฒนาและการนำมาตรฐานสากลไปปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายที่เน้นการรวมกลุ่มและความหลากหลาย วัตถุประสงค์ก็คือเพื่อสนับสนุนกระบวนการพัฒนามาตรฐานที่ให้ความสมดุลระหว่างเพศชายและเพศหญิง เปิดโอกาสให้ทั้งคนทั้งสองเพศสามารถทำงานด้านมาตรฐานได้อย่างเท่าเทียมกัน

ความรับผิดชอบและความร่วมมือที่โลกต้องมีร่วมกัน

สถานการณ์ที่เกิดขึ้นเช่นนี้ทำให้รู้ว่าเราควรร่วมมือกันอย่างไร เช่น การเป็นพหุภาคีร่วมกันซึ่งอยู่บนพื้นฐานของการมีปฏิสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งระหว่างรัฐสมาชิกและรัฐบาล ภาคประชาสังคม ธุรกิจ เจ้าหน้าที่ระดับท้องถิ่นและระดับภูมิภาค รวมทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ ทำให้ต้องมีโครงสร้างทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมทั้งหมด  การประสานงานระดับระหว่างประเทศในเรื่องดังกล่าวสามารถเป็นพลังสนับสนุนในการพัฒนามนุษย์และความเป็นอยู่ที่ดีต่อไป

ทุกวันนี้ เรากำลังเผชิญหน้าและแบ่งปันความท้าทายระดับโลกที่เชื่อมโยงถึงกัน  ทำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายฝ่ายให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่ยั่งยืน และทำให้เห็นว่ายังมีช่องว่างที่สามารถพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นได้อีก เช่น ภัยพิบัติจาก COVID-19 ได้ทำให้เกิดการผลิตเทคโนโลยีและอุปกรณ์ช่วยเหลือมนุษย์เป็นจำนวนมาก  รวมถึงช่องว่างที่สำคัญในการออกแบบการกำกับดูแลของโลก  ซึ่งโลกยุคโลกาภิวัตน์ที่กำลังเผชิญกับความท้าทายระดับโลกจำเป็นต้องมีความรับผิดชอบและความร่วมมือในการดำเนินการร่วมกันต่อไป

ที่มา:  1. https://bit.ly/3IcODOC

          2. https://www.iso.org/news/ref2777.html  



Related posts

  • Internet of Things จะขับเคลื่อนผู้คนและธุรกิจทั่วโลกInternet of Things จะขับเคลื่อนผู้คนและธุรกิจทั่วโลก
  • มือถือไฮเทคติดโฮโลแกรมมือถือไฮเทคติดโฮโลแกรม
  • วิจัยพบระดับน้ำทะเลสูงขึ้นเร็วสุดในรอบสองพันปีวิจัยพบระดับน้ำทะเลสูงขึ้นเร็วสุดในรอบสองพันปี
  • มาตรฐานของเด็กเล่นเพื่อความปลอดภัยมาตรฐานของเด็กเล่นเพื่อความปลอดภัย
  • วันสิ่งแวดล้อมโลก เราจะรักษ์โลกได้อย่างไรวันสิ่งแวดล้อมโลก เราจะรักษ์โลกได้อย่างไร

Tags: Agenda 2030, COVID-19, Economy, Gender Equality, Health, ISO, Multilateralism, SDGs 5, Society, Standardization, Standards, Sustainability, Technology, UN, UNOG

Click here to cancel reply.

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

Recent Comments

  • Phunphen Waicharern on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak on นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • (TH) landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑